posttoday

ไทยพาณิชย์คาดกนง.ลดดอกเบี้ยอีก1ครั้งในปีนี้

08 สิงหาคม 2562

กนง.ลดดอกเบี้ยนโยบายเหลือ 1.5% สะท้อน กนง. ใช้มาตรการ macro และ micro prudential เป็นหลักในการดูแลความเสี่ยงด้านเสถียรภาพระบบการเงิน

กนง.ลดดอกเบี้ยนโยบายเหลือ 1.5% สะท้อน กนง. ใช้มาตรการ macro และ micro prudential เป็นหลักในการดูแลความเสี่ยงด้านเสถียรภาพระบบการเงิน

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (อีไอซี) ธนาคารไทยพาณิชย์ มองว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) อาจลดดอกเบี้ยนโยบายได้อีก 1 ครั้ง (25 bps) หลังจาก กนง. มีมติให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ที่ 1.5% จากการส่งออกที่หดตัว อุปสงค์ในประเทศที่มีแนวโน้มชะลอลงทุกภาคส่วน และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปีมีแนวโน้มต่ำกว่ากรอบเป้าหมาย ศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้ ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาก

การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายและการสื่อสารในครั้งนี้สะท้อนได้ว่า กนง. น่าจะใช้มาตรการ macro และ micro prudential เป็นหลักในการดูแลความเสี่ยงด้านเสถียรภาพระบบการเงิน โดย กนง. มองว่ามาตรการดูแลเสถียรภาพระบบการเงินที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ช่วยดูแลการสะสมความเปราะบางในระบบการเงินได้ในระดับหนึ่ง แต่ยังต้องติดตามการก่อหนี้ของภาคครัวเรือน โดยในระยะถัดไป มาตรการกำกับดูแลสถาบันการเงิน และ ดูแลเสถียรภาพระบบการเงิน จะมีบทบาทมากขึ้น โดยอีไอซีมองว่า ในระยะต่อไปภาระของอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อการรักษาเสถียรภาพระบบการเงินจะลดน้อยลง และ กนง. น่าจะหันมาให้ความสำคัญต่อการใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อลดความเสี่ยงของการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทยมากขึ้น

ล่าสุด ธปท. เตรียมออกมาตรการดูแลภาวะหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ผ่านแนวนโยบายการให้สินเชื่อรายย่อยอย่างเหมาะสม เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2019 ธปท. ได้เผยแพร่เอกสารเพื่อขอความคิดเห็นต่อเรื่อง “แนวนโยบายการให้สินเชื่อรายย่อยอย่างเหมาะสม เพื่อดูแลปัญหาหนี้เกินตัวของภาคครัวเรือน” โดยมีเนื้อหาสรุปได้ คือ

1. สถาบันการเงิน ควรปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กรให้ตระหนักถึงหลักการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ โดยกาหนดนโยบายและความคาดหวังที่ชัดเจน

2. สถาบันการเงินควรออกแบบผลิตภัณฑ์ทางการเงินให้เหมาะสมกับความต้องการ ความจำเป็น และความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้า

3. สถาบันการเงินควรให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ทางการเงินแก่ลูกค้าอย่างครบถ้วนและชัดเจน รวมถึงไม่เสนอขายผลิตภัณฑ์พ่วงที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการ
4 ในการอนุมัติสินเชื่อสถาบันการเงินต้องพิจารณาให้ครอบคลุมภาระหนี้ทั้งหมดเทียบกับรายได้ที่มีความสม่ำเสมอ (DSR) โดยลูกค้าต้องมีเงินเหลือสุทธิหลังหักภาระผ่อนชำระหนี้ทั้งหมดเพียงพอต่อการดำรงชีพ

และ 5. สถาบันการเงินไม่ควรกาหนดเงื่อนไขในสัญญาที่ไม่เป็นธรรมต่อลูกค้า อันจะทาให้ลูกค้าเสียประโยชน์และเป็นหนี้มากขึ้น ทั้งนี้ ธปท. วางแผนที่จะนำแนวนโยบายนี้มาใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2020 เป็นต้นไป