posttoday

ธปท.คลอดเกณฑ์คุมสินเชื่อบ้านหลังที่2 ลดความเสี่ยงเก็งกำไร

04 ตุลาคม 2561

ธปท.ออกเกณฑ์คุมปล่อยกู้บ้านหลังที่ 2 และบ้านราคา 10 ล้านบาทขึ้นไป ลดความเสี่ยงเก็งกำไร พร้อมปรับเกณฑ์ LTV ใหม่ ให้รวมสินเชื่อทุกประเภท

ธปท.ออกเกณฑ์คุมปล่อยกู้บ้านหลังที่ 2 และบ้านราคา 10 ล้านบาทขึ้นไป ลดความเสี่ยงเก็งกำไร พร้อมปรับเกณฑ์ LTV ใหม่ ให้รวมสินเชื่อทุกประเภท

นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล ผู้อำนวยการ กลุ่มงานด้านเสถียรภาพระบบการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ได้ปรับปรุงเกณฑกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มเติม โดยการกู้หลังที่ 2 ขึ้นไป และที่อยู่อาศัยที่มีมูลค่า 10 ล้านบาทขึ้นไป กำหนดวงเงินสินเชื่อต่อหลักประกัน (LTV) ห้ามเกิน 80% หากเกินถือว่าผิดหลักเกณฑ์มีโทษตามระบุ

นอกจากนี้ ธปท. ปรับปรุงเงื่อนไขการคำนวณ LTV ของสินเชื่อบ้าน เป็นให้รวมเงินกู้ทุกประเภทที่ใช้หลักประกันเดียวกัน เช่น สินเชื่อบุคคล สินเชื่อจ่ายเบี้ยประกันชีวิต อยู่ภายใต้เกณฑ์ LTV จากเดิมสถาบันการเงินคิด LTV เฉพาะสินเชื่อบ้านและให้สินเชื่อเพิ่มเติม (top-up) จนทำให้บางรายได้วงเงินกู้จริงเกิน 100% ของหลักประกัน

ทั้งนี้ เกณฑ์ดังกล่าวไม่กระทบกับผู้ที่กูู้บ้านหลังแรก และบ้านราคาไม่เกิน 10 ล้านบาท ซึ่งยังใช้เกณฑ์เดิมในการกำหนด LTV สำหรับคอนโด 90% และบ้านแนวราบ 95% หากปล่อยกู้เกินเกณฑ์จะต้องเพิ่มค่าความเสี่ยง (Risk Weight) ต่อเงินกองทุน จาก 35% เป็น 75%

เบื้องต้น ธปท. ได้เผยแพร่รายละเอียดแนวนโยบายและเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะผ่านเว็บไซต์จนถึงวันที่ 22 ต.ค. นี้ ขณะเดียวกัน จะมีการประชุมชี้แจงและรับฟังความเห็นจากสถาบันการเงิน ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค ในวันที่ 11 ต.ค. โดยคาดว่า จะสามารถออกประกาศอย่างเป็นทางการในเดือน พ.ย. และเกณฑ์เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2562 เป็นต้นไป

นายสักกะภพ กล่าวว่า สาเหตุที่ออกมาตรการกำกับดูแล เนื่องจากการปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยในช่วงที่ผ่านมามีการแข่งขันรุนแรงขึ้น ขณะที่มาตรฐานการให้สินเชื่อหย่อนลง อาทิ ไม่จาเป็นต้องมีเงินดาวน์หรือออมก่อนกู้ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เห็นคุณภาพสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยมีทิศทางที่ด้อยลงสวนทางกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

นอกจากนี้ ยังพบสัญญาณการกู้ซื้อเพื่อลงทุนไม่ใช่กู้ซื้อเพื่ออยู่จริงที่สูงขึ้น โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยที่มีมูลค่า 10 ล้านบาทขึ้นไป และมีการกู้ซื้อมากกว่า 1 หลัง (ผ่อนหลายสัญญากู้พร้อมกัน) โดยหวังผลตอบแทนที่สูง (search for yield) ขณะที่ ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ยังคงระดมทุนขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

"พฤติกรรมเหล่านี้ ถ้าไม่มีการกำกับดูแลอย่างเหมาะสมอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงและความเปราะบางในระบบเศรษฐกิจการเงิน และบทเรียนที่ผ่านมาของประเทศทั่วโลกชี้ว่าปัญหาใน ภาคอสังหาริมทรัพย์ มักเป็นหนึ่งในต้นตอสาคัญที่ทาให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลก" นายสักกะภพ กล่าว

ธปท.คลอดเกณฑ์คุมสินเชื่อบ้านหลังที่2 ลดความเสี่ยงเก็งกำไร

ธปท.คลอดเกณฑ์คุมสินเชื่อบ้านหลังที่2 ลดความเสี่ยงเก็งกำไร