posttoday

เกษียณเร็วฉุดเศรษฐกิจ ผลศึกษาแบงก์ชาติชี้คนไทยแก่ก่อนรวย การศึกษาน้อยรายได้ต่ำ

16 สิงหาคม 2561

ธปท.เผยผลศึกษาไทยเป็นประเทศที่แก่เร็ว แก่ก่อนรวย เกษียณอายุเร็วตั้งแต่อายุ 45 ปี ห่วงแรงงานหายจากระบบกระทบการเติบโตทางเศรษฐกิจ

ธปท.เผยผลศึกษาไทยเป็นประเทศที่แก่เร็ว แก่ก่อนรวย เกษียณอายุเร็วตั้งแต่อายุ 45 ปี ห่วงแรงงานหายจากระบบกระทบการเติบโตทางเศรษฐกิจ

น.ส.ณัคนางค์ กุลนาถศิริ เศรษฐกรสายนโยบายการเงิน ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผย ว่า ผลการศึกษาสังคมสูงวัยกับความท้าทายของตลาดแรงงานไทยพบว่า ไทยเข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี 2543 โดยมี ประชากรที่มีอายุมากกว่า 65 ปีประมาณ 7% ของประชากรทั้งหมด และจะเพิ่มเป็น 14% ในปี 2565 และเป็น 20% ในปี 2578 ซึ่งเป็นสังคมผู้สูงอายุรุนแรงเหมือนประเทศญี่ปุ่น

นอกจากนี้ จากการศึกษาไทยเป็นประเทศที่แก่เร็ว โดยสัดส่วนคนไทยสูงอายุเพิ่มเป็น 2 เท่า โดยใช้เวลาเพียง 20 ปีเท่านั้น ขณะที่ประเทศพัฒนา แล้วใช้เวลาร่วม 100 ปี ทั้งนี้ผู้สูงอายุ ไทยมีรายได้และการศึกษาน้อยกว่า ประเทศอื่น โดยมีแนวโน้มคนไทยแก่ก่อนรวยสูง

ขณะที่การเตรียมความพร้อมรับมือสังคมผู้สูงอายุยังไม่มีมาตรการที่เป็น รูปธรรมมากพอหากเทียบกับประเทศสิงคโปร์ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้

ด้าน น.ส.ปภัสสร แสวงสุขสันต์ เศรษฐกรอาวุโส ส่วนเศรษฐกิจมหภาคและพยากรณ์ ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธปท. กล่าวว่า จากผลการศึกษาพบ อีกว่าคนไทยเริ่มออกจากตลาดแรงงาน ค่อนข้างเร็ว โดยคนไทยเกษียณอายุตั้งแต่อายุ 45 ปี โดยเฉพาะผู้หญิง เนื่องจากออกมาดูแลทำงานบ้าน เลี้ยงลูก ซึ่งมีอยู่ประมาณ 5.8 ล้านคน

ขณะเดียวกัน ยังพบว่าคนไทยที่ มีอายุช่วง 45-60 ปี ที่กำลังเข้าสู่วัยสูงอายุ 20 ล้านคนจะทำงานอยู่นอกระบบ โดยเฉพาะภาคเกษตร ค้าขาย อาชีพอิสระ ซึ่งมีความเสี่ยงด้านรายได้ ที่ไม่มีความมั่นคงและโอกาสเข้าถึง สิทธิการรักษาบริการทางการแพทย์น้อย ลง หากคนไทยออกจากตลาดแรงงานเร็วอาจจะมีผลกระทบทำให้เกิดภาวะขาดแคลนแรงงานได้ ซึ่งเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่ทั่วโลกกำลังเผชิญ

เศรษฐกรอาวุโส ธปท. กล่าวอีกว่า จากการศึกษาของสหประชาชาติพบว่า ในอีก 10 ปีข้างหน้า หรือปี 2571 หากแรงงานหายไปจากระบบ 1.5% จะส่งผลให้เศรษฐกิจเติบโตลดลง 1.5% เพราะแรงงานถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยใน การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

อย่างไรก็ตาม ได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ 2 ด้าน เพื่อรักษาจำนวนแรงงานที่ทำงานอยู่ ในระบบเศรษฐกิจ คือ 1.การเพิ่มและ เสริมทักษะของแรงงานไทย เพื่อให้ มีทางเลือกที่จะทำงานต่อในระบบมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานที่มีอายุ 45-60 ปี ที่อยู่ในภาคเกษตรกรรมและบริการ เช่น การตั้งศูนย์พัฒนาทักษะและ ช่วยเหลือแรงงานเหมือนต่างประเทศ และ 2.เพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงาน โดยเฉพาะแรงงานหญิง เช่น การจัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กในสถานประกอบกิจการ เป็นต้น