posttoday

ซีไอเอ็มบีปรับเป้าบาทสิ้นปีอ่อนลง

27 มิถุนายน 2561

นักเศรษฐศาสตร์เชื่อบาทอ่อนระยะสั้น แต่ผลสงครามการค้าทำให้ปรับเป้าหมายสิ้นปีอ่อนลงเป็น 32.50

นักเศรษฐศาสตร์เชื่อบาทอ่อนระยะสั้น แต่ผลสงครามการค้าทำให้ปรับเป้าหมายสิ้นปีอ่อนลงเป็น 32.50

นายอมรเทพ จาวะลา ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่า ค่าเงินบาทยืนเหนือระดับ 33 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ เป็นการอ่อนค่าต่อเนื่องในช่วงหลายสัปดาห์ นับจากนัก ลงทุนเทขายสินทรัพย์เสี่ยงในตลาดเกิดใหม่จากความกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)จะขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาด ซึ่งในช่วงกลางเดือนที่ผ่านมา เฟด นอกจากจะขึ้นดอกเบี้ยตามคาดแล้ว ยังส่งสัญญาณจะขึ้นดอกเบี้ยอีก 2 ครั้ง ในปีนี้ แต่ไม่ใช่แค่เฟดที่ทำให้เงินไหลออกจากตลาดเกิดใหม่ นักลงทุนเริ่มกลับมากังวลต่อเสถียรภาพค่าเงินในภูมิภาค จนเกิดภาวะตกใจเทขายหุ้นและพันธบัตรรัฐบาลต่อเนื่องทั้งตลาด แม้มีธนาคารกลางหลายแห่งปรับขึ้นดอกเบี้ยสกัดเงินไหลออกแต่ก็ยังไม่เป็นผล โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่มีความเสี่ยงด้านเสถียรภาพจากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูง เงินสํารองระหว่างประเทศน้อย หรือหนี้ระยะสั้นต่างประเทศมาก

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยไม่ได้อยู่ใน กลุ่มนี้ แต่ไทยก็ได้รับผลกระทบจากการอยู่ในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ จึงทำให้มีแรงเทขายในช่วงนี้ แต่ที่น่ากังวลสำหรับประเทศไทยไม่ใช่ความเสี่ยงด้านวิกฤตในตลาดเกิดใหม่ แต่คือผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐ และจีน ซึ่งหากมีความเป็นไปได้จะเกิดขึ้นแล้ว ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยรวมทั้งเสถียรภาพในตลาดทุนน่าจะมีมาก ดังนั้นปัจจัยที่ตะกำหนดว่าเงินบาทจะอ่อนค่าต่อไปหรือจะพลิกกลับมามีเสถยรภาพได้นั้นก็ขึ้นอยู่กับความเป็นไปได้ของสงครามการค้า

นายอมรเทพ ได้ประเมินแนวโน้มค่าเงินบาทออกเป็น 2 กรณี โดยกรณีแรก เงินบาทอ่อนค่ายาว เหมือนกับช่วงปี 2556 ที่ ประธานเฟด ประกาศว่าจะยุติการอัดฉีดคิวอี หลังจากที่เฟดอัดฉีดคิวอีถึง 3 ครั้ง หลังเกิดวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์จนเงินไหบเข้าไทยทั้งตลาดหุ้นและพันธบัตรต่อเนื่องจนค่าเงินบาทแข็งค่าเฉียด 28.50 บาท/ดอลลาร์ แต่กลางกลางเดือนพ.ค.ปี 2556 ที่เฟดปรักาศทยอยลดคิวอี ทําให้นักลงทุนตกใจ เทขายสินทรัพย์จากตลาดเกิดใหม่ เงินไหลกลับไปสหรัฐ นักลงทุนมองไปไกลไม่ใช่แค่ลดวงเงิน แต่กังวลการปรับขึ้นดอกเบี้ย ช่วงนั้นค่าเงินในตบาดเกิดใหม่ผันผวนมาก โดยเฉพาะประเทศที่มีความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจมหภาค หรือขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูง หนี้ต่างประเทศมาก ขาดวินัยการคลัง เงินเฟ้อสูง เศรษฐกิจชะลอ และมีความเสี่ยงจากเศรษฐกิจจีน เงินทุนต่างชาติ เหมาเข่งเทขายทั้งตบาดเกิดใหม่รวมทั้งไทย ตบาดหุ้นร่วง เงินบาทอ่อนแรง กว่าจะสงบได้ก็ช่วงปล่ยปีหลังเฟดหยุดคิวอีแล้วนักลงทุนเห็นว่าสภาพคล่องไม่ได้ถูกดูดไปไหน เงินยังท่วมโลก เงินจึงไหลมาหาแหล่งที่ผลตอบแทนสูงในตลาดเกิดใหม่ดังเดิม หากเป็นแบบนี้ โอกาสค่าเงินบาทอ่อนยาว จากกรณีสงครามการค้าและความกังวลในตลาดการเงินโลกมีสูง โอกาสบาทแตะระดับ 34 บาท/ดอลลาร์ก็เป็นไปได้

ส่วนกรณีที่ 2 เงินบาทอ่อนค่าสั้นๆ และพลิกกลับมาแข็งค่า คล้ายกับช่วงที่จีนมีปัญหาชั่วคราว และกระทบค่าเงินบาทที่มีความผันผวนไปตามนโยบายกำกับดูแลเงินหยวน ซึ่งล่าสุดก่อนเกิดสงครามการค้ารอบนี้ สหรัฐเตรียมขึ้นภาษีเหล็กจากจีนช่วงปลาย ม.ค. - ต้น ก.พ. ธนาคารกลางจีนได้ระงับการดําเนินงานทางการเงิน (Open Market Operations: OMO) เพื่อรักษาสภาพคล่องในระบบธนาคารให้มีเสถียรภาพ นักลงทุนเกิดความกังวลนำเงินออกจากตลาดเกิดใหม่ ผนวกกับความกังวลเฟดขึ้นดอกเบี้ย เงินบาทอ่อนค่าไป 31.90 บาท/ดอลลาร์ ตลาดหุ้นร่วง แต่สุดท้าย เป็นความผันผวนระยะสั้น เพียงสัปดาห์เดียว เงินบาทพลิกกลับมาแข็งค่า 31.30 บาท/ดอลลาร์

หากเชื่อว่าการอ่อนค่าเงินบาทรอบนี้เป็นเพียงการตกใจชั่วคราวจากสงครามการค้าที่น่าจะเป็นแค่การขู่กันไปมา โอกาสที่สถานการณ์จะคลี่คลายก็มีสูง เงินทุนต่างชาติน่าจะไหลเข้าทาในตลาดเกิดใหม่ที่ให้ผลตอบแทนดีพร้อมกับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงกว่าสหรัฐ โอกาสที่บาทจะพลิกกลับมาแข็งค่าก็เป็นได้ โดยอาจเห็นเงินบาทอยู่ที่ 32.50 บาท/ดอลลาร์ หรือต่ำกว่านั้นในช่วงปลายปีนี้

นายอมรเทพกล่าวว่า มีมุมมองว่าเงินบาทจะอ่อนค่าระยะสั้น มีบุ้นเงินทุนไหลกลับเข้ามาทำให่เงินบาทพลิกกลับแข็งค่า แต่ปัจจัยที่จับตามองคงไม่ใช่เฟด เพราะตลาดรับรู้ไปมากแล้ว แต่ที่ยังกังวลอยู่คือเรื่องสงครามการค้า เพราะหากจีนมีปัญหา เศรษฐกิจในภูมิภาคก็สั่นคลอน แต่เชื่อว่าจีนกับสหรัฐ จะสามารถเจรจาได้แบบวิน-วิน คือไม่มีใครแพ้ เพียงแต่สหรัฐวินมากหน่อยเพราะทรัมป์ต้องการลดการขาดดุลการค้า ส่วนจีนแม้วินไม่มาก แต่ก็ยังค้าขายและลงทุนได้ สุดท้ายดุลยภาพทางเศรษฐกิยยะเกิดใหม่ ตลาดปรับตัวได้เร็ว ขณะที่ โอกาสในการลงทุนในภูมิภาคเอเชียรวมไทยยังมีอยู่ จึงมองค่าเงินบาทปลายปีนี้ที่ระดับ 32.50 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่ากว่าประมาณการครั้งก่อน 32 บาท/ดอลลาร์ แต่ปัจจัยเสริมให้เงินบาทแข็งค่า คือ การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดสูง เศรษฐกิจมหภาคแข็งแกร่งรับมือความผันผวนตลาดทุนโลกได้