posttoday

ไทยมีบทบาทในCLMVที่2รองจากจีน

10 ตุลาคม 2556

ศูนย์วิจัยชี้ ไทยยังมีบทบาททางเศรษฐกิจในกลุ่ม CLMV เป็นอันดับ 2 รองจากจีน ขณะที่สิงคโปร์มีบทบาทลงทุนและการค้าเพิ่มขึ้น

ศูนย์วิจัยชี้ ไทยยังมีบทบาททางเศรษฐกิจในกลุ่ม CLMV เป็นอันดับ 2 รองจากจีน ขณะที่สิงคโปร์มีบทบาทลงทุนและการค้าเพิ่มขึ้น

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานว่า จากดัชนีบทบาททางเศรษฐกิจใน CLMV หรือ CLMV-EPI (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม) ที่จัดทำโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย ชี้ว่า นับตั้งแต่ต้นปี 2556 ไทยยังคงมีบทบาทสูงเป็นอันดับ 2 รองจากจีน ส่วนญี่ปุ่นยังคงครองอันดับ 3 ขณะที่สิงคโปร์มีบทบาทด้านการลงทุนและการค้าในอนุภูมิภาค CLMV เพิ่มขึ้นอย่างน่าจับตา จากบทบาทของสิงคโปร์ ในการเป็นแหล่งจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจของเงินทุนจากทั่วโลก ซึ่งสอดรับเป็นอย่างดีต่อแรงดึงดูดของอนุภูมิภาค CLMV ในการเป็นทั้งแหล่งลงทุนและตลาดใหม่ เพื่อต้อนรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 กระนั้นก็ดี แม้บทบาทของสิงคโปร์ที่เพิ่มขึ้น อาจไม่สะท้อนศักยภาพการค้าและการลงทุนของธุรกิจจากภายในอาเซียนทั้งหมด แต่อย่างไรก็ดี ก็นับว่าเป็นสัญญาณบ่งชี้การแข่งขันในพื้นที่ CLMV ที่กำลังถูกยกระดับให้สูงขึ้นสู่ระดับนานาชาติ อันหมายถึงคู่แข่งที่มีศักยภาพสูงยิ่งขึ้นสำหรับธุรกิจไทย ซึ่งเป็นสัญญาณให้ไทยต้องเร่งพัฒนาศักยภาพทั้งด้านการค้าและการลงทุน เพื่อรักษาบทบาทด้านเศรษฐกิจในอนุภูมิภาค CLMV ไว้

นับตั้งแต่ต้นปี 2556 ไทยยังคงครองอันดับ 2 รองจากจีน แต่บทบาทด้านการลงทุนและการค้าของสิงคโปร์กำลังเร่งขึ้น

อันดับบทบาททางเศรษฐกิจในพื้นที่ CLMV โดยดัชนี CLMV-EPI บ่งชี้ว่า ตั้งแต่ต้นปี 2556 โดยรวมไทยยังคงสามารถครองตำแหน่งบทบาททางเศรษฐกิจอันดับ 2 ในภูมิภาค CLMV ไว้ได้ โดยตามหลังจีน มหาอำนาจทางเศรษฐกิจเอเชียที่ยังคงครองอันดับ 1 อย่างเหนียวแน่น ขณะที่ญี่ปุ่นยังคงครองอันดับ 3 เช่นเดิม อย่างไรก็ดี ความเคลื่อนไหวสำคัญ ได้แก่การที่สิงคโปร์มีบทบาทเพิ่มขึ้น แซงมาเลเซียขึ้นมาเป็นอันดับ 4  โดยเป็นผลจากบทบาทด้านการลงทุนและการค้าที่เพิ่มขึ้นอย่างน่าสนใจ

ไทยมีบทบาทในCLMVที่2รองจากจีน

--> ด้านการลงทุน ... ยอดการลงทุนของนิติบุคคลสิงคโปร์เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับ AEC

- สิงคโปร์ เป็นหนึ่งในประเทศแถบเอเชียแปซิฟิกที่มีจุดเด่นด้านการเป็นแหล่งจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจของเงินทุนจากทั่วโลก ด้วยข้อได้เปรียบหลายด้าน อาทิ ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่อยู่ในระดับต่ำสุดในอาเซียน (ร้อยละ 17) กฎระเบียบการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่ผ่อนคลายค่อนข้างมาก และอนุสัญญาภาษีซ้อนที่มีการบรรลุข้อตกลงไปแล้วกับ 71 ประเทศทั่วโลก  ส่งผลให้ธุรกิจทั่วโลกได้มีการเข้ามาจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลสัญชาติสิงคโปร์เพื่อขยายเครือข่ายการทำธุรกิจไปในประเทศละแวกใกล้เคียง เช่น ภูมิภาคอาเซียน เป็นจำนวนมาก นอกจากนั้น สิงคโปร์ยังมีข้อได้เปรียบในการเป็นเมืองท่าการค้า และมีเครือข่าย FTA กับประเทศต่างๆ อย่างกว้างขวาง  ซึ่งเอื้อต่อการ Re-export สินค้าไปยังประเทศที่สามอีกด้วย  

ด้วยบทบาทของสิงคโปร์ดังกล่าวข้างต้น บวกกับภายใต้เงื่อนเวลาที่ภูมิภาคอาเซียนกำลังนับถอยหลังสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community หรือ AEC) ในปี 2558 ในโอกาสนี้ กลุ่มประเทศ CLMV นับเป็นเป้าหมายที่สำคัญ ด้วยปัจจัยดึงดูดการลงทุนที่หลากหลายของกลุ่ม CLMV ทั้งโอกาสการขยายตัวของตลาดภายหลังการเข้าสู่ AEC ที่ยังมีอยู่อีกมาก ทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ ตลอดจนค่าจ้างแรงงานที่ยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอาเซียนอื่นๆ ส่งผลให้ในช่วงเวลาตั้งแต่ต้นปี 2556 ถึงปัจจุบัน มูลค่าการลงทุนในนามนิติบุคคลสิงคโปร์ ได้มีบทบาทมากขึ้นใน CLMV กระทั่งแซงหน้าคู่แข่งขึ้นมารั้งอันดับ 2 รองจากจีนได้ โดยยังเกาะกลุ่มกับญี่ปุ่น ไทย และมาเลเซีย ซึ่งต่างก็ยังมีมูลค่าการลงทุนที่คู่คี่สูสีกัน

- เวียดนาม ... ปลายทางลงทุนอันดับ 1 ใน CLMV ของนิติบุคคลสิงคโปร์

เวียดนาม นับเป็นเป้าหมายการลงทุนอันดับ 1 ของนิติบุคคลสิงคโปร์ ด้วยมูลค่าลงทุนสะสมร้อยละ 94 ของการลงทุนของนิติบุคคลสิงคโปร์ใน CLMV ซึ่งเงินทุนมาจากทั้งทางสิงคโปร์เองและจากบริษัทต่างชาติที่เข้ามาจัดตั้งธุรกิจ หรือสำนักงานภูมิภาคในสิงคโปร์ แล้วใช้บริษัทลูกในสิงคโปร์เป็นฐานออกไปลงทุนในประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคด้วย ทั้งนี้ สาขาการลงทุนหลักที่ทยอยเข้าไปลงทุนในปัจจุบัน อาทิ

- ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ อาทิ โรงแรม (เครือโรงแรมจากหลายประเทศ อาทิ อังกฤษ และสหรัฐฯ)
- ธุรกิจการค้าปลีก
- ภาคการผลิต ในอุตสาหกรรมเบา อาทิ โรงงานผลิตหีบห่อบรรจุภัณฑ์
- โครงสร้างพื้นฐาน อาทิ โรงงานผลิตไฟฟ้า

โดยอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการผลักดันการลงทุนของสิงคโปร์ในเวียดนาม ได้แก่ ภาครัฐบาลของสิงคโปร์ ซึ่งได้มีบทบาทสำหรับในการลงทุนผลักดันผ่านการจัดตั้งศูนย์อุตสาหกรรมเวียดนาม-สิงคโปร์ (Vietnam-Singapore Industrial Park) ในเวียดนาม 5 แห่ง ได้แก่ ที่ Binh Duong (2 แห่ง), Bac Ninh, Hai Phong, Quang Ngai, และ Quang Ngai ซึ่งแสดงถึงความตั้งใจของรัฐบาลสิงคโปร์ในการวางรากฐานการลงทุนของสิงคโปร์ในประเทศเวียดนาม ทั้งนี้ในระยะข้างหน้า การลงทุนของสิงคโปร์ในเวียดนาม ยังมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากความร่วมมือของภาครัฐทั้งสองประเทศ (โดยเมื่อ 1 มิ.ย.2556 นาย Nguyen Tan Dung นายกรัฐมนตรีเวียดนาม ได้ประกาศแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะแผนการพัฒนาสาธารณูปโภค และทักษะฝีมือแรงงาน เพื่อดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง) ประกอบกับนักลงทุนในนามของบริษัทสิงคโปร์ ที่ประกาศแผนการเข้าไปลงทุนในเวียดนามในระยะข้างหน้า อาทิ ธุรกิจด้านการสื่อสารโทรคมนาคม และเครือโรงแรมที่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติอีกหลายเครือ เป็นต้น

- เมียนมาร์ ... เป้าหมายการลงทุนอันดับ 2 ใน CLMV

ขณะเดียวกัน ในระยะที่ผ่านมา การลงทุนของนิติบุคคลของสิงคโปร์ในเมียนมาร์ ซึ่งนับเป็นเป้าหมายการลงทุนอันดับ 2 ใน CLMV มีสัดส่วนการลงทุนสะสมประมาณร้อยละ 2 ของการลงทุนใน CLMV มีการกระจายในหลายอุตสาหกรรม อาทิ อสังหาริมทรัพย์ พลังงาน และการค้าปลีก ขณะที่ในระยะข้างหน้า สิงคโปร์มีแผนจะเข้าไปลงทุนอย่างเข้มข้นในหลายอุตสาหกรรมภาคบริการ อาทิ ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และโรงแรมในรูปของเครือโรงแรมที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติเช่นเดียวกับในเวียดนาม ซึ่งทำให้การลงทุนของสิงคโปร์ใน CLMV มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง

ไทยมีบทบาทในCLMVที่2รองจากจีน

กระนั้นก็ดี มีข้อสังเกตว่า การเข้ามาช่วงชิงบทบาทด้านการลงทุนของประเทศต่างๆ ใน CLMV  ในระยะข้างหน้านั้น  สิงคโปร์มีแต้มต่อจากการเป็นศูนย์กลางการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจของภูมิภาค ซึ่งทำให้สิงคโปร์เปรียบเสมือนศูนย์รวมเงินทุนจากนานาชาติก่อนที่จะออกไปลงทุนต่อในอาเซียน ทำให้มูลค่าการลงทุนจากสิงคโปร์ อาจไม่สะท้อนการลงทุนของธุรกิจที่เป็นของสิงคโปร์โดยแท้จริงนัก ซึ่งในมุมหนึ่ง อาจตีความได้ว่า โครงสร้างผู้เล่นหลักจากอาเซียนและเอเชียตะวันออกยังคงไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งหมายความว่าไทยยังคงทำได้คู่คี่สูสีอยู่กับญี่ปุ่น และมาเลเซีย แต่อย่างไรก็ดี หากมองในอีกแง่หนึ่ง แม้ว่าเงินลงทุนในนามของสิงคโปร์นั้นจะเป็นเงินทุนของนานาชาตินอกอาเซียน แต่ก็นับเป็นคู่แข่งโดยตรงของไทยเช่นกันสำหรับการลงทุนแต่ละอุตสาหกรรมในพื้นที่ CLMV ซึ่งสะท้อนถึงการแข่งขันที่กำลังถูกยกระดับให้ขึ้นสู่ระดับนานาชาติ อันหมายถึงคู่แข่งที่มีศักยภาพสูงยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นสัญญาณให้ไทยต้องเร่งพัฒนาศักยภาพในการลงทุน เพื่อรักษาบทบาทการลงทุนในเวที CLMV ไว้

--> ด้านการค้า ... ยอดส่งออกสินค้าที่ผลิตภายในสิงคโปร์เอง (Domestic Export) มีบทบาทเพิ่มขึ้น แต่ยังเป็นรองจีน ไทย และญี่ปุ่น

ไทยมีบทบาทในCLMVที่2รองจากจีน

 

ไทยมีบทบาทในCLMVที่2รองจากจีน

ใน 2 ไตรมาสแรกของปี 2556 การส่งออกรวม (Domestic Export และ Re-export) จากสิงคโปร์ไปยัง CLMV มีบทบาทเพิ่มขึ้น โดยขยับจากอันดับ 4 ไปอยู่ที่อันดับ 3 ซึ่งบ่งชี้บทบาทด้านการค้าของสิงคโปร์ที่ไต่อันดับขึ้นมา ขณะที่เมื่อมองเฉพาะการส่งออกสินค้าที่ผลิตในประเทศ (Domestic Export ) ก็ยังคงพบว่า สิงคโปร์ มีบทบาทเพิ่มขึ้น โดยแซงมาเลเซีย และเวียดนาม จากอันดับ 6 ขึ้นเป็นอันดับ 4 แต่ยังเป็นรองจีน ไทย และญี่ปุ่นซึ่งเป็น 3 อันดับแรกอยู่พอสมควร ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า จีน ไทย และญี่ปุ่น ยังคงมีบทบาทสูงในการส่งออกสินค้าที่ผลิตในประเทศเข้าไปยังกลุ่ม CLMV แต่สิงคโปร์กำลังตีตื้นขึ้นมา ด้วยเหตุนี้ ไทยจึงควรเร่งพัฒนาศักยภาพด้านการส่งออก เพื่อรักษาบทบาททางการค้าไว้ เนื่องจากสิงคโปร์นับเป็นผู้ส่งออกที่มีศักยภาพ โดยเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญของโลกหลายรายการ  และสินค้าส่งออกไทยไปยัง CLMV หลายรายการเป็นคู่แข่งโดยตรงกับสิงคโปร์ อาทิ น้ำมันสำเร็จรูป (HS 2710) เครื่องจักรกล (HS 84) เครื่องจักรไฟฟ้า (HS 85) นอกจากที่ไทยต้องเผชิญการแข่งขันจากยักษ์ใหญ่อย่างจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ในสินค้ากลุ่มดังกล่าวอยู่แล้ว

ไทยมีบทบาทในCLMVที่2รองจากจีน

 

ไทยมีบทบาทในCLMVที่2รองจากจีน

 

ไทยมีบทบาทในCLMVที่2รองจากจีน

 

ไทยมีบทบาทในCLMVที่2รองจากจีน

ไทยควรกำหนดยุทธศาสตร์รองรับการแข่งขันที่ทวีความเข้มข้นขึ้น

หลังการทวีบทบาทขึ้นของมูลค่าการลงทุนและการค้าจากสิงคโปร์ตั้งแต่ต้นปี 2556 ได้ส่งผลให้ไทยต้องเผชิญกับความท้าทายด้านบทบาททางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาค CLMV มากขึ้น โดยเฉพาะในด้านการลงทุน ที่ทุนระดับโลกในนามนิติบุคคลของสิงคโปร์ได้เข้ามามีบทบาทในพื้นที่การลงทุนใน CLMV อย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกัน ในด้านการค้า บทบาทการส่งออกของไทยไปยัง CLMV กำลังถูกท้าทายมากขึ้นแม้ยังสามารถครองอันดับ 2 เช่นเดิม ทำให้ไทย ควรเตรียมพร้อม และกำหนดทิศทางการพัฒนาจุดแข็งของไทย เพื่อรองรับการแข่งขัน ในประเด็นต่างๆ ดังนี้

--> การส่งออกไปยัง CLMV: ไทยควรอาศัยจุดเด่นในการเป็นศูนย์กลางด้านการขนส่ง ทั้งในภูมิภาคอาเซียน และข้ามภูมิภาค (เชื่อมจีน – อินเดีย) ในการบุกเบิกตลาดสินค้า และผลักดันสินค้าทุนที่จำเป็นในภาคก่อสร้างและอุตสาหกรรม อาทิ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องจักรกล และชิ้นส่วนอุตสาหกรรม ซึ่งประเทศในกลุ่ม CLMV ไม่สามารถผลิตเองได้ ขณะเดียวกัน สำหรับสินค้ากลุ่มอุปโภคบริโภค อาทิ อาหาร และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดร่างกาย ที่กำลังเป็นที่นิยมในกลุ่ม CLMV ไทยควรรักษาภาพลักษณ์ด้านมาตรฐานสินค้าที่มีความโดดเด่นเมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าจากประเทศอื่นในภูมิภาค ภายใต้ราคาที่แข่งขันได้ เพื่อให้สามารถครองตลาดได้อย่างต่อเนื่อง ในยามที่ตลาด CLMV กำลังได้รับความสนใจจากประเทศในภูมิภาคเช่นกัน

--> การลงทุน: ผู้ประกอบการไทย อาจวางแผนเครือข่ายการผลิตในระดับภูมิภาค โดยเชื่อมโยงสายการผลิตโดยอาศัยทรัพยากรและแรงงานในประเทศเพื่อนบ้าน กับการผลิตภายในประเทศไทยที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตในระดับสูงกว่า เพื่อให้เหมาะสมกับปัจจัยการผลิตในแต่ละพื้นที่ ขณะเดียวกัน ภาครัฐไทย ควรมีบทบาทในการนำให้ธุรกิจไทยออกไปลงทุนในประเทศ CLMV มากขึ้น นอกจากโดยการสนับสนุนด้านข้อมูล ที่กระทรวงพาณิชย์กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบันแล้ว รัฐบาลไทยควรวางยุทธศาสตร์สร้างความสัมพันธ์ระดับรัฐบาลกับประเทศ CLMV ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เพื่อผลักดันโอกาสการได้รับสิทธิพิเศษด้านการลงทุนจากประเทศเหล่านั้นเป็นพิเศษ และเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ภาคเอกชนไทย เพื่อเปิดโอกาสให้ไทยมีการลงทุนในพื้นที่ CLMV มากขึ้น

--> การท่องเที่ยว: ไทย ควรอาศัยประโยชน์จากการเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงตลาด CLMV และข้อตกลงการใช้ Single VISA ในกลุ่มประเทศ CLMV และไทย โดยที่ไทยและกัมพูชาได้เริ่มทดลองใช้แล้ว อันจะเป็นจุดขายอันหนึ่งให้ไทยยังคงเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในกลุ่มอนุภูมิภาคอินโดจีนได้อย่างแข็งแกร่งต่อไปในระยะข้างหน้า