posttoday

รัฐบาลไทยขึ้นเวทีเรียกความเชื่อมั่นนักลงทุนญี่ปุ่น

23 พฤษภาคม 2556

นายกรัฐมนตรีนำทีมเศรษฐกิจขึ้นเวทีแดนอาทิตย์อุทัยให้ข้อมูลการพัฒนาประเทศ สร้างความมั่นใจแก่นักลงทุนต่างชาติกว่า 300 ราย

นายกรัฐมนตรีนำทีมเศรษฐกิจขึ้นเวทีแดนอาทิตย์อุทัยให้ข้อมูลการพัฒนาประเทศ สร้างความมั่นใจแก่นักลงทุนต่างชาติกว่า 300 ราย

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวเปิดงานพบปะนักลงทุน (Roadshow) ในหัวขอ “Building a Strong Foundation for Thailand and ASEAN” ที่โรงแรมเพนนินซูล่า กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นว่า ไทยและญี่ปุ่นมีความร่วมมือโดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจมาอย่างยาวนาน โดยญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีการลงทุนในไทยเป็นอันดับหนึ่งกว่า 1.3 ล้านล้านเยน และการค้าระหว่างไทยและญี่ปุนมีมูลค่ากว่า 7.5 ล้านล้านเยนในปีที่แล้ว ทั้งนี้ ที่ผ่านมาญี่ปุ่นยังได้มีบทบาทสำคัญในพัฒนาการด้านเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานของไทย โดยเฉพาะในการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกของไทย (Eastern Seaboard) ให้เป็นชุมชนที่มีนิคมอุตสาหกรรม โรงงาน ท่าเรือน้ำลึก และโครงข่ายพื้นฐานที่พรั่งพร้อม  จึงต้องการเชิญชวนภาคเอกชนญี่ปุ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการสำคัญในอนาคต ได้แก่ โครงการลงทุนด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในวงเงิน 3.5 แสนล้านบาท แผนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท และโครงการนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรือน้ำลึกทวาย

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “The Roadmap to Real Opportunities for Thailand and ASEAN” โดยชี้ให้เห็นถึงเศรษฐกิจไทยที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่องในไตรมาสแรกของปี 2556 อยู่ที่ 5.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน อันเป็นผลจากการบริโภคและการลงทุนที่ขยายตัวได้ดี ทั้งนี้ นโยบายภาครัฐ เช่น การเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ นโยบายรถคันแรก นโยบาำข้าว ได้มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ไทยยังมีโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศและโครงการทวาย โดยจากภูมิศาสตร์ของไทยที่อยู่บริเวณศูนย์กลางของอาเซียน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการคมนาคมและการเชื่อมโยงกับเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายจะทำให้ไทยได้ประโยชน์อย่างเต็มที่เมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม ได้บรรยายในหัวข้อ “Thailand’s Infrastructure Investment” กล่าวว่า การเชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์จะช่วยให้ไทยและอาเซียนได้รับประโยชน์จากการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจอย่างแท้จริง ในปัจจุบันประเทศไทยยังพึ่งพาการขนส่งทางถนนที่สูงกว่า 86% ของการขนส่งทั้งหมด ซึ่งทําใหต้นทุนทางโลจิสติกสของประเทศอยูในระดับที่สูงถึง 15.2% ของจีดีพี การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ 2 ล้านล้านบาท ทั้งรถไฟรางคู(Double Track) รถไฟความเร็วสูง (High Speed Train) และการขนส่งมวลชน (Mass Transit) จะช่วยลดต้นทุนด้านโลจิสติกสและลดการนําเข้าพลังงานเพื่อการขนส่งอันจะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้อย่างยั่งยืน โดยคาดว่า การดําเนินการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ จะส่งผลให้ต้นทุนโลจิสติกสต่อจีดีพีของประเทศลดลงจากปัจจุบันไม่น้อยกว่า 2.0% ทั้งนี้ นายชัชชาติฯ ได้กล่าวเชิญชวนภาคเอกชนญี่ปุ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ของไทยผ่านการเข้าร่วมประมูลสัมปทานโครงการต่างๆ

นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  ได้บรรยายในหัวข้อ “Dawei Project, the New Asian Gateway” โดยกล่าวถึงความสำคัญของเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายในฐานะจุดยุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนาความเชื่อมโยงฐานการผลิตภายในภูมิภาคอาเซียนและการเป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ในการขนส่งสินค้า รวมทั้งหยิบยกกรณีศึกษาการพัฒนาเขตพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างไทย-ญี่ปุ่นในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของไทย และเชิญชวนให้ภาคเอกชนญี่ปุ่นเข้าร่วมการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายร่วมกับไทยผ่านโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (Public Private Partnership)

การพบปะนักลงทุนในครั้งนี้ถือว่าประสบผลสำเร็จอย่างมาก สะท้อนจากความสนใจของภาคเอกชนญี่ปุ่นจํานวนมากที่เข้าร่วมงานกว่า 300 คน และจากคําถามต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คำถามเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนญี่ปุ่นในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท และโครงการทวาย ซึ่งฝ่ายไทยได้ชี้แจงให้ข้อมูลอย่างครบถ้วนและชัดเจน