posttoday

บาทแข็งหลักกลุ่มไมซ์ไปนอกทีเล็บดันแคมเปญดึงลูกค้ากลับไทย

28 มีนาคม 2556

ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วและค่อนข้างแรง นอกจากทำให้ภาคการส่งออกของประเทศตกอยู่ในภาวะที่น่าเป็นห่วงแล้ว

โดย...ชลธิชา ภัทรสิริวรกุล

ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วและค่อนข้างแรง นอกจากทำให้ภาคการส่งออกของประเทศตกอยู่ในภาวะที่น่าเป็นห่วงแล้ว ผลกระทบที่เห็นได้อย่างเด่นชัดต่อธุรกิจจัดประชุมสัมมนาและนิทรรศการ หรือกลุ่มไมซ์ คือ กลุ่มลูกค้าที่พอจะมีกำลังซื้อ ต่างเห็นเป็นโอกาสที่จะย้ายสถานที่การจัดงานออกไปนอกประเทศ เนื่องจากเมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว ค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการจัดงานในต่างประเทศที่ไม่ไกลนัก รวมค่าเดินทางด้วยแล้ว มีความใกล้เคียงกับการจัดในประเทศ

จิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมตลาดในประเทศ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์กรมหาชน) หรือทีเส็บ เปิดเผยว่า เงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ส่งผลกระทบต่อตลาดไมซ์ในประเทศพอสมควร เพราะขณะนี้เริ่มมีลูกค้าโดยเฉพาะกลุ่มองค์กรที่มีกำลังซื้อประมาณ 1020% หันไปต่างประเทศแทนการจัดงานในเมืองไทย เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางใกล้เคียงกัน จึงกระตุ้นให้ตัดสินใจง่ายขึ้น

“เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นทำให้ลูกค้ากลุ่มไมซ์ในประเทศที่มีกำลังตัดสินใจไปจัดงานที่ต่างประเทศ เช่น ฮ่องกง สิงคโปร์ แทนการจัดงานในเมืองไทยง่ายขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องท้าทายที่ต้องพยายามแก้ไขและรักษาลูกค้าตลาดนี้ไว้ให้ได้” จิรุตถ์ กล่าว

ทั้งนี้ ในช่วงเดือน พ.ค.นี้ ทีเส็บเตรียมออกแคมเปญ “ประชุมเมืองไทย ภูมิใจช่วยชาติ” โดยจะขอความร่วมมือหน่วยงานราชการและภาคเอกชนทั้งหลาย เพื่อสร้างจิตสำนึกว่าเมืองไทยก็จัดงานได้ใหญ่เช่นกัน และกระตุ้นให้ลูกค้ากลุ่มไมซ์หันมาจัดงานและเที่ยวภายในประเทศมากขึ้น และจะออกโปรโมชันร่วมกับสายการบินต้นทุนต่ำ (โลว์คอสแอร์ไลน์) เช่น นกแอร์ แอร์เอเชียไทยสไมล์ และบางกอกแอร์เวย์ เป็นต้น เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้ากลุ่มไมซ์ใช้บริการในช่วงโลว์ซีซัน นอกจากนี้ยังจะมีการหาลูกเล่นใหม่ๆ ของสถานที่ท่องเที่ยวแต่ละพื้นที่เพื่อมาใช้เป็นตัวดึงดูดลูกค้าให้ใช้บริการภายในประเทศมากขึ้น

สำหรับรายได้ของกลุ่มไมซ์ในประเทศเฉลี่ยอยู่ที่ปีละ 2 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 30% ของรายได้รวมทั้งหมด โดยเชื่อว่าหากเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558 และช่วยส่งเสริมให้ตลาดไมซ์ในประเทศเติบโตขึ้น เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเป้าหมายและยังเป็นประตูเชื่อมโยง (เกตเวย์) ไปยังประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนได้ด้วย

ด้าน ธงชัย ศรีดามา กรรมการ ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้อำนวยการ ทีเส็บ กล่าวถึงภาพรวมอุตสาหกรรมไมซ์ไทย ว่า ช่วงเดือน ต.ค.-ธ.ค. 2555 ขยายตัวขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 14.1% มีจำนวนนักเดินทางกลุ่มไมซ์ชาวต่างชาติเข้ามาทั้งสิ้น 1.77 แสนคน คิดเป็นรายได้ 1.51 หมื่นล้านบาท และคาดว่าภายหลังสิ้นช่วง ม.ค.-มี.ค. 2556 จะเติบโตเพิ่มขึ้นอีก 15% หลังจากที่ทีเส็บได้รีแบรนด์และทำการตลาดเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง ทำให้คาดว่าภาพรวมมูลค่ารวมอุตสาหกรรมมซ์ของไทยปีนี้จะเพิ่มขึ้น 510% มีมูลค่ารวม 8.8 หมื่นล้านบาท และมีนักเดินทางกลุ่มไมซ์เข้ามายังไทย 9.4 แสนคน

ทั้งนี้ พบว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล สามารถดึงกลุ่มนักเดินทางกลุ่มไมซ์เข้ามายังประเทศไทยได้สูงที่สุดจำนวน 5.72 หมื่นคน คิดเป็นสัดส่วน 32% ตามด้วยอุตสาหกรรมการประชุมนานาชาติ 30% อุตสาหกรรมการประชุมองค์กร 21% และอุตสาหกรรมการแสดงสินค้านานาชาติ 17% แต่หากมองในแง่ของรายได้กลับพบว่าอุตสาหกรรมการประชุมนานาชาติสามารถนำรายได้เข้าสู่ประเทศได้มากที่สุดถึง 5,311 ล้านบาท

“ปีนี้ทีเส็บจะมุ่งขยายตลาดเอเชียที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศอาเซียนบวก 6 เนื่องจากตลาดไมซ์จากภูมิภาคเอเชียยังครองสัดส่วนสูงที่สุดถึง 57.68% และมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 27.09% จากปีผ่านมา” ธงชัย กล่าว

ธงชัย กล่าวว่า นักเดินทางกลุ่มไมซ์ชาวเอเชียมีจำนวนทั้งสิ้น 1.02 แสนคน คิดเป็นรายได้รวม 8,711 ล้านบาท อย่างไรก็ตามสถานการณ์การเมืองที่ยังไม่นิ่ง นับเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเติบโตของอุตสาหกรรม

สำหรับไตรมาสที่ 3 ทีเส็บยังคงเดินหน้ารุกกิจกรรมการตลาดสำคัญต่างๆ เช่น สนับสนุนการจัดงานด้านการท่องเที่ยว เพื่อเป็นรางวัลจากประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ให้เข้ามาจัดในประเทศไทย และให้การสนับสนุนการจัดงานแสดงสินค้านานาชาติอีกจำนวน 21 งาน การเข้าร่วมงานเทรดโชว์ใหญ่ๆ และจัดกิจกรรมโรดโชว์พาผู้จัดงานชาวไทยไปจับคู่ธุรกิจกับสมาคมการค้า ภาครัฐ และผู้จัดงานในต่างประเทศ 7ครั้ง ได้แก่ พม่า ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน จีน อังกฤษ เยอรมัน และสหรัฐอเมริกาเป็นต้น

นายธงชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า ปีนี้ภาพรวมอุตสาหกรรมไมซ์ของไทยมีแนวโน้มเป็นบวกมาก เรียกว่ามีงานเต็มมือ เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว ทำให้คนมีรายได้ในการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น แต่ทั้งนี้