posttoday

กรณ์อัดงบ56 ไร้ ยุทธศาสตร์-ทิศทาง

22 พฤษภาคม 2555

กรณ์ อัด งบ56 ไร้ "ยุทธศาสตร์-ทิศทาง-​ทางออก" ซัดรัฐ​หนุนส่งออกคนรวยได้ประโยชน์เกษตรกรยังจน จี้รมต.เกรดซีพิสูจน์ตัวเองตอบโจทย์เพื่อประชาชน

กรณ์ อัด งบ56 ไร้ "ยุทธศาสตร์-ทิศทาง-​ทางออก"  ซัดรัฐ​หนุนส่งออกคนรวยได้ประโยชน์เกษตรกรยังจน จี้รมต.เกรดซีพิสูจน์ตัวเองตอบโจทย์เพื่อประชาชน

 

กรณ์อัดงบ56 ไร้ ยุทธศาสตร์-ทิศทาง นายกรณ์ จาติกวนิช

การประชุมสภาผู้แทนราษฎ นัดพิเศษพิจารณาเรื่องด่วน เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2556 ต่อเนื่องจากวันที่ 21 พ.ค.ที่ผ่านมา เป็นวันที่ 2  นายกรณ์ จาติกวนิช สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การจัดงบประมาณแบบขาดดุลนั้นรัฐบาลยังไม่คำนวณรวมกับการกู้เงินผ่าน พ.ร.ก.​ให้อำนาจกระทรวงการคลัง กู้เงินเพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ 3.5 แสนล้านบาท ซึ่งขาดประสิทธิภาพการใช้เงิน  

ทั้งนี้ ​ที่ผ่านมาอ้างเรื่องความเร่งด่วนฉุกเฉินในการออก พ.ร.ก. แต่  มีการจัดสรรงบประมาณไปเพียง 2 หมื่นล้านบาท หรือ 5 %  และไม่มีการเบิกจ่ายแม้แต่บาทเดียว แต่วันนี้กลับมาขอสภาเพื่อขออำนาจกู้ยืมชดเชยการขาดดุลเพิ่มเติม เพื่อชดเชยเพิ่มเติมถึง 3 แสนล้านบาท ยังไม่นับร่วม พ.ร.ก.อีก 2 ฉบับ ซึ่งรัฐบาลก็อ้างถึงความจำเป็นเร่งด่วน แต่วันนี้ก็ยังไม่มีความคืบหน้าในการดำเนินการแต่อย่างใด  พ.ร.ก.เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ  3 แสนล้านบาท จนถึงวันนี้มีรายงานว่ามีการปล่อยกู้ไม่ถึง  3,000 ล้านบาทหรือคิดเป็น 1 %  ส่วนกองทุนประกันภัย 5 หมื่นล้านบาท ก็ยังไม่เริ่มดำเนินการ

นายกรณ์ กล่าวว่า ทั้งหมดสะท้อนให้เห็นถึงการขาดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ  และไม่สามารถนำมาอ้างในเรื่องวินัยการคลังได้  ส่วนประเด็นที่รัฐบาลภูมิใจกับประมาณการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ​5-6 % ข้อมูลจากทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)  พบว่าการผลิต การส่งออกฟื้น แต่รายได้ภาคเกษตรยิ่งทรุด​ โดยราคาสินค้าการเกษตรตก​ลงไป 12.2 %  รายได้ภาคการเกษตรติดลบเกือบ ​11  %  ดังนั้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ผู้ที่ได้ประโยชน์คือผู้ส่งออก ซึ่งมีอำนาจเหนือทุน​ ในขณะที่ภาคเกษตรก็ยังเดือด ร้อน

นายกรณ์ กล่าวว่า งบประมาณปี 56 เป็นร่างที่ไร้ยุทธศาสตร์ ไร้ทิศทาง ไร้ทางออกให้กับประชาชน โดยเฉพาะคนที่ยากจน และขาดความโปร่งใส ​งบประมาณที่ดีจะต้องตอบโจทย์ 2 โจทย์  คือ 1. จะนำพาประเทศยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน สร้างภูมิคุ้มกันในวิกฤตเศรษฐกิจ แต่ดูสัดส่วนการส่งออกเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศสูงถึง 72 %  ขาดความมั่นคงหากประเทศคู่ค้าได้รับผลกระทบ ก็จะกระทบมาถึงเรา ดงนั้นต้องสร้างภูมิคุ้มกัน​

ทั้งนี้  การส่งเสริมการส่งออกทำให้ความรวยไปกระจุกอยู่ที่ผู้มีอำนาจเหนือทุน ​ควรจะต้องกระจายอำนาจจากศูนย์กลางผ่านการเชื่อมต่อทั้งทางคมนาคม ​โทรคมนาคม แต่ดูงบในโครงการลงทุนมีเพียง แค่ 4 แสนล้านบาท หรือ 18.7 %  การก่อสร้างระบบรางแค่ 1.06 แสนล้านบาท หรือเพียง 4  % ของงบประมาณรวม ซึ่งต่ำสำหรับประเทศที่ต้องการการพัฒนา เทียบกับประเทศจีนที่มีสัดส่วนอยู่ที่ 10 % ของงบรวม

นอกจากนี้ งบที่ดีต้องตอบโจทย์ที่สอง คือการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน  ที่ผ่านมาตัวเลขประชาชนที่ใช้บริการโรงรับจำนำสูงขึ้นมาก อย่า งจ.เชียงใหม่  ขอนแกน และอุดรธานี เพิ่มขึ้น​ 20 %    ในขณะที่จ.นครพนม มีผู้ใช้บริหารโรงรับจำนำ 100 %  และผลการวิเคราะห์จากมหาวิทยาลัยหอการค้า พบว่าค่าใช้จ่ายของนักเรียนต่อหัวอยู่ที่ 6,939 บาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 42%  ขณะที่รัฐบาลไม่มีความชัดเจนเพียงพอกับการช่วยเหลือหนี้นอกระบบ
 
สำหรับ นนโยบายพักหนี้ของรัฐบาลผ่าน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์(ธกส.) ซึ่งเป็นธนาคาของรัฐ ถือเป็นการคืนกำไรให้กับลูกค้า 4,000 - 5,000  ล้านบาท ผ่านการใช้ภาษีของประชาชน แต่ทำไมกรณีก๊าซ และพลังงาน รัฐบาลกลับไม่ใช้วิธีการดังกล่าวกับปตท. ซึ่งมีกำไรปีละนับแสนล้านบาท แต่​กลับสนับสนุน ให้ปตท.มีแต่กำไรเพิ่มขึ้น ไม่มีนโยบายที่สนับสนุนให้ ปตท. คืนกำไรให้กับพี่น้องประชาชน ​ดังนั้น​งบประมาณปี 56 ไม่ได้ตอบโจทย์ทั้ง 2 ข้อ นี้

“มีการระบุว่าคณะรัฐมนตรีชุดนี้เป็นรัฐมนตรีเกรดซี  แต่ผมไม่เห็นด้วย  เพราะรัฐมนตรีแต่ละคนมีความรู้ความสามารถ ขึ้นอยู่กับว่าจะพิสูจน์ตัวใช้ความรู้ความสามารถอย่างไร ถ้าใช้เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน ผ่านการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ ผมเชื่อว่านั้นคือภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุด ท่านอย่ากังวลในเรื่องการถูกปรับออกจากตำแหน่ง อย่ากังวลเพียงแค่กระทรวงของท่านจะได้รับโควต้างบประมาณเพียงพอแล้วหรือยัง ขอให้คิดว่าหลักงบประมาณที่ดี ต้องตอบโจทย์ประเทศในเรื่องใดบ้าง ต้องตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาของพี่น้องประชาชนอบย่างไรบ้าง นั่นคือภูมิคุ้มกันที่ดี”นายกรณ์ กล่าว​​