posttoday

กองทุน RMF กองทุนไหนดี [พร้อมเคล็ดลับการเลือกซื้อ]

18 ธันวาคม 2562

หากพูดถึงเรื่องการลงทุนระยะยาวเพื่อการเกษียณ เชื่อว่าตัวเลือกอันดับต้นๆ ที่หลายคนพูดถึงคือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ

 

หากพูดถึงเรื่องการลงทุนระยะยาวเพื่อการเกษียณ เชื่อว่าตัวเลือกอันดับต้นๆ ที่หลายคนพูดถึงคือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือที่เรียกกันว่า กองทุน RMF ซึ่งนอกจากจะเป็นเครื่องมือการลงทุนเพื่อการเกษียณแล้วยังมาพร้อมกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีควบคู่ไปกับโอกาสในการรับผลตอบแทนจากการลงทุนอีกด้วย

โดยบทความนี้จะให้ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ RMF  ที่อาจถูกมองข้ามไป

  • ทำความรู้จักกองทุน RMF เบื้องต้น
  • เงื่อนไขการลงทุนและผลกระทบกรณีผิดเงื่อนไข
  • เคล็ดลับการเลือกซื้อกองทุน RMF
  • ความแตกต่างหลากหลายของกองทุน RMF

กองทุน RMF มีดีมากกว่าที่เห็น แม้หลายคนจะยังไม่สนใจ เพราะคิดว่าต้องลงทุนนาน กว่าจะขายคืนได้ก็ต้องรอจนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ แถมต้องถือครองอย่างน้อย 5 ปี แต่อย่าลืมว่าการออมเพื่อการเกษียณเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ‘เพราะเวลาไม่เคยคอยใคร’ ในระหว่างที่คุณกำลังให้ความสำคัญกับเรื่องอื่นๆ ในชีวิต เพียงไม่นานก็จะพบว่าชีวิตหลังเกษียณกำลังจะมาถึงอย่างไม่ทันตั้งตัว ที่สำคัญคือคุณภาพชีวิตหลังเกษียณจะเป็นอย่างไรอยู่ที่การเตรียมพร้อมตั้งแต่วันนี้นั่นเอง

ทำความรู้จักกองทุน RMF เบื้องต้น

การวางแผนเพื่อให้มีเงินออมเพียงพอสำหรับใช้จ่ายเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในวัยเกษียณถือเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญ เพราะหากหวังพึ่งสวัสดิการของภาครัฐก็คงจะไม่เพียงพอ กองทุน RMF จึงถูกสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนออมเงินเพื่อการเกษียณ ควบคู่ไปกับการได้รับสิทธิ์ในการลดหย่อนภาษี RMF สามารถไถ่ถอนได้ในช่วงใกล้เกษียณ จึงเหมาะสำหรับการออมเพื่ออนาคต เพราะเป็นการลงทุนแบบสะสมในระยะยาวนั่นเอง

กองทุน RMF กองทุนไหนดี [พร้อมเคล็ดลับการเลือกซื้อ]

กองทุน RMF ถือเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้แผนการลงทุนสำหรับการเกษียณมีความต่อเนื่อง และเพิ่มทางเลือกที่เปิดกว้างมากขึ้น เนื่องจาก RMF มีนโยบายการลงทุนที่หลากหลาย สามารถเลือกลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ตนเองสามารถรับได้ 

รวมทั้งเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารจัดสรรเงินได้ด้วยตนเอง เพราะสามารถสับเปลี่ยนระหว่างกองทุน RMF ให้เหมาะสมกับสภาวะตลาด เช่น การโยกจาก RMF ที่ลงทุนในหุ้นไปยัง RMF ที่ลงทุนตราสารหนี้เพื่อเป้าหมายในการรักษาเงินต้น หรือการโยกจาก RMF ตราสารหนี้ไปยัง RMF หุ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการรับผลตอบแทนที่สูงขึ้นในระยะยาว

เงื่อนไขการลงทุนและผลกระทบกรณีทำผิดเงื่อนไข

เงื่อนไขการลงทุน

  1. ผู้ลงทุนต้องลงทุนต่อเนื่องอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  2. ต้องลงทุนขั้นต่ำ 3% ของเงินได้พึงประเมิน หรือไม่น้อยกว่า 5,000 บาท (อ้างอิงจำนวนที่ต่ำกว่า) และห้ามเกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีในปีนั้น และเมื่อรวมกับเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และประกันชีวิตแบบบำนาญ จะต้องไม่เกิน 500,000 บาท
  3. ผู้ลงทุนสามารถขายคืนหน่วยลงทุนเมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์และต้องลงทุนต่อเนื่องอย่างน้อย 5 ปี (ปีใดไม่มีการลงทุนจะไม่มีการนับอายุการลงทุน)

หากทำผิดเงื่อนไขการลงทุน

กรณีลงทุนน้อยกว่า 5 ปี

  • ต้องคืนภาษีทั้งหมดที่ได้รับการยกเว้นมา
  • Capital Gain หรือกำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษี

กรณีลงทุนมากกว่า 5 ปี

  • ต้องคืนภาษีที่ได้รับยกเว้นย้อนหลัง 5 ปีปฏิทิน

กรณีจ่ายคืนภาษีล่าช้า

  • ต้องมีการจ่ายคืนเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือน ตั้งแต่เดือนเมษายนถัดจากปีที่ทำผิดเงื่อนไขการลงทุนนั้นๆ

เคล็ดลับการเลือกซื้อกองทุน RMF

  1. ศึกษารายละเอียดของกองทุน โดยพิจารณาลงทุนในกองทุนที่มีนโยบายเหมาะสมกับตนเองภายใต้ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
  2. ลงทุนตามสิทธิที่ได้รับ ไม่ลงทุนเกินสิทธิ
  3. กระจายการลงทุนใน RMF ที่มีนโยบายการลงทุนต่างกัน หรือลงทุนหลากหลายสินทรัพย์ ทั้งสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำและสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงกว่า เพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงขึ้น
  4. ปรับพอร์ตการลงทุนให้เหมาะกับปัจจัยต่างๆ ที่เปลี่ยนไป เช่น วัย การรับความเสี่ยง รายรับ และสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
  5. วางแผนการลงทุนแบบ DCA หรือการลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน โดยกำหนดการลงทุนเป็นงวดๆ งวดละเท่าๆ กันตามที่กำหนดไว้อย่างสม่ำเสมอ เช่น ลงทุนเดือนละครั้งต่อเนื่องไปทุกเดือน การลงทุนแบบ DCA ช่วยลดความเสี่ยงจากการตัดสินใจผิดพลาดในการลงทุนด้วยการจับจังหวะตลาด

เลือก RMF กองทุนไหนดี ท่ามกลางความหลากหลาย

RMF ไม่ได้มีแค่กองทุนเดียว ทำให้เกิดคำถามสำหรับหลายคนว่า ควรเลือกซื้อ RMF กองทุนไหนดี โดยจะขอยกตัวอย่างกองทุน RMF บางส่วนว่ามีความแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

กองทุน RMF ของกรุงศรี

  • กองทุน KFAFIXRMF (ความเสี่ยงระดับ 4 : เสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ)

กองทุนเปิดกรุงศรีแอคทีฟตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ เน้นการลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลาง-ยาวทั้งในประเทศและต่างประเทศ เหมาะกับผู้ที่รับความเสี่ยงได้น้อยหรือใกล้เกษียณ   ที่ไม่ต้องการลงทุนในหุ้นที่มีเสี่ยงสูง เน้นความมั่นคงมากกว่าโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนสูง

  • 3 ดี RMF (ความเสี่ยงระดับ 5 : เสี่ยงปานกลางค่อนข้างสูง)

3 ดี RMF เป็นกลุ่มกองทุน RMF ผสมแบบยืดหยุ่น ผู้ลงทุนไม่ต้องเสี่ยงสูงกับสินทรัพย์เดียว ไม่ต้องจัดพอร์ตเงินลงทุนเอง ไม่ต้องปรับพอร์ตเมื่อเวลาผ่านไป และ...ไม่ต้องใช้เงินเยอะ

ด้วยนโยบายการลงทุนทั้งในตราสารหนี้ หุ้น กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ REITs และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่ผ่านการคัดสรรของผู้จัดการกองทุน กองทุนในกลุ่มนี้จะมีสัดส่วนการลงทุนในแต่ละประเภทสินทรัพย์ที่แตกต่างกันไป  เพื่อให้เหมาะกับผู้ลงทุนที่รับความเสี่ยงได้แตกต่างกัน และมีความโดดเด่นในเรื่องการปรับสัดส่วนการลงทุนอย่างยืดหยุ่นตามสถานการณ์ ประกอบไปด้วย 3 กองทุน

1.กองทุน KFHAPPYRMF  เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่อยากเสี่ยงสูงเน้นความมั่นคงมากกว่าผลตอบแทน กองทุนจะเน้นสัดส่วนของตราสารหนี้มากที่สุดคือ 75-100%

คลิกดูรายละเอียดกองทุน

2.กองทุน KFGOODRMF  เหมาะสำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงเพิ่มขึ้นได้ เพื่อโอกาสรับผลตอบแทนสูงขึ้น โดยกองทุนจะมีสัดส่วนของหุ้น กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ REITs และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานได้สูงสุด 50%

คลิกดูรายละเอียดกองทุน

3.กองทุน KFSUPERRMF  เหมาะสำหรับผู้ที่อยากให้เงินลงทุนเติบโตได้เร็วขึ้น แม้จะมีความเสี่ยงสูงขึ้น เพราะกองทุนสามารถลงทุนในหุ้น กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ REITs และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานได้สูงสุดถึง 75% เลย

คลิกดูรายละเอียดกองทุน

  • กองทุน KFS100RMF (ความเสี่ยงระดับ 6 : เสี่ยงสูง)
    กองทุนเปิดกรุงศรี SET100 เพื่อการเลี้ยงชีพ มีสไตล์การลงทุนแบบ Passive มีนโยบายลงทุนในหุ้นของบริษัทขนาดใหญ่มีความมั่นคงสูง กองทุน KFS100RMF เหมาะกับผู้ที่ต้องการโอกาสรับ ผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับผลตอบแทนดัชนี SET100
  • กองทุน KFGBRANRMF (ความเสี่ยงระดับ 6 : เสี่ยงสูง)
    กองทุนเปิดกรุงศรีโกลบอลแบรนด์อิควิตี้เพื่อการเลี้ยงชีพ ลงทุนในบริษัทเจ้าของแบรนด์ที่มีชื่อเสียงและมีฐานลูกค้าอยู่ทั่วโลก   เช่น สินค้าอุปโภคบริโภค เทคโนโลยี ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เหมาะกับผู้ที่ต้องการกระจายการลงทุนไปยังต่างประเทศ 

จะเห็นได้ว่าแม้จะขึ้นชื่อว่า RMF ทว่าแต่ละกองทุนจะมีการลงทุนที่หลากหลาย ระดับความเสี่ยงต่างกัน มีการลงทุนทั้งในและต่างประเทศให้เลือก หากคุณสนใจข้อมูลกองทุน RMF อื่นๆ เพิ่มเติม สามารถดูได้ที่ กองทุน RMF ของ บลจ.กรุงศรี ครบทุกสินทรัพย์ลงทุน

ตัวอย่างการจัดพอร์ตลงทุน RMF

กองทุน RMF กองทุนไหนดี [พร้อมเคล็ดลับการเลือกซื้อ]

เนื่องจาก RMF เป็นการลงทุนระยะยาว เมื่อเวลาผ่านไปผู้ลงทุนควรประเมินผล และพิจารณาปรับพอร์ตการลงทุนของตนเองด้วย เช่น ปีละครั้ง แต่ถ้าอยากลงทุนยาวๆ แบบสบายใจ ไม่ต้องยุ่งยากหรือกังวลว่าจะจัดพอร์ตแบบไหนดี แล้วต้องปรับพอร์ตอย่างไร เมื่อไหร่ควรลงทุนในหุ้นเพิ่ม หรือเมื่อไหร่ควรเพิ่มตราสารหนี้กับหุ้นต่างประเทศ การลงทุนใน RMF ที่เป็นกองทุนผสมแบบยืดหยุ่นที่มีผู้จัดการกองทุนคอยคัดเลือกสินทรัพย์ วิเคราะห์สถานการณ์และปรับพอร์ตให้ น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี

ส่วนคำถามว่าจะลงทุนตอนไหนดี  ถ้าดูจากสถิติที่ผ่านมาพบว่ากว่า 94% ของผลตอบแทนในการลงทุนมาจากการจัดสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสม ในขณะที่การจับจังหวะการลงทุนส่งผลต่อผลตอบแทนโดยเฉลี่ยเพียงแค่ 2% เท่านั้น ดังนั้น การคอยตามข่าวเศรษฐกิจหาจังหวะหุ้นลง น้ำมันขึ้น ค่าเงินบาทแข็ง หรือดอกเบี้ยลด ก็อาจจะไม่มีผลทำให้ได้ผลตอบแทนมากขึ้นสักเท่าไหร่ เผลอๆ อาจจับจังหวะผิดก็เป็นได้ ทยอยลงทุนสะสมไปเรื่อยๆ น่าจะเป็นวิธีที่ดีกว่า ไม่ต้องใช้เงินก้อนแล้วยังได้เฉลี่ยต้นทุนในการซื้อกองทุนด้วย

คำเตือน :

  • ผู้ถือหน่วยลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีหากไม่ปฎิบัติตามเงื่อนไขการลงทุนสิทธิประโยชน์ทางภาษีและเงื่อไขการลงทุนใน RMF
  • RMF ลงทุนไม่น้อยกว่า 3% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีเงินได้ หรือไม่น้อยกว่า 5,000 บาทต่อปี และไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น และเมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กบข. และเบี้ยประกันแบบบำนาญแล้วไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี
  • ลงทุนต่อเนื่องอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ห้ามหยุดลงทุนติดต่อกันเกิน 1 ปี โดยต้องถือหน่วยลงทุนจนถึงอายุ 55 ปี และลงทุนต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 ปี
  • กรณีผิดเงื่อนไขการลงทุนในกองทุน RMF ผู้ลงทุนต้องชำระคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับมาในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 5 ปีปฎิทิน (นับย้อนหลังตั้งแต่ปีก่อนปีที่ปฎิบัติผิดเงื่อนไข) และต้องนำเงินผลประโยชน์        (Capital Gain) ที่ได้จากการขายคืนไปรวมกับเงินได้ เพื่อชำระภาษีตามข้อกำหนดของกรมสรรพากร
  • KFAFIXRMF  ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ซึ่งอาจมีต้นทุนสำหรับการทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว โดยทำให้ผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมลดลงเล็กน้อยจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
  • KFGBRANRMF ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้

สอบถามรายละเอียดข้อมูลกองทุนเพิ่มเติม ขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่

บลจ.กรุงศรี โทร. 02-657-5757 หรือ  ธนาคารกรุงศรีอยุธยาทุกสาขาทั่วประเทศ

RMF ลงทุนเพื่อเกษียณอายุ | ควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และสิทธิประโยชน์ทางภาษีในคู่มือการลงทุนก่อนการตัดสินใจลงทุน