posttoday

‘เปลี่ยน’ เพื่อชีวิตที่ดีในวัยเกษียณ

16 ตุลาคม 2563

คอลัมน์ เข็มทิศนักลงทุน โดย...กิตติคุณ ธนรัตนพัฒนกิจ ผู้บริหารฝ่ายกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์การลงทุน บลจ.กสิกรไทย

ตั้งแต่ต้นปีมานี้ ทั่วโลกต่างประสบกับมรสุมลูกใหญ่อย่างสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจชะลอตัว เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลายๆ กิจกรรมต้องหยุดชะงักลง รวมถึงบรรยากาศการลงทุนไม่คึกคัก เพราะผู้ลงทุนส่วนใหญ่ยังมีความกังวลต่อสถานการณ์ที่ยังไม่คลี่คลาย และความผันผวนที่มีอยู่ค่อนข้างสูงในตลาด

“ในทุกวิกฤตย่อมมีโอกาส” ประโยคนี้ใช้ได้กับการลงทุน เพราะ การลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นเงินฝาก ตราสารหนี้ หุ้น ทองคำ เป็นต้น สินทรัพย์แต่ละประเภทจะทำหน้าที่สร้างผลตอบแทนในภาวะตลาดที่แตกต่างกัน ดังนั้น การกระจายการลงทุน จึงช่วยให้พอร์ตมีภูมิคุ้มกันต่อความผันผวน เนื่องจากสินทรัพย์แต่ละประเภทจะช่วยประคับประคองผลตอบแทนซึ่งกันและกันอยู่นั่นเอง

อีกไม่กี่เดือนก็จะสิ้นปีกันแล้ว สำหรับผู้มีรายได้ประจำและต้องเสียภาษี คงกำลังมองหาผลิตภัณฑ์สำหรับลดหย่อนภาษี ซึ่งหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยม คือ “กองทุนรวม” ทั้งกองทุนรวมเพื่อการออม (Super Savings Fund: SSF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund: RMF) ที่นอกจากผู้ลงทุนจะได้รับ “สิทธิประโยชน์ทางภาษี” แล้วยังเป็นการเพิ่ม “โอกาสทำกำไรในระยะยาว” อีกด้วย

‘เปลี่ยน’ เพื่อชีวิตที่ดีในวัยเกษียณ

ด้วยนโยบายที่เปิดกว้างทำให้ในตลาดมีกองทุน SSF และ RMF ที่หลากหลายให้ได้เลือกลงทุนกัน ซึ่งถ้าถามว่ากระแสหรือเทรนด์การลงทุนใดที่กำลังได้รับความสนใจจากผู้ลงทุนทั่วโลก ก็คงหนีไม่พ้น “เทรนด์ธุรกิจรักษ์โลก” ดังนั้น บลจ.กสิกรไทย จึงขอแนะนำกองทุนที่จะช่วยสร้างโอกาสรับผลตอบแทนไปพร้อมกับการสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมและสิ่งแวดล้อมโลก นั่นคือ กองทุนเปิดเค พอสซิทีฟ เชนจ์ หุ้นทุน ชนิดเพื่อการออม (K-CHANGE-SSF) ซึ่งถือเป็นกองทุนที่ได้รับความนิยมและมีผลการดำเนินงานที่ดีนับตั้งแต่จัดตั้งกองทุน โดยมีนโยบายลงทุนผ่านกองทุนหลัก Baillie Gifford Positive Change – Class B accumulation (GBP) ที่เน้นลงทุนในหุ้นเติบโตสูง (Growth Stock) จำนวน 25-50 บริษัท ผ่านธีมการลงทุนหลักใน 4 เรื่อง ได้แก่ 1.สังคมและการศึกษา (Social Inclusion and Education) 2.สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรที่จำกัด (Environment and Resource Needs) 3.สุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี (Healthcare and Quality of Life) และ 4.เศรษฐกิจรากหญ้า (Base of Pyramid)

โดยจะสังเกตได้ว่าปัญหาทั้ง 4 เรื่องที่กล่าวมานั้นล้วนเป็นปัญหาใกล้ตัวที่ควรได้รับการใส่ใจอย่างเร่งด่วน เพราะจะส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของทุกคน รวมทั้งเศรษฐกิจในระดับโลก ซึ่งปัญหาดังกล่าวได้ก่อให้เกิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ที่มีทั้งนวัตกรรม (Innovation) และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ช่วยให้เกิดผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ที่จะเข้ามาแก้ปัญหาแบบยั่งยืน รวมถึงได้เปลี่ยนโฉม (Disrupt) ธุรกิจและผลิตภัณฑ์แบบเดิมๆ ยกตัวอย่างธุรกิจเช่น

• Kroton ธุรกิจการศึกษาเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในบราซิล โดยขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับผู้มีรายได้น้อยในบราซิลกว่า 900,000 คน มีโอกาสเรียนหนังสือจนถึงระดับปริญญาตรี

• Tesla บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายรถยนต์พลังงานไฟฟ้า (Electric Car) แผงโซล่าเซลส์ (Solar Panel) และ Clean Energy Storage ช่วยลดภาวะโลกร้อน

• M3 ผู้ให้บริการทางการแพทย์ออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น ทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงคำแนะนำทางการแพทย์ออนไลน์ด้วยต้นทุนที่ต่ำลงและมีประสิทธิภาพ

• Bank Rakyat Indonesia หนึ่งในธนาคารรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย ให้บริการทางการเงินแก่รากหญ้า ทำให้คนจำนวนมากเข้าถึงแหล่งเงินกู้และธุรกรรมทางการเงินได้

นอกจากนี้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้ส่งผลต่อวิวัฒนาการทางการแพทย์ให้มีเครื่องมือที่ทันสมัย ทำให้มีอายุเฉลี่ยที่ยืนยาวขึ้น ดังนั้น ผู้ลงทุนจึงต้องวางแผนทางการเงินสำหรับชีวิตในวัยเกษียณให้พร้อมตั้งแต่วันนี้ เพื่อที่ในวันข้างหน้าจะได้มีเงินไว้ใช้จ่ายเพียงพอ และหากท่านใดมีกองทุน RMF ที่มีนโยบายลงทุนเฉพาะสินทรัพย์ในประเทศอยู่ ก็อยากแนะนำให้กระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์ในต่างประเทศดูบ้าง เพื่อเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนในระยะยาวอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ สำหรับท่านที่ชื่นชอบในนโยบายการลงทุนของกองทุน K-CHANGE แต่อยากลงทุนในรูปแบบของกองทุน RMF เตรียมพบกับ กองทุนเปิดเค พอสซิทีฟ เชนจ์ หุ้นทุน เพื่อการเลี้ยงชีพ (KCHANGERMF) ได้เร็วๆ นี้เช่นกันครับ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ KAsset Contact Center 02-673-3888