posttoday

ข้อมูลมากขึ้น รู้จักมากขึ้น เข้าถึงมากขึ้น จริงหรือไม่

23 กันยายน 2562

คอลัมน์ เศรษฐกิจคิดง่ายๆ ดิจิทัล ตอนที่ 24/2562 โดย...สุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ๋เครดิตบูโร

คอลัมน์ เศรษฐกิจคิดง่ายๆ ดิจิทัล ตอนที่ 24/2562 โดย...สุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ๋เครดิตบูโร

จากการที่ผู้เขียนได้เข้าร่วมประชุมวิชาการแลกเปลี่ยนความรู้กันในหมู่ของเครดิตบูโรภาครัฐและเอกชนกว่า 10 ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น เครดิตบูโรภาครัฐของเกาหลีใต้ เวียดนาม ศรีลังกา ลาว เครดิตบูโรภาคเอกชนจากไทย ญี่ปุ่น ไต้หวัน กัมพูชา อินโดนีเซีย ตลอดรวมถึงผู้คนจากกระทรวงการคลัง และธนาคารกลาง เช่น มาเลเซีย บรูไน ฟิจิ เป็นต้น ที่ประชุมได้จัดขึ้นที่โรงแรมเมเลีย ฮานอย ซึ่งเป็นที่เดียวกันกับที่มีการจัดประชุมสันติภาพระหว่างประธานาธิบดี สหรัฐอเมริกา และผู้นำประเทศเกาหลีเหนือ หัวข้อการประชุมมี 3 เรื่องคือ บทบาทเครดิตบูโรภาครัฐกับการเปลี่ยนแปลงในระบบสถาบันการเงินของประเทศต่างๆ ระบบและการส่งผ่านข้อมูลข้ามประเทศหรือข้ามรัฐ เช่น Cross Border Credit Information และเรื่องที่สามคือ ข้อมูลทางเลือกหรือ Alternative data เรียกย่อๆ เป็นที่เข้าใจกันก็คือ AD เป็นตัวย่อนั่นเองครับ

Alternative data ในมุมของสถาบันการเงินคืออะไร คำตอบภาษาชาวบ้านคือ ข้อมูลที่ถูกจัดเก็บและเปิดเผยได้ตามกฎหมายของตัวบุคคล ที่ทำให้สถาบันการเงินได้รับรู้และเข้าใจพฤติกรรมตลอดจนความต้องการของบุคคลคนนั้นที่เป็นเจ้าของข้อมูลได้มากขึ้นและลึกซึ้งกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ที่น่าสนใจคือในช่วงเวลาที่ผ่านมาสถาบันการเงินพยายามรวบรวมและนำเอาข้อมูลของลูกค้ามาจัดเก็บ ทั้งนี้จะรวมถึงข้อมูลการทำธุรกรรมกับตัวของสถาบันการเงินนั้นๆ หรือจากใบสมัครสินเชื่อ เช่น การเดินบัญชี หรือแม้แต่ข้อมูลเครดิตจากเครดิตบูโร เป็นต้น ชุดข้อมูลนี้เรามักเรียกกันว่า Traditional credit data ขอยกตัวอย่างข้อมูลพอสังเขป ดังนี้

ข้อมูลอาชีพ

ข้อมูลรายได้ ทรัพย์สิน

ข้อมูลการศึกษา ข้อมูลแหล่งที่อยู่ ข้อมูลเครดิตก็จะมี ส่วนที่เป็นข้อบ่งชี้ถึงตัวบุคคล ประวัติการก่อหนี้ การชำระหนี้ การผิดนัดชำระหนี้ การปรับโครงสร้างหนี้ การโอนขายหนี้ เป็นต้น

ต่อมาก็มีความพยายามจะเก็บข้อมูลจากแหล่งอื่นที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า เช่น ข้อมูลสาธาณะที่ภาครัฐเปิดเผยและเกี่ยวข้องกับบุคคลที่อาจเป็นลูกค้าของเรา เช่น ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้าง ข้อมูลล้มละลายจากกรมบังคับคดี ข้อมูลจากราชกิจจานุเบกษา ข้อมูลของภาครัฐที่เปิดออกมาจะมีทั้งข้อมูลที่ระบุตัวตน หรือข้อมูลที่มีลักษณะเป็นสถิติ เราเรียกรวมๆ ข้อมูลกลุ่มนี้ว่า Government open data ในหลายประเทศจะมีคนที่เป็นนักธุรกิจหน้าใหม่เข้ามาเอาข้อมูลชุดนี้ไปทำธุรกิจและเติบโต

ข้อมูลทางเลือกหรือ AD ที่สถาบันการเงินให้ความสนใจจะมีลักษณะที่เรียกว่า Daily life behavior เช่น กลุ่มข้อมูล การใช้และการชำระค่าบริการสาธารณูปโภค ซึ่งข้อมูลพวกนี้มันจะสะท้อนข้อเท็จจริงในส่วนของมุมมองของบุคคลอื่นที่มีมายังตัวเจ้าของข้อมูลที่เป็นผู้ใช้บริการทางการเงินกับสถาบันการเงินว่าเขาเหล่านั้นคิดว่าลูกค้าคนนี้เป็นอย่างไรในมุมของเขา มันจะขมวดเป็นคำพูดคือ Enterprise customer centric view, Public view, Eco system view ข้อมูลชุดนี้ที่กำลังมาแรงมากก็คือ Social related activities

ตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจมากคือ Telcom data กับ Mobile data

Telcom data เช่น calling record, SMS record, Bill payment, Location track จะนำไปสู่ Potential relation โอกาสในการสร้างความสัมพันธ์และ Credit worthiness ความน่าเชื่อถือทางการเงิน

Mobile data เช่น Device information, Web browsing, App usage, Root jailbreak ที่อาจจะนำไป?สู่ Digital footprint, Negative behavior

Invoice data ที่มีลักษณะเป็น Digital invoice ซึ่งเราเห็นเป็น QR code พอเข้าไปดูด้านในก็จะพบว่ามีข้อมูลสำคัญที่ผูกตัวตนของเราเข้ากับข้อมูล Location, Time, Items and price, Payment type

สถาบันการเงินเมื่อได้ข้อมูลเหล่านั้นมาจะทำให้เขารู้จักตัวตนของลูกค้า และรู้จักมากขึ้น ดีขึ้น นั่นก็คือ Know your customers and Know customers better ทั้งนี้สิ่งสำคัญที่เป็นโจทย์ในการแกะรหัสลับในตัวลูกค้าก็คือ

1. Who you are???

2. What you are???

3. What you need???

เวลานี้และต่อๆ ไปในอนาคต นโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ได้พยายามผลักดันการเกิดฐานข้อมูลใหม่ๆเกิดขึ้น พร้อมไปกับการเชื่อมโยงข้อมูล ตลอดรวมถึงการใช้และแบ่งปันข้อมูล มันจะนำไปสู่การให้บริการทางการเงินที่ตอบโจทย์บนต้นทุนที่ลดลง บริการที่ดีขึ้น และผู้คนทุกระดับสามารถเข้าถึงในบริการทางเงินโดยเฉพาะด้านการได้รับสินเชื่อจะดีขึ้นกว่าในปัจจุบันแน่นอนครับ