posttoday

FinTech, IoT และผลกระทบต่อภาคธนาคาร

28 กันยายน 2559

โดย วรวรรณ ธาราภูมิ CEO กองทุนบัวหลวง

โดย วรวรรณ ธาราภูมิ  CEO กองทุนบัวหลวง

ส่วนใหญ่มองว่าจะกระทบหนักที่ Back Office แต่มันไม่ใช่มันจะกระทบ Front ด้วย และจะกระทบหมดทุกส่วน

สินเชื่อ / เงินฝาก : ลูกค้าจะมีทางเลือกอื่นมากขึ้น ลดการพึ่งพาธนาคารและเจ้าหน้าที่และต้องคำนึงถึงคุณภาพสินเชื่อในอนาคตที่ปล่อยกู้ให้ธุรกิจที่จะได้รับผลกระทบหนักจากไอทีและพฤติกรรมผู้บริโภคที่จะเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วด้วย

กองทุน : โปรแกรมช่วยเรื่องการวางแผนลงทุน ระบบที่ช่วยให้เกิดการเข้าถึงการลงทุนได้ง่ายขึ้น และการสื่อสารผ่านช่องทางที่ลูกค้าเข้าถึง เข้าใจได้ง่าย จะเป็นช่องทางทำให้ลูกค้าหันไปลงทุนและส่งคำสั่งซื้อขายผ่าน โดยไม่ต้องยึดติดกับแบงค์แบบที่เป็นอยู่

สาขา (Physical) : ไม่ต้องการสาขา เพราะมีช่องทางอื่นที่เข้าถึงบริการได้ง่ายกว่า ไม่ต้องการห้องซุปเปอร์วีไอพี (รถติดมาก และไม่มีอะไรที่น่าดึงดูดใจที่จะไป) สรุปคือ Waste ชัดๆ ที่ไปสร้าง

การจัดสัมมนา ออกบูธ : คนกรุงเทพฯ เริ่มขี้เกียจไป รถติด หาอ่าน หาฟังได้ในคลิป เบื่อการจัดแบบเดิมๆ จนทำให้หลายรายการต้องอ้อนวอนให้มาฟัง มาดู
ต่างจังหวัดจะยังขยายได้ดีเฉพาะภายใน 3-5 ปีนี้ เพราะยังไปกันไม่มาก  โดยเฉพาะที่ไม่ใช่หัวเมืองใหญ่แบบเดิมๆ ควรเข้าไปจับก่อนคนอื่นจะไปเพราะคนที่จังหวัดอื่นๆ ยังเข้าถึงความรู้ บริการพวกนี้ได้ไม่ง่าย ยังเหมือนฟองน้ำที่ซับน้ำได้มาก

ระบบ Payment / Settlement : กำลังจะเปลี่ยนไป มีพัฒนาการที่ทำได้สะดวกและเชื่อมกันได้ทุกแบงค์ ทุกโบรกเกอร์ ทุกกองทุน ฯลฯ

Open Architecture ในการขายบริการทางการเงินผ่านแบงค์แบบไม่จำกัดเฉพาะ Brand ในเครือ กำลังเกิดขึ้นแล้ว หากแบงค์ใดยังไม่พัฒนาเรื่องนี้รวมไปถึงการ Settlement การบริหาร Cash และงานทะเบียนที่ปิดกั้นเฉพาะต้องผ่านแบงค์ตนเองเท่านั้น แบงค์นั้นและเครือข่ายจะสูญเสียลูกค้าในที่สุด

แบงค์จะทำอย่างไรกับ Trend นี้

- หลายแบงค์ในต่างประเทศ รู้ว่าไปต่อแบบเดิมๆ ไม่ได้แล้ว (และมีแนวโน้มจะลดพนักงานลง เช่น Citi บอกจะลดลงได้ 30%) จึงเข้าซื้อหรือร่วมทุนกับ FinTechไปเลย  แบงค์ไทยบางแห่งก็ทำเช่นเดียวกัน หรืออย่างน้อยก็ตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจเพื่อศึกษาและวางแผนรับมือเรื่องนี้

- แบงค์ต้องเอาจริงกับเรื่องปริมาณสาขา หยุดการขยายและลดสาขาในพื้นที่ที่ไม่มีกำไรเพราะสาขาแบงค์ในปัจจุบันอยู่ในสมาร์ทโฟนแล้วและเร่งพัฒนาไปตาม Trend

- คนที่เคยทำหน้าที่ที่จะถูกไอทีกลืนกิน จะตกงาน เลี่ยงไม่ได้  ทางบรรเทานอกจากทำโครงการร่วมใจจากแล้วก็ควรเลือก “เฉพาะ” คนที่มีคุณภาพ ปรับตัวได้ มาให้การอบรมใหม่เรื่องบริการทางการเงิน การลงทุนอย่างเข้มข้น เพื่อทำให้เขามี Value Added เกินกว่าระบบจะเอื้อได้  อย่างเช่น ให้เรียนรู้วิธีให้คำปรึกษาทางการเงินการลงทุนที่ก้าวหน้ากว่าระบบ
 
- การจัดทำแผนธุรกิจ ต้องเพิ่มแผนการตลาดด้วย IT และ Identify ส่วนที่ไม่สามารถรับไอทีได้มากนัก แล้วมุ่งโฟกัสไปที่ส่วนนี้เฉพาะในช่วง Transition Period เช่น กลุ่มสูงอายุ

- เวลาเป็นศัตรูตัวร้าย อย่ารอช้า