posttoday

BREXIT or BREMAIN

20 มิถุนายน 2559

โดย...บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย

โดย...บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย

กลายเป็นประเด็นที่สร้างผันผวนอย่างรุนแรงต่อตลาดเงินตลาดทุนทั่วโลก กับการทำประชามติของอังกฤษในการตัดสินใจว่าจะอยู่หรือออกจากสหภาพยุโรป EU referendum  โดยหากเกิดกรณีอังกฤษต้องออกจากยูโรโซนจริง (BREXIT) จะสร้างผลกระทบขนาดใหญ่ต่อเศรษฐกิจโลก เนื่องจากกลุ่ม EU นั้นมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก และเศรษฐกิจของอังกษก็มีแนวโน้มแย่ลงไปอีก เงินปอนด์อ่อนค่าลงรุนแรงทำให้ราคานำเข้าสูงขึ้น และผลักดันให้เงินเฟ้อปรับสูงขึ้น และการบริโภคของครัวเรือนที่หดตัว และอาจทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดที่ติดลบในปัจจุบันที่สูงเป็นประวัติการณ์อยู่แล้วนั้น  จะแย่ลงไปอีกหากประเด็น Brexitเกิดขึ้นจริง

สำหรับการค้าระหว่าง UK และ EU นั้นจะเปลี่ยนไป เนื่องจาก UK จะต้องเจรจากับEU กันใหม่ในหลายๆประเด็น ทั้งด้านอัตราภาษีโควต้ามาตรฐานด้านคุณภาพเกณฑ์การท่องเที่ยว โดยการส่งออกทั้งหมดจาก EU ไปยัง UK คิดเป็น 2% ต่อ GDP เฉลี่ยในปี 2553-2557 ทั้งนี้ EU มีระดับการค้าเกินดุลที่ 0.6% ต่อ GDP กับ UK และมีการค้าด้านบริการที่ขาดดุล 0.2% ต่อ GDP โดยกรอบเวลาการออกจากกลุ่ม EU จะอยู่ที่ 2 ปี ซึ่งภายในเวลาดังกล่าวจะมีการเจรจาด้านข้อตกลงทางการค้าใหม่ตัวเลขในอดีตชี้ให้เห็นการเป็นสมาชิกใน EU นั้นเป็นปัจจัยผลักดันสำคัญต่อการลงทุนใน UK โดย EU ถือครองหุ้นมากที่สุดต่อสินทรัพย์ของ UK ในทุกส่วนภาคเศรษฐกิจ โดยการลงคะแนนต่อประเด็น Brexitอาจสร้างความเสี่ยงต่อการปรับตัวลดลงด้านกระแสเงินลงทุนไหลเข้าจากต่างชาติที่จะเข้ามาใน UK อย่างมาก ส่งผลให้มีเงินทุนขาดดุลในปัจจุบัน

โดยผลกระทบจาก Brexitจะมีต่อประเทศไทยจะมีอยู่ 5 ด้านด้วยกัน

1. ประเด็น Brexitคือความกังวลที่อาจส่งผลลบต่อการส่งออกของเอเชีย การค้าโดยตรงของประเทศไทยกับ EU และ UK ที่ผ่านมานั้นส่วนใหญ่จะมีทิศทางขาลง เนื่องจากส่วนแบ่งตลาดของจีนต่อการค้าโลกนั้นปรับสูงขึ้น เมื่อในอดีตการส่งออกของไทยไปยัง EU เคยมีสัดส่วนมากกว่า 16% ต่อการส่งออกทั้งหมด แต่ปัจจุบันได้ปรับลดลงสู่ระดับราวๆ 9.6% อย่างไรก็ตาม สภาพเศรษฐกิจของ EU ในปัจจุบันมีภาพรวมที่ปรับดีขึ้น  จึงเชื่อว่าผลกระทบต่อการส่งออกไทยจะอยู่ในวงจำกัด ขณะเดียวกัน การส่งออกไทยไปยัง UK นั้นเคยมีสัดส่วน 3% ต่อการส่งออกทั้งหมด แต่ปัจจุบันตัวเลขดังกล่าวลดลงสู่ 1.5% ในไตรมาส 1/59 ทำให้ประเด็น Brexitน่าจะมีผลกระทบโดยตรงในวงจำกัดต่อการส่งออกไทย

2. ประเด็นในด้าน FDI EU ถือว่าเป็นตลาดที่มีสัดส่วน FDI ที่มีนัยสำคัญต่อไทย โดยสัดส่วน FDI ของ EU ต่อไทยในปี 2554-58 อยู่ที่ราวๆ 17% ซึ่งเป็นระดับเดียวกับกลุ่มประเทศอาเซียน อย่างไรก็ตามตัวเลข net FDI ของ EU ในปี 2558 นั้นอยู่ในแดนลบ โดยตัวเลข FDI จาก EU นั้นมีความผันผวนอย่างมากในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ในทางตรงกันข้ามสกุลเงินยูโรที่อ่อนค่าลงนั้นอาจนำไปสู่กระแสเงินไหลออกจากประเทศไทยไปสู่ EU สำหรับสัดส่วน FDI ของ UK ต่อไทยนั้นมีสัดส่วนเล็ก ทำให้การปรับลดลงจะไม่มีนัยสำคัญต่อ FDI ของไทย

3. EU และ UK รวมกันคิดเป็นจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ 20% ในประเทศไทย UK คิดเป็นสัดส่วน 25% ต่อรายได้ภาคการท่องเที่ยวจากกลุ่ม EU โดยประเทศไทยยังคงถือว่าเป็นประเทศที่มีความคุ้มค่าในด้านค่าเงิน โดยคาดการณ์ว่าเงินยูโรและปอนด์จะอ่อนค่าลง 15-20% ในกรณีที่แย่ที่สุดนั้นยังเป็นระดับที่น้อยกว่าค่าเงินรัสเซียที่อ่อนค่าลง 70% ซึ่งทำให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียปรับลดลงอย่างมาก

4. ความกังวลต่อประเด็น Brexitอาจส่งผลต่ออุปสงค์ด้านสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง ซึ่งรวมถึงตลาดหุ้นด้วย ด้วยเสถียรภาพของราคาน้ำมันและเศรษฐกิจของตลาดเกิดใหม่ (EM) ที่ปรับดีขึ้นเป็นลำดับ จึงเชื่อว่ากระแสเงินที่ไหลออกจากกลุ่ม EM จะมีระดับที่ไม่รุนแรง

5. ความสัมพันธ์ด้านธุรกิจของประเทศไทยกับ UK จะผ่านช่องทางการส่งออก-นำเข้า, FDI และการท่องเที่ยว ซึ่งทั้งหมดคิดเป็นเพียง 1.7% ต่อ GDP ของไทย อิงข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย (KResearch)โดยสกุลเงินปอนด์นั้นอ่อนค่าลง 7.3% YTD ซึ่งภายใต้กรณีที่แย่ที่สุดที่ EU และ UK ไม่สามารถนำความมั่นใจกลับมาสู่สกุลเงินยูโรและเงินปอนด์ได้ ก็จะทำให้เกิดการอ่อนค่าลง 15-20% ภายในสิ้นปี 2559 อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาล UK สามารถออกมาตรการเพื่อตอบโต้กับการถดถอยของเศรษฐกิจ หลังจากประเด็น Brexitอาจทำให้เงินปอนด์นั้นทรงตัวอยู่ในระดับปัจจุบันที่ 1.414 ปอนด์ต่อเหรียญสหรัฐ โดยภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยจะค่อนข้างจำกัดที่ 0.02-0.04% ต่อ GDP หรือราวๆ 3-5.5 พันลบ. อย่างไรก็ตาม ภายใต้กรณีที่แย่ที่สุดที่ค่าเงินยูโรและเงินปอนด์จะอ่อนค่าลง 20% และผลกระทบต่อ GDP ของไทยจะอยู่ที่ราวๆ 8.9-20 พันลบ. หรือ 0.1-0.2% ต่อ GDP