posttoday

เสน่ห์อาเซียน

16 มีนาคม 2559

โดย วสุ ศรีธิมาสถาพร กองทุนบัวหลวง

โดย วสุ ศรีธิมาสถาพร กองทุนบัวหลวง

ภูมิภาคอาเซียนกลายเป็นที่จับตาในเรื่องการค้า เศรษฐกิจ และการลงทุน ด้วยขนาดเศรษฐกิจที่เมื่อรวมกันแล้วจะมีขนาด GDP รวมกว่า 2.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ใหญ่เป็นอันดับ 7 ของโลก มีจำนวนประชากรกว่า 600 ล้านคนหรือเกือบ 10% ของประชากรทั่วโลก จึงทำให้ไม่สามารถมองข้ามภาพการลงทุนในตลาดอาเซียนไปได้

สำหรับการเติบโตของอาเซียนในอนาคต คาดหมายว่าจะมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยประมาณกว่า 5% ต่อปีในช่วงระหว่างปี 2016-2017 สำหรับประเทศหลัก 5 ประเทศ (ASEAN-5 ประกอบด้วยไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์) และเมื่อพิจารณาสัดส่วนมูลค่าตลาดต่อขนาดเศรษฐกิจ (Market Cap/GDP) ของบางประเทศ อาทิ อินโดนีเซีย พบว่ายังคงมีสัดส่วนที่ต่ำอยู่ (ที่ระดับ 45%) เมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกา (ที่ระดับ 115%) ดังนั้น จึงนับว่ายังมีโอกาสที่จะเติบโตเพิ่มขึ้นได้อีกมาก

ปัจจัยโดดเด่นที่สนับสนุนการเติบโตของอาเซียน ได้แก่

การมีประชากรวัยหนุ่มสาวจำนวนมาก (Young Demographic) กว่าครึ่งหนึ่งของประชากรอาเซียนมีอายุต่ำกว่า 30ปี คนกลุ่มนี้จะเติบโตขึ้นมาเป็นประชากรวัยทำงานในภาคแรงงาน ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยการผลิตที่สำคัญ เศรษฐกิจของประเทศกลุ่มอาเซียนจึงไม่ต้องกังวลเรื่องปัจจัยการผลิตด้านแรงงานเพื่อรองรับกับการผลิตสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้นในอนาคต

วิถีชีวิตเปลี่ยนเป็นสังคมเมือง (Urbanization) มากขึ้น คาดหมายว่าภายในปี 2030 จะมีประชากรอาเซียนประมาณ 93 ล้านคน เข้าสู่สังคมเมือง ทำให้อาเซียนมีประชากรร้อยละ 43 อาศัยอยู่ในสังคมเมือง และเมื่อมีชุมชนเมืองเกิดขึ้นจะทำให้เกิดความต้องการในอุตสาหกรรมตั้งแต่ ปูนซิเมนต์ เหล็ก สิ่งทอ เพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการบริโภค การจ้างงาน และการบริการและการส่งออก การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวยังทำให้มีธุรกิจใหม่ๆ เกิดขึ้น รวมถึงอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจะสามารถเติบโตได้จากการที่มีสาธารณูปโภคพื้นฐานเข้ามารองรับ

การเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลาง คาดว่าชนชั้นกลางในอาเซียนจะเพิ่มขึ้นจากหนึ่งในสี่ของประชากรในปี 2010 เป็นสองในสามของประชากรในปี 2030 ประชากรกลุ่มนี้จะเติบโตเป็นกลุ่มคนที่มีรายได้มากขึ้นและนำไปสู่การอุปโภคบริโภค การจับจ่ายใช้สอยซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจที่ดี โดยเฉพาะในฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียที่เพิ่งจะเข้าสู่ช่วงที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อจำนวนประชากรที่ 3,000 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อคน ซึ่งเป็นระดับที่ทำให้โครงสร้างการบริโภคภายในประเทศมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ประกอบกับการรวมกลุ่มเป็น “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)” ยิ่งช่วยให้ภูมิภาคแห่งนี้กลายเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกที่สำคัญ

ด้วยปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ทำให้อาเซียนมีความโดดเด่น ในแง่การเติบโตทางเศรษฐกิจ เต็มไปด้วยเสน่ห์ทางการค้าและการลงทุน จึงเป็นโอกาสสำหรับการลงทุนใน กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) กองทุนที่คัดเลือกหุ้นลงทุนเป็นรายตัวด้วยการวิเคราะห์รายบริษัท (Bottom-up) ประกอบการการวิเคราะห์ภาพรวมเศรษฐกิจ (Top-Down) ใช้หลักในการบริหารกองทุนด้วยสไตล์ของกองทุนบัวหลวง ที่มีกระบวนการลงทุน (Process) ในการคัดเลือกโดยมุ่งแสวงหากิจการที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีความสามารถทำกำไรชัดเจน และสามารถลงทุนได้ในระยะยาว รวมทั้งจับจังหวะเข้าซื้อขายที่ดี ซึ่งก็คือ Good Stock + Good Trade = Good Performance นั่นเอง

กองทุนมีปรัชญาการลงทุน (Philosophy) ที่เน้นผลตอบแทนในระยะยาวอย่างสม่ำเสมอ ลงทุนอย่างรอบคอบ ไม่เสี่ยงมากจนเกินควร และมีบุคลากร (People) ที่ทำงานกันเป็นทีมเวิร์ค จัดสรรบุคคลากรที่สนใจและชำนาญตามชนิดของหลักทรัพย์หรือตราสารที่จะลงทุน โดยกองทุน B-ASEAN ได้แบ่งนักวิเคราะห์รับผิดชอบเป็นรายประเทศ ทีมดังกล่าวได้ศึกษา ค้นหา ติดตามข้อมูลหุ้นของบริษัทต่างๆ ในกลุ่มประเทศอาเซียนอย่างรู้ลึกรู้จริง

กองทุนจะเปิดเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ระหว่างวันที่ 23-29 มีนาคม 2559 นี้ ด้วยมูลค่าซื้อขั้นต่ำของการเปิดบัญชีครั้งแรกและซื้อครั้งถัดไปที่ 500 บาท
สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สาขาธนาคารกรุงเทพ ตัวแทนขายหน่วยลงทุนกองทุนกรุงเทพประกันชีวิต หลักทรัพย์บัวหลวง และหลักทรัพย์โนมูระ พัฒนสิน

•การลงทุนมิใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวนเมื่อไถ่ถอน (ไม่คุ้มครองเงินต้น)
•ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ข้อมูลสำคัญ นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงาน ก่อนตัดสินใจลงทุน
•กองทุนที่มีการลงทุนในต่างประเทศมิได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด ทั้งนี้อยู่ในดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน ดังนั้น ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในกองทุนดังกล่าวหรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้