posttoday

ก้าวต่อมาของ เจมส์ บรันท์

01 มีนาคม 2554

หนุ่มอังกฤษวัย 36 ปี เกิดและเติบโตในครอบครัวทหาร เรียนมหาวิทยาลัยที่บริสตอลด้วยทุนของกองทัพ ก่อนจะเข้าฝึกที่โรงเรียนนายร้อยแซนด์เฮิร์สต์  

หนุ่มอังกฤษวัย 36 ปี เกิดและเติบโตในครอบครัวทหาร เรียนมหาวิทยาลัยที่บริสตอลด้วยทุนของกองทัพ ก่อนจะเข้าฝึกที่โรงเรียนนายร้อยแซนด์เฮิร์สต์  

เรื่อง เพ็ญแข

ก้าวต่อมาของ เจมส์ บรันท์

หนุ่มอังกฤษวัย 36 ปี เกิดและเติบโตในครอบครัวทหาร เรียนมหาวิทยาลัยที่บริสตอลด้วยทุนของกองทัพ ก่อนจะเข้าฝึกที่โรงเรียนนายร้อยแซนด์เฮิร์สต์ จากนั้นก็ถึงเวลาชดใช้ทุนด้วยการทำงานในกองทัพ แล้วจึงถูกส่งไปประจำการที่โคโซโว และลาออกจากกองทัพในปี 2002 หลังเป็นทหารมาได้ 6 ปี และเพิ่งจะถูกปรับยศเป็นร้อยเอก

สลัดความเป็นนักรบทิ้งแล้ว เจมส์ บรันท์ ก็หันมาทำสิ่งที่รัก นั่นคือ ดนตรี เขาเรียนเปียโนและไวโอลินมาตั้งแต่เด็ก ก่อนจะได้รู้จักดนตรีป็อปและกีตาร์เมื่อตอนเรียนอยู่ที่โรงเรียนไฮโซอย่าง แฮร์โรว์ ทั้งยังเรียนจบปริญญาด้วยวิทยานิพนธ์หัวข้อเกี่ยวกับ “ป็อปไอดอล”

อัลบั้มแรกของ เจมส์ บรันท์ Back to Bedlamออกวางขายในปี 2004 แรกๆ นั้นได้รับความสนใจจากนักวิจารณ์ในอังกฤฤษน้อยมาก แต่บทเพลงของเขากับโดนใจคนฟังในหลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะเพลง You're Beautiful (กลายเป็นเพลงประจำงานแต่ง) และ Goodbye My Lover นอกจากเพลงรักโดนใจแล้ว งานในอัลบั้มนี้แทรกด้วยสัญลักษณ์และภาพอันหม่นหมอง จึงทำให้ผู้ชายคนนี้น่าสนใจยิ่งขึ้น งานชุดนี้ขายได้มากกว่า 15 ล้านแผ่นทั่วโลก นับเป็นอัลบั้มจากอังกฤษที่ขายได้มากที่สุดในทศวรรษหลังสุด

ก้าวต่อมาของ เจมส์ บรันท์

ต่อมา เจมส์ ก็ย้ายไปอยู่ที่ อิบิซา ประเทศสเปน และทำอัลบั้มที่ 2 All the Lost Souls สำเร็จที่นั่น ก่อนจะวางขายในปี 2007 คราวนี้นักวิจารณ์จากทุกค่ายใหญ่ก็ไม่อาจจะเมินเฉย แต่เสียงตอบรับนั้นก็มีทั้งบวกและลบ แม้จะขายได้ไม่มากเท่ากับชุดแรก แต่ยอดขายอัลบั้มนี้ก็เรียกว่า ดี

เมื่อเริ่มทำอัลบั้มชุดที่ 3 Some Kind of Trouble เจมส์ บรันท์ สารภาพผ่านบทสัมภาษณ์ว่า เขาไม่รู้ว่า ควรจะเดินไปในทิศทางไหน รู้เพียงแต่ว่า ไม่ต้องการเดินซ้ำรอยของตัวเอง

อัลบั้มนี้เขาทำร่วมกับ สตีฟ ร็อบสัน โปรดิวเซอร์และนักแต่งเพลงชาวอังกฤษ อารมณ์เพลงค่อนข้างจะผ่อนคลายกว่าเก่า เพลงเปิดอัลบั้ม Stay the Night ที่หลายๆ คนรู้จัก เป็นเพลงอะคูสติคจังหวะคึกๆ เป็นเพลงเบาสบายกว่าทั้งหมดที่เขาเคยนำเสนอออกมา ทั้งยังมีเมโลดี้ติดหู เนื้อหาสวยงาม และกีตาร์ไพเราะ เป็นงานที่เหมาะสำหรับการแนะนำมุมใหม่ๆ ของศิลปินหนุ่มผู้นี้

เพลงอย่าง Dangerous ก็ทำให้คนสนใจไม่ยาก แต่อยากจะฟังบ่อยๆ ไหมก็เป็นคนละเรื่อง อารมณ์เพลงแห่งทศวรรษ 1980 นั้นปรากฏอยู่ในบางเพลงเช่น Superstar รวมถึงเพลงบัลลาดงามงามอย่าง These Are The Words

ความโดดเด่นในงานของ เจมส์ ยังคงเป็นเพลงบัลลาดอันเนิบช้านุ่มนวล เสียงกีตาร์ของเขามีเปียโนมาเป็นเพื่อน เสียงร้องประสานมีมากขึ้น อาจจะดูตื้นเขิน ไม่มีวิญญาณ หรือมีมุมเย้ยเยาะถากถางแปลกๆ เสียงร้องของเขายังคงเหมือนเดิม เพียงแต่เพลงที่ร้องต่างไปเท่านั้น

ถ้าจะให้เขาเขียนเพลงแบบเดิมๆ เจมส์ ก็บอกว่า คงจะเป็นเรื่องยากเพราะว่า ชีวิตของเขาเปลี่ยนไปแล้ว เมื่อก่อนเขาเขียนถึงตัวเองและเรื่องราวของตัวเองที่เป็นชายหนุ่มธรรมดาๆ ตอนนี้เขาเป็นซูเปอร์สตาร์ ร่ำรวย มีวิลลาในอิบิซา ไปปาร์ตี้ชนไหล่กับซูเปอร์โมเดล ฯลฯ บทเพลงเหล่านี้คือ ผลผลิตของเขา ณ วันนี้ที่เป็นอยู่ เพราะฉะนั้นถ้าไม่ชอบก็ทำได้อย่างเดียวคือ … ไม่ฟัง

อัลบั้มนี้ไม่ได้เป็นงานยอดแย่ แต่คนฟังก็ได้สัมผัสกับ เจมส์ บรันท์ ในมุมที่เบาหวิวและตื้นเขิน ทั้งไม่ได้บ่งบอกถึงก้าวที่แตกต่างและเติบโตมากมายนัก นี่อาจจะเป็นทิศทางซึ่งเหมาะกับเขาที่สุดก็ได้ เพราะในเมื่อเขาถนัดแต่งเพลงรักก็ทำเพลงรักไป ถนัดดนตรีงดงามและเนียนละไมก็ทำไป และเขาก็คงห้ามไม่ได้ที่ใครหลายคนจะรู้สึก “ผิดหวัง” กับงานชุดนี้

ก้าวต่อมาของ เจมส์ บรันท์

อัลบั้ม Some Kind of Trouble

ศิลปิน James Blunt

สังกัด Custard/Atlantic/Warmner

แนวทาง Pop/Rock

คุณภาพ * * *

เพลงเด่น Stay the Night

Dangerous