posttoday

นักวิชาการเผยเหตุละครเรื่อง "ล่า" คือตัวอย่างไม่ดีในการนำเสนอกระบวนการยุติธรรม

20 ธันวาคม 2560

อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำเสนอกระบวนการยุติธรรมผิด ทำร้ายสังคมและกระทบเหยื่อข่มขืน

อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำเสนอกระบวนการยุติธรรมผิด ทำร้ายสังคมและกระทบเหยื่อข่มขืน

กรณีละครเรื่องล่า 2017 ของช่อง One31 ที่มีการสะท้อนปัญหาเรื่องอาชญากรรม คดีข่มขืน รวมถึงปัญหาเรื่องกระบวนการยุติธรรมของไทย 

ล่าสุด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รณกรณ์ บุญมี อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แสดงความคิดเห็นผ่านเฟซบุ๊ก Ronnakorn Bunmee เกี่ยวกับประเด็นการนำเสนอแง่มุมในกระบวนการยุติธรรมในละครเรื่อง "ล่า" ดังนี้...

ละครที่ทำแล้วทำร้ายสังคมนี้จะสร้างมาทำไม จะมีเหยื่อความผิดทางเพศในอนาคตอีกกี่คนที่ไม่กล้าไปฟ้องคดีเพราะคิดว่าจะโดนแบบนี้

คือรู้ล่ะนะว่าเป็นเรื่อง “ล่า” ที่จะขายความรุนแรงจากการไล่ล่าฆ่า เลยต้องทำให้ผลทางกฎหมายไม่เป็นที่พอใจของเหยื่อจนต้องออกมาไล่ฆ่าเอง ซึ่งปมนี้ก็น่าสนใจ แต่ฉากในห้องพิจารณาคดีจะทำให้มันถูกต้องไม่ได้หรือไง

ตอนแรกก็ไม่คิดจะดูเรื่อง”ล่า” นะ แต่มีเพื่อนคนหนึ่งถามว่าการพิจารณาคดีมันเป็นแบบนี้จริงไหม ประกอบกับจ่าพิชิต แห่ง drama addict โฆษณาว่ามีอัยการ/ทนายความเข้าไปช่วยดูแลการเขียนบท ก็เลยไปดูฉากพิจารณาคดีว่าเป็นยังไง

ดูแล้วก็โอนะ โอ้โหคดีพิจารณาปีไหนเนี่ย โอ้โหนี้อัยการ/ทนายความให้คำปรึกษาแล้วจริงๆเหรอ (วะ) เนี่ย

คือคดีข่มขืนนี้มันก็ยากด้วยตัวมันเองอยู่แล้ว สถิติการฟ้องคดี การชนะคดีมันยากอยู่แล้ว โดยไม่ต้องเอาข้ออ้างอย่างการที่ผู้เสียหายจำหน้าและชื่อจำเลยไม่ได้มาเป็นสาเหตุยกฟ้อง และบรรยากาศการพิจารณาคดีที่เลวร้ายมาทำให้มันยิ่งแย่ไปกว่าที่มันเป็นหรอก

นี้เป็นการเขียนโพสต์ที่หงุดหงิดและเรียงลำดับอย่างสับสนมาก จะพยายามเอาเป็นทีละประเด็นละกัน

นักวิชาการเผยเหตุละครเรื่อง "ล่า" คือตัวอย่างไม่ดีในการนำเสนอกระบวนการยุติธรรม

 

1. ตั้งแต่ปี 2551 เรามีมาตรา 172 วรรค 3 ที่กำหนดให้ศาลสามารถเลือกที่จะไม่ให้จำเลยกับผู้เสียหายเผชิญหน้า เมื่อพิเคราะห์ถึงสภาพจิตใจ เพศ และความหวาดกลัว (ที่ชัดเจนมาก) ที่ผู้เสียหายมีต่อจำเลย โดยใช้การถามผ่านกล้องวงจรปิดแทน และถ้าทนายความถามด้วยคำถามแบบนี้ในเรื่อง sensitive อย่างการถูกรุมโทรม กฎหมายก็สามารถให้ถามผ่านนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ได้

นี้อะไรให้ทนายถามตรง เผชิญหน้ากับจำเลยตรง แถมมีฉากที่จำเลยยิ้มเยาะเย้ยอีก คนทำละครต้องการอะไรเหรอ คือผมไม่มีปัญหาถ้าจะทำเหมือนกระบวนการยุติธรรมเป็นเรื่องตลก แต่ผลข้างเคียงก็คือคุณอาจกำลังทำให้ผู้เสียหายทางเพศ หรือคนที่จะเป็นผู้เสียหายทางเพศในอนาคตไม่กล้ามาฟ้องคดีเพราะกลัวว่าจะเจออะไรแบบนี้ แล้วถ้าเค้าไม่กล้าเพราะฉากนี้มันติดตา อยากให้รู้ไว้ว่าคุณคือคนที่ควรถูกประณาม

2. ถ้ามันเป็นคดีสัก 10-20 ปีก่อนก็เข้าใจ แต่ปัจจุบันมันมีนิติวิทยาศาสตร์ และละครก็พูดถึงว่ามีดีเอนเอของจำเลยที่ 1 อยู่ที่เล็บผู้เสียหายแล้ว ทำไมไม่พูดต่อไปว่าเจอสารคัดหลั่ง (น้ำเชื้อ) ของจำเลยที่ 1-7 ในตัวผู้เสียหาย เพราะสารพวกนี้อยู่ในตัวผู้เสียหายได้ถึง 10 วัน (ในช่องคลอดนานกว่านั้นอีก) แล้วผู้เสียหายทั้งสองหลังเกิดเหตุก็ไปโรงพยาบาลไม่ได้รอเนิ่นนาน และการล้างทำความสะอาดก็ไม่สามารถล้างสารคัดหลั่งออกได้หมด ส่วนฝนมันล้างดีเอนเอในตัวไม่ได้

กรณีแม่ไม่เท่าไหร่อาจสู้ว่ายอมเอง (จริงๆถ้าตรวจโดยแพทย์ก็จะบอกความแตกต่างได้) แต่ลูกที่อายุต่ำกว่า 15 ถ้ามีสารคัดหลั่งของจำเลยที่ 4-7 อยู่ยังไงก็ผิด 100% ทำไมไม่พูดถึงประเด็นนี้

3. ยกฟ้องด้วยสาเหตุจำชื่อจำเลยไม่ได้....ไม่มีอะไรจะพูดล่ะ เหนื่อยเกิน

ถ้าจะเป็นละครก็เป็นไป แต่อย่ามาโฆษณาว่าเขียนบทโดยปรึกษาอัยการ/ทนายความแล้วเลย เพราะมันยิ่งทำให้คนดูถูกหลอกว่าเหตุการณ์ในละครมันน่าเชื่อถือ ลาที่นำเสนอตัวเป็นลามันไม่น่ากลัวเท่ากับลาที่หลอกคนอื่นว่าเป็นเสือหรอก

ผมพูดกับนักศึกษา JC/นิเทศ ทุกครั้งที่มีโอกาสว่าอาจารย์มหาลัยนี้กระจอกมากเมื่อเทียบกับพวกคุณ เพราะพวกเราสอนคนแค่ไม่กี่คน และส่วนใหญ่ก็ได้แค่ 4 ปี แต่สื่อสารมวลชนนี้คือครูของคนทั้งสังคมและเป็นครูทั้งชีวิต สื่อคือครูที่สังคมเชื่อมากที่สุด

ดังนั้นเมื่อคุณมีอำนาจมากขนาดนี้ขอให้คิดดีๆก่อนนำเสนอ เพราะสิ่งที่คุณนำเสนอแมร่งจะกระทบชีวิตคนอื่นแน่นอน ละครเรื่อง “ล่า” คือตัวอย่างที่ไม่ดี (ในแง่การนำเสนอกระบวนการยุติธรรม) ที่ควรเอามาเป็นบทเรียน

 

นักวิชาการเผยเหตุละครเรื่อง "ล่า" คือตัวอย่างไม่ดีในการนำเสนอกระบวนการยุติธรรม

ภาพจาก Instagram one31thailand, เฟซบุ๊ก Ronnakorn Bunmee