posttoday

เกษียณสุข vs เกษียณทุกข์

25 สิงหาคม 2556

ยังคงอยู่ในโหมดเรื่องเงินๆ ทองๆ ของวัยเกษียณ แม้ว่า 23 สัปดาห์ที่ผ่านมาน่าจะพอทำให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นแล้วว่า “ชีวิตหลังเกษียณ” ไม่ใช่เรื่องง่าย

ยังคงอยู่ในโหมดเรื่องเงินๆ ทองๆ ของวัยเกษียณ แม้ว่า 23 สัปดาห์ที่ผ่านมาน่าจะพอทำให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นแล้วว่า “ชีวิตหลังเกษียณ” ไม่ใช่เรื่องง่าย ถ้าไม่ได้เตรียมตัวให้ดีตั้งแต่ก่อนจะถึงวัยเกษียณ เพราะมันอาจจะทำให้ชีวิตที่เหลือเป็น “เรื่องสลด” เพราะใช้เงินหมดตั้งแต่ยังไม่ตาย

และเรื่องสลดนี้ยืนยันได้จากงานวิจัยของ ปฐมาภรณ์ นิธิชัย ที่สำรวจทัศนคติและพฤติกรรมการลงทุนของแรงงานในช่วงอายุ 4060 ปี ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยได้ข้อสรุปออกมาเป็น “การวิเคราะห์พอร์ตการลงทุนของมนุษย์เงินเดือนวัยก่อนเกษียณกับการเพิ่มโอกาสเกษียณสุข”

ในงานวิจัยนี้ ช่วยทำให้เห็นรูปร่างหน้าตาของคนที่คาดว่าจะมีเงินออมเพียงพอสำหรับวัยเกษียณ หรือเรียกว่า “เกษียณสุข” และคนที่คาดว่าจะมีเงินออมไม่เพียงพอสำหรับวัยเกษียณ หรือเรียกว่า “เกษียณทุกข์” ว่าพวกเขาเป็นใคร มีลักษณะอย่างไร และที่สำคัญ คือ มีโครงสร้างพอร์ตลงทุนแบบไหน

แต่ก่อนจะไปทำความรู้จักพวกเขาทั้งสองกลุ่ม ต้องบอกกันก่อนว่า คนวัย 4060 ปี ในงานวิจัยชิ้นนี้ค่อนข้างมีรายได้ดี อยู่ในองค์กรขนาดใหญ่ โดยมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 45,225 บาท ขณะที่มีค่าใช้จ่ายต่อเดือนอยู่ที่ 28,413 บาท หรือ 63% ของรายได้

นอกจากนี้ 53% ของกลุ่มตัวอย่างนี้ ไม่มีภาระหนี้ และถึงจะมีภาระหนี้ส่วนใหญ่ก็มีภาระการผ่อนชำระน้อยกว่า 20% ของรายได้

แต่ไม่น่าเชื่อว่า 60% ของคนกลุ่มนี้จะมีมูลค่าพอร์ตลงทุนต่ำกว่า 1 ล้านบาท และ 84% ยังยอมรับว่า มีความเข้าใจเรื่องการวางแผนการเงินน้อยถึงปานกลาง ทั้งๆ ที่ส่วนใหญ่เรียนมาในสายธุรกิจและเศรษฐศาสตร์

เกษียณสุข

ก่อนจะไปทำความรู้จักกับคนที่จะ “เศร้า” เพราะตายแล้วยังใช้เงินออมไม่หมด ต้องมาดูก่อนว่า “เกษียณสุข” ตามสมมติฐานของ ปฐมาภรณ์ คือ คนที่มีเงินออม ณ วันเกษียณ มากกว่า เงินที่ต้องการหลังเกษียณ

โดย เงินออม ณ วันเกษียณ คำนวณจากพอร์ตลงทุนในปัจจุบัน ที่มีการออมเพิ่มทุกปีอย่างสม่ำเสมอ ตามรายได้ที่เพิ่มขึ้นปีละ 7% โดยได้ผลตอบแทนจากการลงทุนปีละ 5%

ขณะที่ เงินที่ต้องการหลังเกษียณ เท่ากับ 70% ของค่าใช้จ่ายปัจจุบัน ที่ปรับด้วยเงินเฟ้อปีละ 3% และนำเงินไปลงุทนได้ผลตอบแทนปีละ 3%

เมื่อคำนวณตามสมมติฐานนี้แล้ว จะมีคนเกษียณสุขอยู่ 61%

เพราะเงินออมของคนกลุ่มนี้จะหมดในปีที่ 30 หลังจากเกษียณอายุ โดยมีอยู่ 64% ที่มีเงินสำรองที่เหลือจากประมาณการค่าใช้จ่ายตั้งแต่ 210 ล้านบาท และอีก 36% มีเงินสำรองน้อยกว่า 2 ล้านบาท

คนอายุระหว่าง 4045 ปี จะมีโอกาสเกษียณสุขมากที่สุด เพราะคนกลุ่มนี้นับว่า “อายุยังน้อย” ยังมีเวลาออมอีกหลายปี และที่สำคัญ คือ พวกเขาเริ่มออมเงินเพื่อวัยเกษียณตั้งแต่อายุ 34 ปี เร็วกว่าคนวัย 5160 ปี ที่เริ่มต้นออมเมื่ออายุล่วงเลยเข้าสู่หลัก 4 ไปแล้ว

คนที่มีการศึกษาสูงกว่า มีโอกาสเกษียณสุขมากกว่า โดยคนที่จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีจะเกษียณสุขได้ถึง 71% ใกล้เคียงกับคนที่รับราชการ ที่จะเกษียณสุขถึง 73% เพราะข้าราชการจะ “ถูกบังคับออม” ในกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ทำให้มีเงินออมก้อนโตเมื่อถึงวันเกษียณ

นอกจากนี้ ปัจจัยที่ทำให้เกษียณสุข คือ ค่าใช้จ่าย เพราะคนเกษียณสุขจะมีรายจ่ายต่อเดือนต่ำกว่าคนเกษียณทุกข์อยู่ถึง 30% (ซึ่ง ปฐมาภรณ์ บอกว่า ส่วนหนึ่งที่ทำให้คนเกษียณทุกข์มีค่าใช้จ่ายมากกว่า คือ มีจำนวนคนที่อยู่ในอุปการะมากกว่า) ในขณะที่มีรายได้มากกว่าเพียงแค่ 9% เท่านั้น และเมื่อค่าใช้จ่ายน้อย จึงมีอัตรการออมได้ถึง 22%

เพราะฉะนั้น จึงพอจะสรุปได้ว่า คนอายุ 4045 ปี ที่มีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี รับราชการ และมีค่าใช้จ่ายน้อย มีโอกาสที่จะ “เกษียณสุข” มากกว่า “เกษียณทุกข์”

เมื่อมาดู “มูลค่าพอร์ตลงทุน” (ไม่รวมอสังหาริมทรัพย์เพื่ออยู่อาศัยและรถยนต์) ของคนเกษียณสุข พบว่า มูลค่าพอร์ตในปัจจุบันจะเฉลี่ยอยู่ที่ 2.5 ล้านบาท

ขณะที่โครงสร้างพอร์ตลงทุนส่วนใหญ่จะอยู่ในเงินฝาก 23% และอสังหาริมทรัพย์ให้เช่า 23% โดยมีการลงทุนในหุ้น 5% และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) อีก 2%

และเมื่อคำนวณตามสมมติฐานของปฐมาภรณ์ มูลค่าพอร์ตโดยเฉลี่ยจะเพิ่มเป็น 10 ล้านบาท เมื่อถึงวันเกษียณ ขณะที่มีคนเกษียณสุขถึง 20% ที่มีเงินออม ณ วันเกษียณมากกว่า 15 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ ที่ปรึกษาสมาคมนักวางแผนทางการเงินไทย บอกว่า สมมติฐานเรื่องอัตราผลตอบแทนในช่วงก่อนเกษียณที่ตั้งไว้ 5% ต่อปี อาจจะ “มองโลกในแง่ดีเกินไปหน่อย”

เพราะเมื่อนำโครงสร้างพอร์ตของคนเกษียณสุขมาแบ่งตามประเภทสินทรัพย์ที่ลงทุนจะพบว่า มีสัดส่วนลงทุนในหุ้นรวมกันเพียง 9% ในขณะที่มีสัดส่วนของเงินฝาก พันธบัตร และตราสารหนี้ รวมกันมากถึง 60%

พอร์ตลงทุนที่เน้นหนักไปที่เงินฝากและตราสารหนี้น่าจะทำให้ได้รับผลตอบแทนไม่ถึง 5% ต่อปี และหากเป็นเช่นนั้น จำนวนคนที่ “เกษียณสุข” จะมีไม่ถึง 60% แน่ๆ

เกษียณทุกข์

แม้ว่า อาจจะมีคนจำนวนหนึ่งในกลุ่มเกษียณสุขอาจจะตกลงมาอยู่ในกลุ่มเกษียณทุกข์ ถ้าได้ผลตอบแทนจากการลงทุนต่ำกว่า 5% ตามที่ วิวรรณ ประเมิน แต่ที่แน่ๆ คือ งานวิจัยนี้พบว่า 39% ของกลุ่มตัวอย่างจะ “เกษียณทุกข์” อย่างแน่นอน เพราะมีเงินออมไม่เพียงพอสำหรับวัยเกษียณ

คนในกลุ่มเกษียณทุกข์จะ “สลด” เพราะใช้เงินออมหมดตั้งแต่ปีที่ 9 หลังจากการเกษียณ ทั้งๆ ที่พวกเขาจะต้องมีชีวิตหลังเกษียณนานถึง 20 ปี นั่นเท่ากับว่า เงินที่พวกเขาออมมาทั้งชีวิตพอใช้เพียงแค่ “ครึ่งเดียวของชีวิตหลังเกษียณ”

โดยในจำนวนคนเกษียณทุกข์ทั้งหมดนี้จะมี 16% ที่เงินหมดภายใน 2 ปีนับจากวันเกษียณ ขณะที่อีก 22% เงินจะหมดภายใน 25 ปี และส่วนใหญ่ หรือ 35% เงินจะหมดในปีที่ 510 และอีก 27% จะใช้มีเงินใช้ไปได้มากกว่า 10 ปี

ถ้าคิดว่า ตัวเลขนี้น่าตกใจแล้ว ผลการวิจัยนี้ยังพบสิ่งที่น่าตกใจยิ่งกว่า นั่นคือ 29% ของคนที่อยู่ในกลุ่มเกษียณทุกข์ไม่รู้ตัวเลยว่า เงินออมที่พวกเขามีอยู่จะไม่เพียงพอสำหรับวัยเกษียณ

กลุ่มที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด คือ คนอายุ 5660 ปี ที่มีถึง 51% ที่เข้าข่าย “เกษียณทุกข์” เพราะมีเงินออมไม่เพียงพอ และในจำนวนนี้มีมากถึง 57% ที่เป็นการเกษียณทุกข์แบบไม่รู้ตัว เพราะพวกเขาคิดว่า เงินออมที่มีอยู่เพียงพอสำหรับชีวิตเกษียณแล้ว

คนอีกกลุ่มที่น่าห่วง คือ คนที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี เพราะมีอยู่ 49% ที่จะกลายเป็นคนเกษียณทุกข์ โดยในจำนวนนี้จะมีอยู่ 40% ที่เกษียณทุกข์โดยไม่รู้ตัว

แม้ว่า คนเกษียณทุกข์ จะมีรายได้เฉลี่ย 41,997 บาท ซึ่งไม่ได้แตกต่างจากคนเกษียณสุขมากนัก แต่คนเกษียณสุข มีเงินเหลือ (รายได้รายจ่าย) เดือนละ 20,886 บาท แต่คนเกษียณทุกข์มีรายได้เหลือเพียงเดือนละ 9,159 บาท และมีอัตราการออมเพียง 13%

นอกจากนี้ คนเกษียณทุกข์ จำนวน 12% ยังมีภาระผ่อนชำระหนี้ต่อเดือนมากกว่า 40% ของรายได้ ซึ่ง วิวรรณ บอกว่า หากมีภาระการผ่อนชำระหนี้เกิน 35% ของรายได้จะถือว่า “เข้าเขตอันตราย” แต่หากเกิน 50% ของรายได้จะเรียกว่า “วิกฤต” เพราะมีภาระหนี้มาเกินไป

เมื่อมาดูที่พอร์ตลงทุนในปัจจุบัน จะเห็นว่า คนเกษียณทุกข์ มีมูลค่าพอร์ตเพียง 8 แสนบาทเท่านั้น โดยอยู่ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กบข. 33% (กองทุนประเภทนี้ส่วนใหญ่จะให้น้ำหนักลงทุนในตราสารหนี้ประมาณ 85%) และอีก 16% อยู่ในประกันชีวิต

เพราะฉะนั้นเมื่อนำมาแบ่งเป็นประเภทสินทรัพย์ที่ลงทุนจะเท่ากับว่า 76% ของพอร์ตอยู่ในรูปเงินฝาก พันธบัตร และตราสารหนี้ รวมกันถึง และมีหุ้นอยู่เพียง 6% เท่านั้น

เมื่อจำนวนเงินออมไม่มาก บวกกับการลงทุนที่มีโอกาสได้ผลตอบแทนน้อย ทำให้เมื่อถึงวันเกษียณ คนกลุ่มนี้จะมีเงินออมเฉลี่ย 3.3 ล้านบาท ซึ่งยังไม่เพียงพอสำหรับชีวิตหลังเกษียณ (โดย 65% มีเงินน้อยกว่า 3 ล้านบาท)

อย่างที่บอกไว้ตั้งแต่ต้นว่า กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้มีรายได้ค่อนข้างสูง ทำงานในองค์กรที่มีการสนับสนุนด้านการออมเพื่อวัยเกษียณ และเรียนมาทางด้านธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ พวกเขายังตกอยู่ในสถานการณ์น่าเป็นห่วงแบบนี้

แล้วคนที่รายได้น้อยกว่านี้ มีเงินออมน้อยกว่านี้ ทำงานในบริษัทเล็กๆ หรือไม่ได้อยู่ในสายงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเงินๆ ทองๆ ชีวิตหลังเกษียณของพวกเขาจะเป็นอย่างไร?