posttoday

SAP ชี้เทรนด์เอสเอ็มอี เร่งปรับกระบวนการทำงานยุคดิจิทัล รับมือผู้บริโภคเจนใหม่ หลังโควิดคลี่คลาย

20 พฤศจิกายน 2564

SAP มอง 3 กลยุทธ์หลักหนุนเอสเอ็มอีไทย เปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่ดิจิทัล รับอนาคตพฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยนหลังโควิด ใช้ชีวิตบนโมบายล์ แอปฯ มากขึ้น

SAP ชี้เทรนด์เอสเอ็มอี เร่งปรับกระบวนการทำงานยุคดิจิทัล รับมือผู้บริโภคเจนใหม่ หลังโควิดคลี่คลาย

นายนพดล เจริญทอง ผู้อำนวยการธุรกิจทั่วไปสำหรับประเทศไทยและตลาดเกิดใหม่ เอสเอพี อินโดไชน่า บริษัท เอสเอพี (ประเทศไทย) จำกัด หรือ SAP ผู้ให้บริการโซลูชันซอฟต์แวร์ระดับองค์กร เปิดเผยว่า SAP ดำเนินกิจการระดับโลกมากว่า 50ปี และอยู่ในตลาดประเทศไทยเข้าสู่ปีที่ 26 เปิดเผยว่า SAP ปรับแนวทางการให้บริการธุรกิจมุ่งสู่กลุ่มลูกค้าระดับองค์กร ธุรกิจเอสเอ็มอี มากขึ้น

โดย SAP มองเห็นโอกาสการเติบโตทางธุรกิจร่วมกันอย่างยั่งยืน เพื่อรองรับอนาคตเศรษฐกจดิจิทัล ที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลง (Transform) การดำเนินธุรกิจทุกภาคส่วนตลอดซัพพลายเชน ให้ทำงานร่วมกันอย่างราบรื่น จากโซลูชัน แอปพลิเคชัน ที่เหมาะสมในแต่ละองค์กร ธุรกิจ ร่วมในการบริหารจัดการ หรือ การตัดสินใจบนพื้นฐานข้อมูล (DATA) การนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้ในการวิเคราะห์ประมวลผล

"ในช่วงที่ผ่านมาธุรกิจเอสเอ็มอีกลุ่มต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงในไทย เริ่มนำดิจิทัล ไอที มาใช้ขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเชิงรุกมากขึ้น โดยเฉพาะการใช้คลาวด์ เพื่อเชื่อมต่อการทำงานได้ในทุกที่ ทุกเวลา เพื่อเข้ามาย่นระยะเวลาในการทำงานได้มากขึ้น โดยไม่ต้องกังวลระบบหลังบ้าน และหันไปโฟกัสธุรกิจของตัวเองได้มากขึ้น สอดคล้องกับทั่วโลกพบว่าตลาดคลาวด์ โซลูชัน เน็ทเวิร์ค มีมูลค่ากว่า 523 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เติบโตราว 20%" นายนพดล กล่าว 

จากแนวโน้มดังกล่าว บริษัทวางแนวทางการทำตลาดเชิงรุกในกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอี ในตลาดประเทศไทย และ อินโดไชนา ผ่านผลิตภัณฑ์โซลูชันที่ครอบคลุมแต่ละความต้องการของกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอี ในเบื้องต้นประกอบด้วย RISE with SAP บริการช่วยปรับปรุงธุรกิจสู่การเป็นอินเทลลิเจนท์ เอ็นเตอร์ไพรซ์ รองรับการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันให้กับลูกค้าในทุกขั้นตอน ผ่านการทำงานร่วมกับเครือข่ายพาร์ทเนอร์เอสเอพี โดยไม่ต้องลงทุนล่วงหน้าในอัตราสูง ผ่านรูปแบบระบบ subscription หรือ การสมัครสมาชิก

โดยมีระบบกลางที่บริหารข้อตกลงระดับการให้บริการ (service-level agreement) พร้อมนำเสนอแนวทางการเปลี่ยนแปลงธุรกิจ ประกอบด้วย การออกแบบกระบวนการทางธุรกิจรูปแบบใหม่ ระบบ Business Process Intelligence พัฒนาขึ้นจากโมเดลธุรกิจและความเชี่ยวชาญด้านกระบวนการของเอสเอพี ที่ทำงานร่วมกับลูกค้ากว่า 400,000 รายใน 25 อุตสาหกรรม ให้ลูกค้าสามารถวิเคราะห์ประสิทธิภาพการขับเคลื่อนธุรกิจของตนได้อย่างต่อเนื่อง เป็นต้น รวมถึงการย้ายฐานข้อมูลทางเทคนิคอย่างไร้รอยต่อ เพื่อสร้างความคล่องตัวทางธุรกิจ โดยไม่จำเป็นต้องกรอกข้อมูลเพิ่มเติมและล็อกอินระบบ

นอกจากนี้ยังมีโซลูชั่น SAP Business Technology Platform มาพร้อม Semantic layer เพื่อช่วยดูแลฐานข้อมูลศูนย์กลาง ให้เป็นระเบียบและเอื้อให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลได้สะดวกขึ้น ซึ่งรองรับการเพิ่มขยายและควบรวมระบบเข้ากับโซลูชันของ เอสเอพี, พาร์ทเนอร์และโซลูชั่นของผู้ให้บริการอื่นๆ ซึ่งใช้โมเดลข้อมูลและบริการทางธุรกิจเดียวกันกับแอปพลิเคชันของ เอสเอพี

ขณะที่ โซลูชัน SAP S/4HANA® Cloud มาพร้อมระบบ AI, โซลูชัน SAP iRPA, การวิเคราะห์ขั้นสูงและตัวเลือกการปรับใช้โซลูชั่นที่ยืดหยุ่น ตอบโจทย์ความต้องการที่เฉพาะเจาะจงของลูกค้า รวมถึงการเข้าถึงหนึ่งในเครือข่ายธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดของโลก อาทิ ตัวเลือกซัพพลายเออร์, งานด้านโลจิสติกส์ และเครือข่ายข้อมูลของเอสเอพี เพื่อให้บริษัทต่างๆ สามารถบริหารจัดการซัพพลายเชนได้อย่างครบวงจร รับมือสภาวะตลาดที่ผันผวนและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาได้อย่างมีศักยภาพ

3กลยุทธ์ถูกทาง หนุนเอสเอ็มอีรอดเกมตลาดดิจิทัล

นายนพดล กล่าวว่าโซลูชัน ดังกล่าวสอดคล้องกับแนวโน้มการทำธุรกิจ ของเอสเอ็มอีนับจากนี้ไปด้วยจะต้องเข้าไปมีส่วนร่วม(Engagement) ฐานข้อมูลต่างๆที่สำคัญมากขึ้น รวมถึง การบังคับใช้กหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ซึ่งธุรกิจอาจมีความจำเป็นต้องใช้ไอที หรือ ดิจิทัล มาร่วมวิเคราะห์การทำงานมากขึ้น ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ 1.Right Strategy การวางกลยุทธ์ถูกต้อง 2. Right Mindset การมีแนวคิดถูกต้อง มีความยืดหยุ่นในการทำงาน และ 3.Right Business and Technology Partner เพื่อสร้างกระบวนการทำงานให้สอดคล้องเป็นแกนหลักรองรับการทำงานได้ในระยะยาว

โดยเอสเอพีมองว่า ปัจจุบันเอสเอ็มอีให้ความสำคัญด้านดิจิทัลมากขึ้น เห็นได้จากการนำสินค้าไปอยู่นแพล็ตฟอร์มคอมเมิร์ซ ต่างๆ รวมถึงในภาคอุตสาหกรรมหลายแห่ง ได้นำเครื่องจักรออโตเมท เข้ามาร่วมวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาการทำงานมากขึ้น สิ่งเหล่านี้เป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่จะเข้ามากระตุ้นการเปลี่ยนผ่านเอสเอ็มอีไปสู่ดิจิทัลในอนาคต

"ในไทยจะเห็นได้ชัดในกลุ่มค้าปลีก ค้าส่ง ธุรกิจที่มีสาขาหน้าร้าน ร้านอาหาร กลุ่มสุขภาพ เป็นต้น ที่จะต้องมีเครื่องมือบริหารจัดการ เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้ายุคหลังโควิดที่มีพฤติกรรมคุ้นเคยการใช้งานบริการต่างๆ ผ่านโมบายล์ แอปพลิเคชัน มากขึ้น สอดคล้องกับเป้าหมายเอสเอพีปีหน้าที่จะเข้ามาช่วยเอสเอ็มอี เปลี่ยนผ่านดิจิทัล และการขยายอีโคซิสเต็ม" นายนพดล กล่าว