posttoday

ปรับโฉมคนทำงานยุคดิจิทัล

12 ตุลาคม 2561

เราใช้ชีวิตอยู่ในโลกดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จากโมเดลธุรกิจใหม่ไปสู่ระบบพลังงานใหม่

ทอมมี่ เหลียง ประธานบริษัท ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกและญี่ปุ่น

เราใช้ชีวิตอยู่ในโลกดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จากโมเดลธุรกิจใหม่ไปสู่ระบบพลังงานใหม่ การปฏิรูปสู่ดิจิทัลได้แผ่ขยายอย่างเต็มกำลังรอบตัวเรา ด้วยสภาพการแข่งขันอย่างสูงในธุรกิจ ความสำเร็จขององค์กรในวันนี้ จึงขึ้นอยู่กับว่าองค์กรธุรกิจนำความสามารถด้านการเชื่อมต่อ ความสามารถในการคาดการณ์ รวมถึงการบริหารจัดการข้อมูลมาช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับพนักงาน และการเติบโตให้กับองค์กรได้อย่างไร

การปฏิรูปทางดิจิทัลถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี เช่น คลาวด์ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ IoT สำหรับอุตสาหกรรม (IIoT) ซึ่งหลายอุตสาหกรรมต่างค่อยๆ ทยอยกันปฏิรูปสู่ดิจิทัล นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบธุรกิจในปัจจุบัน สิ่งจำเป็นสำหรับธุรกิจ คือ ต้องแน่ใจด้วยว่าบุคลากรจะต้องได้รับการ “ปฏิรูปทางดิจิทัล” ด้วยเช่นกัน ดังนั้นผู้ที่สามารถปรับใช้เทคโนโลยีได้ดีหรือผู้ที่ก้าวทันโลก จะมีความสามารถนำโอกาสที่เกิดในยุค IoT มาใช้กับการทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

แม้ว่าบริษัทมากมายต่างตระหนักดีถึงความสำคัญของการปรับโฉมให้กับคนทำงาน แต่ก็ยังคงมีช่องว่างในเรื่องของทักษะอยู่มาก จากรายงานของ Accenture ระบุว่า 40% ของนายจ้างพูดถึงการขาดแคลนผู้ที่มีความสามารถโดดเด่น และตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ บริษัทต่างๆ จำเป็นต้องดูแลและสร้างคนทำงานที่พร้อมสำหรับอนาคต ด้วยการลงทุนเรื่องของการฝึกอบรม เพิ่มทักษะให้กับพนักงานและส่งเสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องในระยะยาว

ตัวอย่างเช่น ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ให้โอกาสกับพนักงานในการฝึกอบรมต่างออฟฟิศ เพื่อให้ได้ทักษะที่แตกต่าง รวมถึงมีมุมมองใหม่ๆ ซึ่งมีส่วนช่วยเร่งให้เกิดความก้าวหน้าในสายอาชีพ พร้อมส่งเสริมการเติบโตทางธุรกิจ ผู้นำธุรกิจในปัจจุบันต้องทำมากกว่าการพัฒนาทักษะด้านเทคนิค โดยการเพิ่มทักษะด้านอารมณ์ เพื่อเติมเต็มความมุ่งมั่นจากภาครัฐบาล เช่น โครงการ “SMEs Go Digital”, SkillsFuture

การผสานรวมเทคโนโลยีต่างๆ เช่น อุปกรณ์ AR ที่ใช้ IoT ช่วยเพิ่มศักยภาพให้แก่ผู้ใช้งาน ด้วยทักษะและความรู้ใหม่ๆ ที่ช่วยให้สามารถบริหารจัดการกับสินค้าคงคลังได้ดียิ่งขึ้น ด้วยความสามารถในการเชื่อมต่อที่มากขึ้นจากการใช้ IoT ช่วยให้ผู้ผลิตสามารถบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ โดยนำข้อมูลมาใช้คาดการณ์ถึงความล้มเหลวได้ล่วงหน้า บุคลากรสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเท่าทันเหตุการณ์มากขึ้น เหตุนี้คนทำงานยุคใหม่จำต้องมีความสามารถในการควบคุมการใช้เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดได้ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของบริษัท องค์กรจำต้องลงทุนในเรื่องของการอบรมและพัฒนาผู้ที่มีความสามารถโดดเด่น เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับอนาคต