posttoday

"Epibone" สตาร์ทอัพไบโอเทคสุดแกร่งในสหรัฐ

22 สิงหาคม 2559

เป็นสตาร์ทอัพไทยรุ่นใหม่ ที่มีพลังสร้างสรรค์ และนำความรู้จากการเรียนในมหาวิทยาลัย และผลงานวิจัย มาต่อยอดกลายเป็นธุรกิจใหม่

โดย...วราภรณ์ เทียนเงิน

เป็นสตาร์ทอัพไทยรุ่นใหม่ ที่มีพลังสร้างสรรค์ และนำความรู้จากการเรียนในมหาวิทยาลัย และผลงานวิจัย มาต่อยอดกลายเป็นธุรกิจใหม่ และเริ่มต้นสร้างธุรกิจในสหรัฐ ที่มีโอกาสเติบโตอย่างมากในตลาดโลก

“สารินทร์ ภูมิรัตน์” ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท อีพิโบน (Epibone) ที่ก่อตั้งในประเทศสหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่า ได้เริ่มก่อตั้งบริษัทมาประมาณ 1 ปีที่ผ่านมาแล้ว จากผู้ร่วมก่อตั้งหลัก 3 คนที่เรียนในมหาวิทยาลัย และคุณหมอที่ร่วมมาก่อตั้งด้วย คณะเดียวกัน ร่วมทำงานวิจัยด้วยกัน ดังนั้นเมื่อจบปริญญาเอก ที่คณะ Biomedical Engineering at Columbia Universityจึงร่วมกลุ่มจัดตั้ง บริษัท สตาร์ทอัพขึ้นมา อย่างเป็นทางการ

สำหรับเทคโนโลยีที่ผลิตได้คิดค้นคือ การสร้างกระดูก จากสเต็มเซลล์ ที่อยู่ในคนได้สำเร็จ โดยเป็นงานวิจัยที่ร่วมทำระหว่างการเรียนในมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ดังนั้น เมื่องานวิจัยที่ได้ทำออกมามีผลสำเร็จในมหาวิทยาลัย จึงสนใจสร้างจัดตั้ง บริษัท เริ่มทำสตาร์ทอัพ เพราะการสร้างกระดูกจากสเต็มเซลล์ในประเทศสหรัฐ ยังไม่มีการคิดค้นแบบนี้มาก่อน

ทั้งนี้ที่ผ่านมา คนที่มีปัญหากระดูกแตกหรือหัก ร่างกายจะไม่สามารถซ่อมแซมกระดูกได้ ดังนั้นคุณหมอ จะต้องตัดกระดูกจาก ร่างกายของผู้ที่ป่วย เช่น ตัดกระดูกจากซี่โครง มาตัดแปะ หรือนำกระดูกมาจากร่างกายผู้อื่น ที่มีการบริจาค แต่การนำกระดูกมาจากผู้อื่น จะไม่ดีเท่ากับกระดูกของร่างกายตัวเอง

สิ่งที่ อีพิโบน ทำได้แตกต่าง โดยใช้ความรู้ที่ได้เรียน ผสมกับความรู้ทางการแพทย์ จึง นำสเต็มเซลล์ ที่มีอยู่ในร่างกายของทุกคน นำมาเพาะเลี้ยง และสร้างเป็นชิ้นกระดูกอ่อน ที่พอดีกับส่วนที่ร่างกายต้องการ ขณะเดียวกัน บริษัทมีเทคโนโลยี 3D CT Scan ที่ดีไซน์กระดูกส่วนที่ร่างกายต้องการออกมาได้ ว่าแต่ละคนต้องการกระดูกในแบบใด ดังนั้น การคิดค้นเทคโนโลยีใหม่จึงช่วยลดปัญหาทั้ง การค้นหากระดูก ต้นทุนค่าใช้จ่าย ขั้นตอนผ่าตัดที่สั้นลง อีกทั้งเป็นเทคโนโลยีที่มีความจำเป็นอย่างมาก ทั้งกลุ่มคนที่ประสบอุบัติเหตุ หรือ กลุ่มเด็กที่เกิดมาและมีปัญหาโครงสร้างกระดูก

“สารินทร์” กล่าวต่อว่า บริษัทที่เริ่มต้นขับเคลื่อนองค์กรประมาณ 1 ปีกว่าๆ แต่ก่อนหน้านี้ได้เริ่มจัดตั้ง บริษัทแล้วมาประมาณ 3ปีก่อน ที่จัดจั้ง และเริ่มที่จะหาทุนมาจัดตั้งธุรกิจ สตาร์ทอัพ โดยประเทศสหรัฐ มีนักลงทุนจำนวนมาก ที่พร้อมเข้าไปลงทุนในธุรกิจสตาร์ท อัพ มีกองทุนของหน่วยงานรัฐ และหน่วยงานท้องถิ่นจำนวนมากที่พร้อมส่งเสริม ประกอบกับบริษัทได้สร้างเทคโนโลยีใหม่ที่มีความแตกต่าง ทำให้มีนักลงทุนเข้ามาร่วมลงทุนแล้ว ประกอบไปด้วย

กลุ่มนักลงทุนทั่วไป หรือที่เรียกว่า แองเจิ้ล อินเวสเตอร์, กลุ่มกองทุน นิวยอร์ค ซิตี้ พาร์ทเนอร์ชิพ ฟันด์ ที่จะมุ่งลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพที่เกี่ยวข้องกับ ไบโอเทคโนโลยี, กลุ่ม National Institute of Health (NIH) โดยที่ผ่านมาจะนิยมให้ทุนเฉพาะมหาวิทยาลัยของภาครัฐเท่านั้น แต่ครั้งนี้กลับให้ทุนกับบริษัท และกลุ่มBreak out lab ที่เป็นองค์กรไม่แส วงหาผลกำไรทำให้บริษัทระดมทุนทั้งหมดได้ประมาณ 5 ล้านเหรียญสหรัฐแล้ว หรือคิดเป็นเงินไทย ประมาณ 170 ล้านบาท

ทั้งนี้เมื่อระดมทุนมาจัดตั้งบริษัทได้ ทำให้เริ่มขยายองค์กรมากขึ้น โดยกำลังยื่นเรื่องงานวิจัยดังกล่าว ไปให้กับ สำนักงานอาหารและยา หรือ FDA ของประเทศสหรัฐ เพื่อนำไปทดลองกับคนว่าสามารถทำได้จริง ไม่มีผลข้างเคียงตามมา ขั้นตอนนี้ ต้องใช้ระยะเวลานานหลายปีหรือประมาณ 2-3 ปี คาดว่าจะไม่ต่ำกว่า 8 ปี จึงจะสามารถดำเนินทำตลาดได้อย่างจริงจังได้

ทั้งนี้การทำธุรกิจ สตาร์ทอัพด้านไบโอเทค จึงถือว่าแตกต่างจาก สตาร์ทอัพด้านไอที ที่เมื่อทำเสร็จได้รวดเร็วและจะเริ่มขายได้เลย แต่ไบโอเทค กลุ่มที่เข้ามาลงทุนจะเข้าใจในเรื่องนี้ และทราบดีว่าเป็นธุรกิจที่ต้องใช้ระยะเวลานานกว่าจะทำตลาดได้ โดยเมื่อทำตลาดได้แล้ว บริษัทสนใจขยายการลงทุนหรือลงทุนสร้างโรงงานต้นแบบผลิตสินค้า และหลังจากนั้นจะระดมทุน รอบใหม่ พร้อมกับหาบริษัทธุรกิจเงินร่วมลงทุน (เวนเจอร์ แคปปิตอล)เพื่อนำมาขยายธุรกิจต่อไป อีกทั้งเปิดโอกาสให้ เวนเจอร์แคปปิตอล หรือนักลงทุนในไทย สามารถร่วมระดมทุนในบริษัทได้เช่นกัน

ทั้งนี้โอกาสของสินค้ากระดูกอ่อนจากสเต็มเซลล์ของบริษัทมีอย่างมากในอนาคต เพราะขณะนี้คุณหมอที่ทราบเรื่องนี้ ต่างสนใจและติดต่อผลิตภัณฑ์อย่างมาก และตลาดในประเทศสหรัฐ มีขนาดใหญ่ประมาณ 30-40% ของตลาดโลก หากสามารถขยายตลาดในสหรัฐได้ ก็สนใจจะขยายตลาดหลักในโลกทั้งในอินเดีย จีน ยุโรป รวมถึงประเทศไทย

“ข้อดีของการเริ่มต้นทำสตาร์ทอัพในประเทศสหรัฐคือ การมี เวนเจอร์ แคปปิตอล จำนวนมาก มีงบรัฐบาลพร้อมส่งเสริมมากมาย มีนักลงทุนที่พร้อมลงทุน ทำให้โอกาสใหม่ๆ แก่คนที่สนใจเริ่มต้นสร้างธุรกิจ” สารินทร์ กล่าว

“สารินทร์” กล่าวต่อว่า ทุกวันที่ได้ทำงานคือการได้เรียนรู้ใหม่ ได้ผ่านช่วงเวลาที่ยากหลายครั้ง แต่ความมุ่งมั่นภายใน ที่ต้องการสร้างงานวิจัยที่ใช้ได้จริง จึงสามารถฝันฝ่า สู่ สินค้า เพื่อทำให้ผู้ใช้ในทั่วโลกได้ประโยชน์และได้รับสิ่งที่ดีมากที่สุด