posttoday

พานาโซนิคมั่นใจเป้าปีนี้โต10%

02 มิถุนายน 2554

พานาโซนิค อัดงบ 2,000 ล้านบาท พร้อมเพิ่มงบซีเอสอาร์ 1 เท่าตัว สร้างภาพลักษณ์ ชูคุณภาพแข่งแบรนด์เกาหลี มั่นใจปีนี้เติบโต 10% ตามเป้ารายได้ 2 หมื่นล้านบาท

พานาโซนิค อัดงบ 2,000 ล้านบาท พร้อมเพิ่มงบซีเอสอาร์ 1 เท่าตัว สร้างภาพลักษณ์ ชูคุณภาพแข่งแบรนด์เกาหลี มั่นใจปีนี้เติบโต 10% ตามเป้ารายได้ 2 หมื่นล้านบาท

นายฮิโรทากะ มุราคามิ ประธานเจ้าหน้าบริหาร กลุ่มบริษัท พานาโซนิค ประเทศไทย กล่าวว่า ผลประกอบการในช่วง 2 เดือนแรกของปีงบประมาณ (เม.ย. 54 – มี.ค.55) พบว่ามียอดขายเติบโตตามเป้าที่ตั้งไว้ 10% แม้ว่ายอดขายของเครื่องปรับอากาศจะลดลงจากสภาวะอากาศที่แปรปรวน แต่ยอดขายของตู้เย็น เครื่องซักผ้า กล้องดิจิตอล ทีวี และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านขนาดเล็กกลับมีอัตราการเติบโตตามเป้าที่วางไว้ จึงสามารถผลักดันให้ยอดขายรวยเติบโต

ทั้งนี้ บริษัทพบว่าตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศไทยปัจจุบัน เช่น เครื่องซักผ้า ตู้เย็น มีอัตราการแข่งขันที่รุนแรงจากการทำตลาดของสินค้าแบรนด์เกาหลี ดังนั้นในปีนี้บริษัทจึงใช้งบเป็นเงิน 2,000 ล้านบาท หรือ 10% ของยอดขายในการส่งเสริมตลาด สร้างภาพลักษณ์ และจัดแคมเปญต่อเนื่องตลอดทั้งปีในทุกกลุ่มสินค้า

“พร้อมกันนี้ บริษัทยังเพิ่มงบในการกิจกรรมซีเอสอาร์ในปีนี้ถึง 1 เท่าตัว หรือคิดเป็นมูลค่า 100 ล้านบาท จากปีที่ผ่านมาใช้ไป 50 ล้านบาท เพื่อสานต่อโครงการสร้างสรรค์ ฉลาดคิด ผลิตข่าว กับพานาโซนิค 2011 ซึ่งจัดติดต่อกันมาเป็นเวลา 11 ปีแล้ว และยังมีการสร้างอาคารเรียน มอบทุนการศึกษา ให้กับนักเรียนในต่างจังหวัดอันเป็นส่งเสริมภาพลักษณ์ของแบรนด์เพื่อสร้างฐานลูกค้าในอนาคตอีกด้วย” นายฮิโรทากะ กล่าวเพิ่มเติม

สำหรับเป้าหมายทางด้านรายได้ของบริษัทในปีนี้ตั้งเป้าเติบโตทั้งปีไว้ที่ 10% หรือคิดเป็นมูลค่า 2 หมื่นล้านบาท โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้ยอดขายเป็นไปตามเป้า คือ สภาพเศรษฐกิจภายที่ดี การเมืองสงบนิ่ง ซึ่งบริษัทหวังว่าหลังการเลือกตั้งใหม่จะไม่มีเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองเกิดขึ้นอีก และมั่นใจว่าเศรษฐกิจภายจะสดใสแน่นอน

นายฮิโรทากะ  กล่าวต่อว่า ทางด้านฐานการผลิตสินค้าของบริษัทในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว สึนามิ เล็กน้อย ปัจจุบันทุกโรงงานกลับมาดำเนินงานตามปกติแล้ว และเพื่อบริหารความเสี่ยงในอนาคตบริษัทแม่มีแผนที่จะการกระจายโรงงานการผลิตออกไปตามเมืองต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่น เพื่อบริหารความเสี่ยง