posttoday

คุยกับ 'ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล' ชวนรู้จักเส้นทางความลับ 'น้ำมันเมล็ดคามิเลีย'

18 พฤษภาคม 2565

ทั้งหมดนี้ ก็เพื่อสร้างสมดุลอนาคตในการรักษาแม่น้ำ ปิง วัง ยมน่าน ซึ่งเป็นต้นน้ำของเจ้าพระยา ด้วยหากต้นน้ำรอด เจ้าพระยาก็จะรอดด้วย เพราะหากเราสามารถรักษาชีวิตข้างบนได้ ข้างล่างก็จะรอด ไปด้วยกันหมด

"บทบาท 'มูลนิธิชัยพัฒนา' ถึงในปัจจุบันยังคงดำเนินภาระกิจด้านต่างๆ อันเป็นไปตามพระราชปนิธานในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกา ธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ในหลวงรัชกาล ที่9) ผู้จัดตั้งมูลนิธิฯ เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของภาคประชาชนและสังคม ในการสนับสนุนพัฒนาผ่านโครงการต่างๆ ที่หน่วยงานภาครัฐ เข้าไปไม่ถึง มานานร่วม 34ปี..."

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา บอกเล่า ความเป็นมาของมูลนิธิชัยพัฒนา บนเส้นทางการพัฒนาโครงการต่างๆตามพระราชดำริ ตลอดระยะเวลากว่า 3 ทศวรรษที่ผ่านมา

ถึง ปัจจุบัน 'ดร.สุเมธ' บอกว่ายังมีโครงการต่างๆ อีกเป็นจำนวนมาก ที่ยังต้องทำอย่างต่อเนื่องไม่รู้จบ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ ธรรมชาติ 'ดิน น้ำ ลม ไฟ' ด้วยมองประโยชน์สุดท้ายที่จะต้องเกิดขึ้น คือ ความยั่งยืนของประชาชนคนไทย ให้มีแหล่งอาชีพ ทำกิน เพื่อสร้างราย ได้เลี้ยงครอบครัว

ด้วยหลักการดังกล่าวนี้เอง ยังสอดคล้องกับงานวิจัยพัฒนา พร้อมทำตลาดผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ 'ภัทรพัฒน์' (PATPAT) ของมูลนิธิชัย พัฒนา อย่างน้ำมัน "เมล็ดคามิเลีย" อีกหนึ่งสินค้ามหัศจรรย์ ที่ให้คุณสมบัติครอบจักรวาล ด้วยสามารถนำมาใช้ได้ทั้ง การบริโภค และอุปโภค

จากคุณสมบัติเฉพาะของผลิตภัณฑ์ที่อุดมไปด้วยโอเมกา 3, 6,และ 9ที่ดีต่อทั้งหัวใจ ร่างกาย ไปจนถึงผิวพรรณ ด้วยมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง

น้ำมันคามิเลียหนึ่งขวดช่วยปลูกป่า

ดร.สุเมธ เล่าอีกว่า ไม่ใช่เฉพาะประโยชน์สารพัดนึกของน้ำมันเมล็ดคามีเลียเท่านั้น แต่รู้หรือไม่ว่ากว่าจะมาเป็นสินค้าได้ใน1ขวดนั้นยังมี ความลับด้านคุณค่าอื่นๆแฝงอยู่ไม่น้อย

เริ่มตั้งแต่แนวคิด ที่ต้องย้อนกลับไปตั้งแต่เกือบ 40ปีที่ผ่านมาโดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (องค์นายกกิตติมศักดิ์และองค์ประธานกรรมการมูลนิธิชัยพัฒนาแในปัจจุบัน) ต้องการให้คนได้ใช้ของดีพร้อมลดการนำเข้าน้ำเมันมะกอกจากต่างประเทศ ไปพร้อมกับหาช่องทางสร้างโอกาสและรายได้ให้คนไทย โดยเฉพาะชาวเขาในแถบภาคเหนือของประเทศ ให้มีแหล่งทำกินไปพร้อมกับการดูแลรักษาผืนป่า ได้อย่างยั่งยืน

โดยในขณะนั้นได้พบว่ามีต้นคามิเลียขึ้นอยู่มากในเมืองคุนหมิง ประเทศ จีน ซึ่งเป็นไม้ยืนต้นบนพื้นที่ความสูง 900 เมตร จากนั้นก็ได้ริเริ่มนำเมล็ดเข้ามาเพื่อทดลองปลูกในพื้นที่โครงการทดลอง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ซึ่งก่อนที่จะนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยนั้นก็มีหลายฝ่ายต่างกังวลว่า พันธุ์ไม้จากต่างถิ่นจะเข้ามาทำให้พื้นที่ปลูกนั้นๆเปลี่ยนแปรสภาพไปหรือไม่

แต่สุดท้ายก็พบว่า ที่ดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ของไทยนี่เอง ก็มีต้นคามีเลียขึ้นอยู่ด้วยเช่นกันแถมยังเป็นคามีเลียสีแดง พันธุ์หายากอีกด้วย จึงทำให้ปลดล็อคข้อกังวลการเพาะปลูกขยายพันธุ์ต้นคามิเลีย ในเมืองไทยไปได้ในที่สุด

หลังจากเริ่มทดลองปลูกและประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในพื้นที่การดูแลของกรมป่าไม้ อันสอดคล้องตามพระราชปนิธานในการรักษาผืนป่าแถบภาคเหนือ ด้วยให้ชาวบ้าน ชาวเขา ได้มีส่วนร่วมช่วยดูแลผลผลิตจากป่าต้นคามิเลีย โดยที่ชุมชนชาวบ้านในพื้นที่บริเวณเหล่านั้นสามารถเก็บผลลิตมาขายได้ในกิโลกรัมละ 25 บาท

"จากเดิมในป่าหากไม่มีสินทรัพย์ให้ชาวบ้าน ชาวเขา ได้เข้ามามีส่วนร่วม ช่วยดูแล สิ่งที่เราจะได้เห็นตามมา คือการเข้าป่าเพื่อตัดไม้ออกมานำไปขาย แต่เมื่อในผืนป่ามีผลผลิตให้เก็บมาขายแล้วสร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน เขาก็จะดูแลรักษา หวงแหนผืนป่าของเขาไปตลอด ตรงกับความต้องการให้ชาวบ้านมีแหล่งรายได้ จากที่ทำกินในพื้นที่ป่า ซึ่งยังเป็นไปตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) อีกด้วย " ดร.สุเมธ เล่าที่มา

ทั้งหมดนี้ ก็เพื่อสร้างสมดุลอนาคตในการรักษาแม่น้ำ ปิง วัง ยมน่าน ซึ่งเป็นต้นน้ำของเจ้าพระยา ด้วยหากต้นน้ำรอด เจ้าพระยาก็จะรอดด้วย เพราะหากเราสามารถรักษาชีวิตข้างบนได้ ข้างล่างก็จะรอดไปด้วยกันหมด

ถึงปัจจุบัน มีพื้นที่ใข้ในการเพาะปลูกต้นคามีเลีย ซึ่งเป็นโครงการต้นแบบ ไม่ต่ำกว่า 3,000ไร่ ในจังหวัดเชียงราย ซึ่งในบริเวณใกล้เคียง กันนี้ ยังได้จัดตั้งโรงงานเพื่อสกัดแปรรูปให้ได้นำมันเมล็ดคามีเลีย มีกำลังผลิตอยู่ที่กว่าหกแสนขวดต่อเดือน 

คุยกับ 'ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล' ชวนรู้จักเส้นทางความลับ 'น้ำมันเมล็ดคามิเลีย'

ทำตลาดผ่านแบรนด์ 'ภัทรพัฒน์'

สำหรับน้ำมันเมล็ดคามีเลีย ได้ทำตลาดค้าปลีกภายใต้แบรนด์ภัทรพัฒน์ เพื่อวางจำหน่ายทั้งในช่องทางค้าปลีกออนไลน์และออฟไลน์ รวมถึงจำหน่ายให้กับลูกค้าองค์กรที่สนใจนำน้ำมันเมล็ดคามิเลีย ไปพัฒนาเพื่อแปรรูปสู่ผลิตภัณฑ์ต่างๆภายใต้แบรนด์ของตัวเอง

นอกจากนี้ ยังพบความมหัศจรรย์ไม่รู้จบ ด้วยกากชาของดอกคามิเลีย ยังมีคุณสมบัติใข้กำจัดศัตรูพืชอย่างหอยเชอรี่ในอยู่พื้นที่เกษตรปลูกข้าวของชาวบ้าน ได้เป็นอย่างดี อีกด้วย ด้วยเมื่อใกล้ถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยว กากชาดอกคามิเลียจะเป็นที่ต้องการอย่างสูงของชาวบ้าน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อในแปลงเกษตรของตัวเองอีกทอดหนึ่ง

ดร.สุเมธ เล่าอีกว่าการทำตลาดผลิตภัณฑ์น้ำมันดอกคามิเลีย นั้น ยังได้ต่อยอดไปสู่การทำกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ เพื่อสะท้อนถึงสรรพคุณของน้ำมันคามีเลีย ทั้งการนำไปรุงอาหารผ่านฝีมือเชฟในอีเวนต์ต่างๆ ด้วยน้ำมันคามีเลียมีคุณสมบัติทนความร้อนได้สูงถึง 252 องศาเซลเซียส ซึ่งเมื่อนำไปบริโภคจะดีต่อสุขภาพด้วยคุณประโยชน์จากโอเมก้า 3 , 6 และ 9 ด้วย ดร.สุเมธ วัย 83 ปี ในปัจจุบัน การันตีผลิคภัณฑ์ ด้วยตัวเอง

สู่ความสมดุล ยั่งยืน

ดร.สุเมธ เล่าว่าหากย้อนกลับไปดูเส้นทางของน้ำมันเมล็ดคามิเลีย จะเห็นว่าสอดคล้องกับพระราชปนิธาน ในกาาจัดตั้งมูลนิธิฯตั้งแต่ต้นทาง ที่นอกจากจะเป็นการสร้างผลผลิตในรูปแบบสินค้า เพื่อทดแทนการนำเข้าน้ำมันมะกอก จากต่างประเทศแล้ว ขณะเดียวกันยังเป็นไปตามวัตถุประสงค์การรักษาผืนป่าและผืนน้ำอย่างสมดุล

"ด้วยเรื่องนี้ ในหลวงรัชกาลที่9 ท่านทรงเคยให้แนวคิดเกี่ยวกับการปลูกป่าได้อย่างน่าสนใจคร่าวๆดังนี้ คือ การปลูกป่าถ้าจะให้ราษฎรได้รับประโยชน์ ต้องให้ใช้วิธีปลูกไม้ 3 อย่าง แต่มีประโยชน์ 4 อย่าง คือ ไม้ใช้สอย ไม้กินได้ ไม้เศรษฐกิจ และมีประโยชน์ต่อระบบนิเวศ คือปลูกให้คล้ายสภาพป่าจริงๆ...." ดร.สุเมธ กล่าวย้ำ

ด้วยหากสามารถพัฒนาสายพันธุ์ให้ต้นคามีเลียแปลงสัญชาติเป็นไทย ได้ 100% แล้ว ก็สามารถที่จะนำพันธุ์ไม้ขยายการเพาะปลูกไปยังพื้นที่ต่างๆได้ ที่ขณะนี้ร่วมกับหน่วยงานการศึกษาหลายแห่ง อาทิ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการนำไปทดลองปลูกในจังหวัดน่าน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกรมป่าไม้ อีกเช่นกัน ซึ่งล่าสุดยังได้มีนำไปทดลองปลูกในอำเภอเขาช่อง จังหวัดนคราชสีมา ด้วย

ดร.สุเมธ กล่าวทิ้งท้ายว่า สำหรับความท้าทายของมูลนิธิชัยพัฒนา จากนี้ไปมองว่าเรื่องสำคัญที่เห็นว่าทั้งในเมืองไทยและทั่วทั้งโลกจะต้องเจอ คือ ด้านสิ่งแวดล้อม และ สุขภาพ

ด้วยทั้งสองสองอย่างมีสถานการณ์ถดถอยต่อเนื่องลงทุกวัน ทั้ง ดิน น้ำ ลม ไฟ ดังนั้นในทุกโครงการต่างๆของมูลนิธิฯ จะต้องสอดคล้องกับกับความยั่งยืนของธรรมชาติและทรัพยากรอันเป็นสินทรัพย์ของประเทศ

"สมัยที่ผมอายุ 14 ปี ประเทศไทยมีประชากรราว 15 ล้านคน วันนี้ผมอายุ 83 ปีแล้ว เมืองไทยมี 70 ล้านคน ในวันนี้ บ้านเรือนมีเท่าเดิม ประเทศชาติมีเท่าเดิม แต่คนเพิ่มขึ้นมา5 เท่าตัว ก็เป็นสิ่งที่น่าห่วงในการรักษาสมดุลทรัพยากร ที่อาจจะไม่พอใช้ในอนาคต" ดร.สุเมธ กล่าวทิ้งทาย

โดย ดวงใจ จิตต์มงคล