posttoday

‘อีอีซี’ลุยแผนลงทุนเฟส 2 ปั๊มจีดีพี 2.2 ล้านล้าน

11 พฤษภาคม 2565

‘อีอีซี’ เดินหน้าบูมลงทุนเศรษฐกิจไทยกางแผนเฟส 2 กระตุ้นจีดีพี 2.2 ล้านล้าน ขณะที่เมืองการบินคืบแล้ว 80% ปักธงอีก 2 ปี ค่ายเอ็มจีผลิตรถอีวีในไทย

นายคณิศ  แสงสุพรรณ    เลขาธิการเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เปิดเผยในงาน Post Today Forum 2022“รวมพลังก้าวข้ามวิกฤต เดินหน้าเศรษฐกิจไทย” เสวนาเรื่อง “EEC เครื่องยนต์หลัก ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย”ว่า  4 ปีที่ผ่านมาอีอีซีสามารถสร้างการลงทุนที่น่าพอใจ  มีมูลค่าการลงทุนเกิดขึ้น  1.6 ล้านล้านบาท  โดยมีการลงทุนเพื่อวางโครงสร้างพื้นฐานกว่า 6 แสนล้านบาท เตรียมความพร้อมการลงทุนจากต่างชาติ

ทั้งนี้ในช่วงที่เกิดสถานการณ์โควิด 2 ปี มีผลกระทบให้การลงทุนลดลงไปบ้าง 20-30 % แต่ในปีนี้จะเริ่มเดินเครื่องให้มีความต่อเนื่อง โดยอีอีซีได้วางเป้าหมายการลงทุนในเฟส 2 (2565-2569) เงินลงทุน 2.2 ล้านล้านบาท  ซึ่งมีอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่เงินลงทุน 4 หมื่นล้านบาทต่อปี  ขณะที่มีการต่อยอดการลงทุนโครงสร้งพื้นฐาน ทั้งเมืองการบินภาคตะวันออก และการพัฒนาพื้นที่โดยรอบ 30 กิโลเมตร (กม.)ใช้เงินลงทุน 1 แสนล้านบาท 

‘อีอีซี’ลุยแผนลงทุนเฟส 2 ปั๊มจีดีพี 2.2 ล้านล้าน

“มั่นใจเป้าหมายลงทุน 2.2 ล้านล้านบาททำได้แน่อนอนเพราะช่วงที่เกิดโควิดจีดีพีหายไป 2 ล้านล้านบาทดังนั้น อีอีซีต้องพยายาม เร่งเครื่องการลงทุน โดยเฉลี่ยการลงทุนต้องเกิดปีละ 4 แสนล้านบาท อยากฝากรัฐบาล ต้องให้การสนับสนุนอีอีซีต่อเนื่องเพราะจะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศในอนาคตได้”

ด้านคุณวีรวัฒน์ ปัณฑวังกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร   บริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด หรือ UTA กล่าวว่า ขณะนี้โครงการเมืองการบินภาคตะวันออกคืบหน้าไปแล้ว 70-80% กำลังเร่งประสานกับทุกฝ่าย เพราะพื้นที่แต่ละส่วนต้องมีความเชื่อมโยงกับสนามบินอู่ตะเภาและโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง3 สนามบิน

ทั้งนี้ยอมรับว่าเมื่อเกิดสถานการณ์โควิดทำให้ต้องทบทวนแผนงานตลอดเวลาเนื่องจากอุตสาหกรรมการบินได้รับผลกระทบจากโควิดมาก ทั้งดอนเมืองและสุวรรณภูมิ ผู้โดยสาร หายไปเยอะ เป็นโจทย์ของไทยที่ต้องแข่งขันและเรียนรู้ 

‘อีอีซี’ลุยแผนลงทุนเฟส 2 ปั๊มจีดีพี 2.2 ล้านล้าน

“เมืองการบินยังต้องไปต่อในอีอีซี แม้ตอนนี้ยังมีปัจจัยลบจากรัสเซีย-ยูเครน ที่ทำให้ต้นทุนก่อสร้างสูงขึ้น แต่โครงการต้องเดินหน้าดีเลย์ไม่ได้  เพราะหากดีมานด์ของผู้โดยสารกลับมาต้องมีความพร้อม ไม่เช่นนั้นจะส่งผลกระทบต่อโครงการอื่นๆ ทั้งรถไฟฟ้า และคนที่เข้ามาลงทุนทุกคน ต้องพึ่งพิงกันและกัน  ซึ่งคาดว่าในช่วงไตรมาส 3-4 จะมีความชัดเจนในเรื่องผู้ร่วมลงทุน “

อย่างไรก็ตามความท้าทายของการเป็นศูนย์กลางการบินจะมีผลดีกับไทย ซึ่งต้องมอง 2 มิติ คือ จำนวนเครื่องบินเข้าออก สนามบิน  หรือเป็นการขนส่งสินค้าทางอากาศ หรือแอรร์คาร์โก โดยทั้ง2 ส่วนเรากำลังประเมินว่าจะเป็นไปในทิศทางใด

สำหรับการจัดงาน “ไทยแลนด์ อินเตอร์เนชันแนลแอร์โชว์  (Thailand International Air Show) เป็นครั้งแรก ที่สนามบินอู่ตะเภ นั้น เป็นความร่วมมือของหลายภาคส่วน การจัดงานเพื่อแสดงให้เห็นถึงความพร้อมของไทย เนื่องจากเป็นงานโชว์ระดับชาติ

ขณะที่นายพงษ์ศักดิ์   เลิศฤดีวัฒนวงศ์  รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่ายานยนต์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่ช่วยขับเคลื่อนประเทศ โดยอีอีซีเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพมีโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมในระดับหนึ่ง ทั้งสนามบินอู่ตะเภา  ท่าเรือน้ำลึก ที่สามารถส่งออกสินค้าได้สะดวก

‘อีอีซี’ลุยแผนลงทุนเฟส 2 ปั๊มจีดีพี 2.2 ล้านล้าน

ทั้งนี้แนวโน้มราคาพลังงานที่สูงขึ้นส่งผลให้รถยนต์ไฟฟ้าได้รับความสนใจแต่ก็มีข้อจำกัด แต่ในด้านการผลิตยังมีปัญหาเรื่องซัพพลายเชนขาดแคลนไปมีผลต่อกำลังการผลิต ขณะที่ไทยคาดว่าจะสามารถผลิตรถยนต์ไฟฟ้าได้ในปี 2030 แต่ต้องทำให้ราคาถูกลง เมื่อเทียบกับรถยนต์สันดาบทั่วไป

สำหรับการลงทุนของเอ็มจีในไทยังมีต่อเนื่อง ปัจจุบันมีโรงงานแห่งที่ 2 มีกำลังการผลิตปีละ 1 แสนคัน โดยมีแผนผลิตรถยนต์รุ่นให้ปีละ2 รุ่นโดยรวมมีการลงทุนในไทยไปแล้ว 1 หมื่นล้านบาท ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา

“อนาคตมีแผนผลิตรถอีวีในไทยอีก 2 ปีข้างหน้า  เนื่องจากได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอแล้ว ขณะเดียวกันมีเป้าหมายต้องการเป็นศูนย์กลางผลิตรถยนต์พวงมาลัยขวา ในอาเซียน สิ่งสำคัญภาครัฐต้องส่งเสริมการผลิตรถอีวี โดยเฉพาะในแผนอีอีซีที่เป็นแผนหลักในการขับเคลื่อนประเทศ”