posttoday

กสทช. โชว์ยอดประมูล 71 คลื่นวิทยุ ทะลุ 700 ล้าน

23 กุมภาพันธ์ 2565

กสทช.เปิดรายชื่อผู้เสนอราคาสูงสุด 9 ราย ดันยอดประมูลพุ่ง 77% อสมท.คว้าคลื่นมามากสุด 47 คลื่น คาดเริ่มประกอบกิจการได้เม.ย.นี้

พ.อ.นที ศุกลรัตน์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยถึง การประมูลคลื่นความถี่วิทยุกระจายเสียง เพื่อดำเนินกิจการวิทยุ ว่า การประมูลที่ผ่านมามีการนำคลื่นความถี่ออกประมูล 71 คลื่นความถี่ กำหนดราคาตั้งต้นรวม 389 ล้านบาท เมื่อทำการประมูลแล้วมีมูลค่าคลื่นความถี่เพิ่มขึ้นเป็น 710 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 77%

สำหรับผู้เข้าร่วมประมูลที่เสนอราคาสูงสุด ประกอบด้วย 1.บริษัท อสมท (

MCOT) จำนวน 47 คลื่นความถี่ 2.บริษัท ลูกทุ่งเน็ตเวิร์ค 24 ชั่วโมง  จำนวน13 คลื่นความถี่ 3.บริษัทเจเอสไนน์ตี้วัน จำนวน 3 คลื่นความถี่ 4. บริษัท ดินดิน จำกัด  จำนวน 2 คลื่นความถี่ 5. บริษัท นานาเอ็นเตอร์เทนท์เมนท์จำนวน  2 คลื่นความถี่  6.บริษัท จีเอ็มเอ็มมีเดีย จำกัด (มหาชน) จำนวน  1 คลื่นความถี่ 7.ห้างหุ้นส่วนจำกัด สุภัคพรกรุ๊ป  จำนวน 1 คลื่นความถี่  8.ห้างหุ้นส่วนจำกัด  พีระยามีเดียกรุ๊ป จำนวน  1 คลื่นความถี่ และ 9.บริษัทสตูดิไลน์เอเจนซี่ 1 คลื่นความถี่

สำหรับขั้นตอนหลังจากนี้สํานักงาน กสทช. จะแจ้งให้ผู้เสนอราคาสูงสุดในแต่ละคลื่นความถี่มาลงนามรับรอง ราคาสุดท้ายที่ตนเสนอให้ครบถ้วน ภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสํานักงาน กสทช. เพื่อที่ กสทช. จะได้ประกาศรายชื่อผู้ชนะการประมูล และแจ้งให้ผู้ชนะการประมูลชําระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ แจ้งข้อมูลสิ่งอํานวยความสะดวกด้านกระจายเสียง และยื่นคําขออนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงพร้อม ทั้งชําระค่าธรรมเนียมการขออนุญาต ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการเป็นผู้ชนะการประมูลต่อไป โดยผู้รับใบอนุญาตจะสามารถเริ่มประกอบ กิจการวิทยุกระจายเสียงได้ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2565 เป็นต้นไป

อย่างไรก็ตามเงินรายได้จากการประมูลคลื่นความถี่หลัง หักค่าใช้จ่ายในการประมูลและนําส่งเข้ากองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแล้ว จะนําส่งเป็นรายได้ แผ่นดิน

“กสทช.มีมติรับทราบผลการประมูลแต่ยังไม่มีการรับรองและประกาศชื่อผู้ชนะการประมูล เนื่องจากบางรายยังรับรองผลการประมูลไม่เรียบร้อย กสทช.จะเรียกประชุมนัดพิเศษก่อนประกาศรายชื่อผู้ชนะการประมูลต่อไป”