posttoday

VISA เปิด 6เทรนด์ใหญ่เปลี่ยนโลกการค้าดิจิทัล ในปี 2022

13 มกราคม 2565

วีซ่า เผยหกเทรนด์ใหญ่ เปลี่ยนวิถีการค้าออนไลน์และพฤติกรรมลูกค้าคนไทย ที่จะเห็นชัดนับจากปี2565 นี้เป็นต้นไป

นายสุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า ภายในปี 2568 การค้าออนไลน์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะมีมูลค่าสูง ถึงสองล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งวีซ่ามองเห็นหกเทรนด์สำคัญที่จะพา ไปถึงจุดนั้น

แหล่งซื้อขายเกิดขึ้นได้ทุกที่ในโลก

จากเมื่อก่อนที่ต้องรอให้ถึงวันหยุดเพื่อไปห้าง แต่ทุกวันนี้มีร้านค้าออ นไลน์มากมายที่ฝังตัวอยู่บนโลกโซเชียล เช่น การไลฟ์สตรีมมิ่งบน เครือข่ายโซเชียลที่ผู้ซื้อสามารถโต้ตอบกับอินฟลูเอนเซอร์ และซื้อของ ได้แบบเรียลไทม์ ร้านค้าออนไลน์ในรูปแบบนี้ ยังคงขยายตัวอย่างต่อ เนื่อง และจะอยู่ในทุกแพลตฟอร์ม เราจินตนาการว่าในอนาคตการซื้อ ของจะไม่จำกัดเฉพาะในร้านค้า โลกทั้งใบของเราจะเป็นตลาดที่เรา สามารถค้นหาสินค้า ซื้อของได้ทุกที่ทุกเวลาจากทั่วทุกมุมโลก บนช่อง ทางโซเชียลที่หลากหลายและเข้าถึงได้

รองเท้าที่ดาวน์โหลดมาลองได้เอง และสินค้าในรูปแบบดิจิทัล

ไม่เพียงแต่ร้านค้าผันตัวสู่โลกออนไลน์ แต่สินค้าบางอย่างก็อาจเริ่ม วางขายบนช่องทางออนไลน์เท่านั้น เมื่อผู้ซื้อใช้เวลาบนโลกออนไลน์ มากขึ้น จึงทำให้เกิดสินค้าที่มีเฉพาะในโลกออนไลน์เท่านั้น ซึ่งเราได้ เห็นแล้วจากการใช้ชีวิตผ่าน Augmented Reality (AR) ที่ผู้คนสามารถ ลองสวมใส่เสื้อผ้าหรือรองเท้าในรูปแบบออนไลน์ได้ วีซ่าคาดว่าจะมี อีกหลายธุรกิจที่จะเริ่มลองตลาดสินค้าเฉพาะในรูปแบบออนไลน์นี้เพื่อ เปิดตลาดใหม่ และเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคบนแพลตฟอร์มที่พวกเขาใช้ เวลาต่อวันมากที่สุด

ก้าวสู่อาณาจักร เมตาเวิร์ส

บางท่านอาจถามว่าแล้วเราจะใส่รองรองเท้าที่ดาวน์โหลดมาที่ไหน คำ ตอบก็คือรองเท้าดิจิทัลและสินค้าในรูปแบบดิจิทัลอื่นๆ จะมีชีวิตอยู่ใน “เมตาเวิร์ส” โลกดิจิทัลเสมือนจริงเต็มรูปแบบ ในเมตาเวิร์สเมื่อคุณถือ เงินสกุลดิจิทัลอย่าง NFTs หรือ Non-Fungible Tokens คุณก็สามารถ เป็นเจ้าของสินทรัพย์อย่างงานศิลปะ ของสะสม หรือไอเทมในเกมต่าง ๆ และขายให้กับคนอื่นได้ด้วยบนช่องทางบล็อกเชน กล่าวได้ว่าเมตา เวิร์สน่าจะกลายเป็นพรมแดนใหม่ที่บรรดาธุรกิจอยากเข้าไปจับจอง พื้นที่

ธุรกิจจะเป็นดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ

ขณะที่ธุรกิจมากมายกำลังเดินหน้าปรับตัวให้เป็นดิจิทัลมากขึ้น หน่วย งานหน้าร้านและส่วนหลังบ้านอาจยังไม่เชื่อมต่อกันอย่างแท้จริง หน่วยงานหน้าร้านที่ต้องเจอกับลูกค้ามักจะเป็นส่วนแรกที่ได้รับการ ปรับเปลี่ยนให้เป็นดิจิทัล อย่างไรก็ตาม ธุรกิจก็อาจหยุดชะงักหาก ระบบสำหรับหน่วยงานหลังบ้านยังไม่ได้รับการพัฒนาให้เท่าทัน หนึ่ง ตัวอย่างที่ช่วยให้เห็นภาพได้อย่างชัดเจน คือ ในช่วงการเกิดโรค ระบาดมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของพนักงานด้านการเงินในสิงคโปร์ยัง คงต้องไปทำงานเอกสารที่ออฟฟิศ[2] ตอนนี้จึงถึงเวลาแล้วที่ธุรกิจไม่ ว่าเล็กใหญ่ควรปรับตัวให้เป็นดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ

โกลคอลไลเซชัน (Glocalisation) ทางการค้า

เหตุการณ์ไม่คาดฝันที่เกิดขึ้นทั่วโลกล้วนแล้วแต่กระทบต่อห่วงโซ่อุป ทานหรือซัพพลายเชน ส่งผลให้ธุรกิจต่าง ๆ ต้องมองหาลู่ทางใหม่ ๆ อย่างรวดเร็วในการจัดหาสินค้า ในอนาคตห่วงโซ่อุปทานจะต้องมี ความหลากหลายขึ้น มีทั้งในต่างประเทศและในประเทศ และพร้อม รับมือกับวิกฤติการณ์ต่าง ๆ ที่อาจส่งผลต่อการขนส่งลำเลียงสินค้า

ช่องทางใหม่สู่แหล่งสินเชื่อและการลงทุน

ดาต้าทำให้การเข้าถึงแหล่งสินเชื่อสำหรับผู้บริโภคและผู้ประกอบการ พัฒนาอย่างก้าวกระโดด การพิจารณาสินเชื่อในรูปแบบเดิมที่ทำให้ ธุรกิจในรูปแบบใหม่ ๆ ถูกมองข้าม ข่าวดีคือดาต้าที่มีอยู่อย่างมากมาย ในรูปแบบดิจิทัล ทั้งจากการทำธุรกิจหรือการใช้ชีวิตประจำวัน สามารถนำมาใช้เพื่อพิจารณาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนใหม่ ๆ ได้แล้ว เช่น ข้อมูลจำพวกอัตราหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ กระแสเงินสดสุทธิ หรือ การสั่งซื้อ