posttoday

แชร์เทคนิคการตลาดโซเชียล มีเดีย เจาะคนไทย 35% เข้าถึงอี-มาร์เก็ตเพลส

17 ธันวาคม 2564

Digital Tips Academy รวบกูรูสายโซเชียล มีเดีย แชร์เทคนิคการตลาดดิจิทัล เจาะลึกลูกค้าแพล็ตฟอร์มอี-มาร์เก็ตเพลส

จากการจัดงานสัมมนา “Social Media Platform Conference 2021” ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่14 ธ.ค. ที่่ผ่านมา ในรูปแบบ Virtual Event โดย Digital Tips Academy พร้อมตัวแทนจากแพลตฟอร์มระดับโลก และกูรู รายใหญ่ร่วมแบ่งปันข้อมูลให้กลุ่มเป้าหมายผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอี และ ผู้สนใจร่วมรับฟัง เมื่อวันที่14 ธ.ค. ที่่ผ่านมา

แชร์เทคนิคการตลาดโซเชียล มีเดีย เจาะคนไทย 35% เข้าถึงอี-มาร์เก็ตเพลส

โรบินฮู้ด 1ปี เส้นทางไปกลับโลก-ดวงจันทร์ 172 รอบ

คุณวัชรพงษ์ พจนีย์นนท์ Head of Food Business, Robinhood กล่าวในหัวข้อ “ทางเลือกใหม่ของฟู้ดเดลิเวอรี่ไทยและ 7 สิ่งที่ลูกค้าต้องการมากกว่าสินค้าของคุณ” โดยมาพร้อม 2 ร้านเด็ด ร้านดัง คือ คุณภรัญวิทย์ วรรณอิทธิวิชญ์ ร้านหมูปิ้งลุงอ้วน ตำนาน 35 ปี และ คุณสุธนัช สุขุมาลพันธ์ เจ้าของร้านบะหมี่อากง มาร่วมพูดคุย และให้ความรู้กับเหล่า SMEs ไทย

สำหรับ Robinhood ครบรอบ 1 ปี ปัจจุบันมีร้านค้า 180,000 ร้านค้า และมีผู้ใช้งานไม่น้อยกว่า 2.4 ล้านคน จากการสั่งนี้สามารถคำนวณระยะทางการส่ง โดยเปรียบเทียบระยะทางจากโลกไปดวงจันทร์ได้แล้ว 172 รอบ ซึ่งเป็นตัวเลขตลอด 1 ปี ของคนที่สั่งอาหารทั่วประเทศ โดยลูกค้าไม่ได้ต้องการแค่อาหาร แต่ต้องการ “ประสบการณ์” การกินอาหาร ร้านค้าจะ “รู้ใจ” ลูกค้าได้ต้องมีระบบหลังบ้านและการจัดเก็บข้อมูลที่ดี

"ความใส่ใจ” ร้านค้าไม่ได้สำคัญแค่อาหาร แต่ทุกกระบวนการก็สำคัญ “ความสร้างสรรค์” การตั้งชื่อเมนูที่สะดุดตา น่าจดจำ สร้างความแตกต่าง รูปอาหารที่มีกลิ่นออกมา เรื่องเล่าที่ลูกค้ารับรู้ถึงรสชาติมีอยู่จริง “การมีส่วนร่วม” ถึงแม้จะไปสั่งที่ร้านไม่ได้ ก็อยากให้อาหารที่สั่งตรงกับที่ใจคิดมากที่สุด

“ทำให้โลกนี้ดียิ่งขึ้น” รักสุขภาพมากขึ้น สุขภาพดีขึ้น โลกน่าอยู่ขึ้น “ความจริงใจ” หากเราทำผิดพลาด มากกว่าอาหารที่วางไว้ให้ คือลายมือที่เข้าถึงใจ และน่าจดจำ

นอกจากนี้ในปี 222 ยังมีการเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ อย่าง Rating (Merchant / Rider) ให้คะแนนรีวิวร้านค้าและไรเดอร์ Data Analytics for Merchants ร้านค้าสามารถรับสถิติ ข้อมูล ยอดขายและจำนวนการเข้าชม Customized Promotion for merchant Landing page หน้า Page ของร้านค้าที่ร้านค้าปรับเลือกได้เอง Subscription Program โปรแกรมแบบสั่งประจำสำหรับลูกค้า Chat, finally it comes! สะดวกยิ่งขึ้น กับการพูดคุยกับร้านค้าและไรเดอร์ Tip Engine ระบบการให้ทิปไรเดอร์

แชร์เทคนิคการตลาดโซเชียล มีเดีย เจาะคนไทย 35% เข้าถึงอี-มาร์เก็ตเพลส

เจาะพฤติกรรม แชท-คอมเมิร์ซ

คุณเลอทัด ศุภดิลก Head of E-commerce, LINE ประเทศไทย กล่าวในหัวข้อ “LINE SHOPPING : Empowering Social Commerce” ว่า ข้อมูลในเชิง : Social Commerce VS E-Marketplace ฝั่ง Social Commerce เนื้อหาด้านประสบการณ์จาก ‘ช้อปปิ้ง’ ผู้บริโภคชอบในการ ‘สนทนา’ ได้รับอิทธิพลจาก ‘ชุมชน’ เป็นเรื่องของ ‘Lifestyle’

ขณะที่ฝั่ง E-Marketplace เป็นด้าน สินค้า ประสบการณ์จาก ‘การซื้อ’ชอบในตัวระบบ / AI ได้รับอิทธิพลจาก ‘โปรโมชัน’ เป็นเรื่องของ ‘ความต้องการ’

โดยสิ่งที่คู่ควรกับพฤติกรรมคนไทยกับการแชท คือ ง่ายสำหรับคนจะซื้อ ยืดหยุ่นสำหรับผู้ขาย สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ซื้อ จากการมีส่วนร่วมโดยตรงกับผู้ขาย การพูดคุย และมีปฎิสัมพันธ์กันแบบ 1:1 ที่มอบความเป็นส่วนตัวให้ผู้ซื้อ ด้านคุณปัญชรี สิทธิเสนี Managing Partner, MediaDonuts กล่าวในหัวข้อ “ทวีตอย่างไรให้ขายดี รับปี 2022” ว่า Wellbeing : ให้ความสนใจกับสุขภาพ 2 ปีที่ผ่านมาคนบนทวีตพูดถึงสุขภาพ กาย และใจ แบบองค์รวม Content Creator Culture : คนเจอวิกฤตโควิด คนเข้ามาทวีตมากขึ้น จึงหันมารีวิวสินค้า ขายต้นไม้ รีวิวเกม คนบนทวีตมีลักษณะชอบ Support ร้านอาหาร Community

ขณะที่ Everyday Wonder : สายมู, คู่จิ้น, ความแปลกใหม่ One Planet : คนรักโลกมากขึ้น Tech Life : ทุกคนทำงานหนักที่บ้าน ต้องการอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงาน My Identity : สมัยนี้คนให้ความสนใจกับการเป็นตัวของตัวเองอย่างมาก “ความเหนียวแน่นของกลุ่มคน แฟนคลับ ก็เป็น Identity”

'ขายเก่ง'ตามสไตล์เฉพาะเอสเอ็มอี

สำหรับ We sell for you ช่วงเวลาร่วมช่วย SMEs โปรโมทธุรกิจ ฝ่าวิกฤตโควิด-19 โดยมีธุรกิจที่เข้ามาร่วมสนุก ร่วมแชร์ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ 3 ท่าน คือ คุณศรัณญู เพียรทำดี เจ้าของเพจ และแบรนด์ น้ำพริกแคบหมูยายน้อย เจ้าของน้ำพริกแคบหมูยายน้อย ที่อร่อยมาก แต่เจ้าของมักบอกว่าของเขาไม่อร่อย เพื่อสร้างจุดขาย และความแตกต่างด้วยสไตล์ “Bully Marketing”

"ด้วยความเป็นคนที่สนุกสนาน ขายแซวตัวเองมาตั้งแต่ต้น คนที่เข้ามาในเพจ หรือลูกค้าก็ชอบการทำคอนเทนต์ลักษณะนี้ เช่น กินแคบหมูแล้วฟันแตก, คำแรกขึ้นสมองคำสองขึ้นสวรรค์, กินแล้วตายคายแล้วรอด เป็นต้น โดยแบรนด์ใช้ชื่อว่าแคบหมูยายน้อย ซึ่งยายน้อยคือคุณแม่ ของคุณเจ้าของแบรนด์นั่นเอง สิ่งที่คุณเบียร์พูดได้น่าสนใจคือ“ คุณศรัณญู กล่าว

ปัจจุบันลูกค้าคิดคอนเทนต์ให้ด้วย” ตัวอย่างเช่น ลูกค้าซื้อสินค้าแคบหมูยายน้อยไปทาน แล้วถ่ายรูปกลับมาให้ว่าฟันแตกแล้ว เป็นมุขสนุกๆ ที่ตรงกับสิ่งที่เพจต้องการ คุณ ชวิศา เฉิน เจ้าของแบรนด์ Wendays โดยคุณเหวินเลือกวัตถุดิบจากธรรมชาติ ย่อมสลายได้ ใส่ใจต่อโลก รักษ์โลก ดังนั้นวัตถุดิบที่ตอบโจทย์และอ่อนโยนจึงเป็นที่มาของแบรนด์ Wendays ผ้าอนามัยออร์แกนิคและย่อยสลายได้ ปัจจุบันมีทั้งหมด 4 Size (15 cm / 24 cm / 29 cm / 36 cm)

คุณสรสิช เนตรนิล CEO บริษัท บุญนำพา เล่าจุดเริ่มต้นธุรกิจ Organizer จัดงานทำบุญแบบครบวงจร เช่น ทำบุญบ้าน, ทำบุญบริษัท, เป็นต้น โดยทางทีมจะเตรียมอุปกรณ์ทั้งหมด รองรับกลุ่มเป้าหมายคนสมัยใหม่ ที่ไม่ทราบขั้นตอนการเตรียมการ ซึ่งได้จากการสังเกตพฤติกรรมด้วย Data ตัวอย่างเช่น มีการทำบุญ 9 วัดในช่วงโควิด โดยทุกคนไม่ต้องมาเจอกัน แต่สามารถทำบุญร่วมกันได้ผ่าน Zoom เป็นต้น

"แม้กระทั่งชุดสังฆทานบุญต่อบุญ ก็มีกิมมิคน่ารักและได้บุญ คือ เมื่อซื้อแล้วเราต่อบุญให้กับทางวัดพระบาทน้ำพุ เพื่อต่อบุญช่วยเหลือจากสิ่งที่เราซื้อได้อีกด้วย รวมถึงยังมีอีกหนึ่งธุรกิจนั่นคือ Hongcatering หงส์เคเทอริ่ง บริการด้านอาหาร 3 สไตล์ มีรูปแบบบุฟเฟ่ต์ ค็อกเทล อาหารกล่อง ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย และปัจจุบันบุญนำพามีครบทุกแพลตฟอร์ม เต็มที่กับทุก Social media ทุกแพลตฟอร์มแบบจัดเต็ม" คุณสรสิช กล่าว

ชาวไอจีไทยสนใจคอนเทนต์ดนตรี อันดับ1

คุณก้องกิจ ฉันทวิจัยกุล Client Partner for FMCG Industry, Facebook Thailand กล่าวในหัวข้อ “Building Business Through Community on Instagram” ระบุว่าเนื้อหาที่ผู้คนมองหาอะไรบน Instagram พบว่า 74% เพลง ดนตรี 68% อาหาร เครื่องดื่ม65% เทคโนโลยี 57% การดูแลสุขภาพ 56% ท่องเที่ยว 51% แฟชัน ความงาม

ขณะที่ Instagram คือ แพลตฟอร์มที่เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กด้วยสามารถแบ่งปันช่วงเวลาสำคัญ สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าแบบเรียลไทม์ มีความเข้าถึงแบบส่วนตัวมากขึ้น มอบความบันเทิงใช้ ‘Stories’ เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมในทุกช่วงเลา ใช้ ‘Reels’ ในการสร้างเรื่องไวรัล

โดย IG ช่วยเปลี่ยน Passion เป็น Business ซึ่ง 90% ของผู้ใช้แพลตฟอร์มติดตาม BRAND Business และ 80% ของคนไทยชอบใช้ IG ในการติดตามแบรนด์ หรือสินค้าใหม่

ของต้องมี 'แพล็ตฟอร์ม ออนไลน์'

ด้าน คุณปาณัสม์ วงศ์เบญจรัตน์ Head of Seller Platform, Lazada Thailand ในหัวข้อ “Start It Up, Laz It Up with Lazada” ว่า “คนไทยส่วนมากรู้ว่าเทคโนโลยีออนไลน์ช่วยพวกเขาได้ในยุคของการแพร่ระบาด และ มั่นใจในการช้อปออนไลน์ที่เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น”โดย 90% ของผู้ซื้อชาวไทย ใช้ช่องทางออนไลน์มากขึ้น 94% รู้สึกว่าการช้อปออนไลน์ ช่วยเติมเต็มความรู้สึกของพวกเขา 88% ของคนไทนเริ่มคุ้นชินกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

ขณะที่ แพลตฟอร์ม ช้อปออนไลน์ เป็นช่องทางของการซื้อขายที่ผู้ทำธุรกิจต้องมี ด้วยรองรับการขยายฐานลูกค้าได้ทั่วประเทศ เพิ่มโอกาสในการขายได้มากขึ้น จัดการร้านง่ายผ่านแอปฯบนมือถือ มีช่องทางการชำระเงินหลากหลาย มีคูปองส่วนลด โปรโมชันมากมาย มีแคมเปญเพื่อกระตุ้นยอดขายทุกเดือน

แชร์เทคนิคการตลาดโซเชียล มีเดีย เจาะคนไทย 35% เข้าถึงอี-มาร์เก็ตเพลส

คนไทย 35% เข้าถึง อี-มาร์เก็ตเพลส

โดยในช่วง SCB Manee Social Commerce โดยคุณปิยมาศ ศิริวัฒน์ ผู้อำนวยการ ผู้บริหารฝ่าย Business Banking Non Lending Product กล่าวในหัวข้อ “Skyrocket your online business with Manee Social Commerce ปั้นธุรกิจออนไลน์ให้โตด้วย Manee Social Commerce” ว่า คนไทยซื้อสินค้าจาก E-Marketplace มากถึง 35% เติบโตจากปีที่แล้วสูงถึง 2 เท่า

แพลตฟอร์มของSCB เป็นระบบเพิ่มความสะดวกให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ส่วนแม่มณีไม่ใช่แค่ป้าย QR Code แต่ยังเป็น Wallet สแกน เก็บ แจ้งเตือน ส่งสลิปง่าย มาพร้อม 4 ฟีเจอร์ใหม่จาก SCB Manee

ฟีเจอร์ที่ 1 "บิลแม่มณี" จัดการสต้อกสินค้า ออเดอร์ต่างๆครอบคลุมทุก Marketplace และ Social media รวมถึงตอบโจทย์การ LIVE พิมพ์ CF จัดการ Order ได้ทันที พร้อมเชื่อมต่อระบบขนส่งชั้นนำ เช่น Flash Express, Kerry, SCG Express เป็นต้น

ฟีเจอร์ที่ 2 “จัดการร้านค้ากับแม่มณี” รับชำระเงินผ่านสแกน QR CODE และรับชำระเงินผ่านบัตรเครดิต เดบิต และระบบผ่อน ฟีเจอร์ที่ 3 "มณี Academy" เรียนคอร์สออนไลน์สะสม Point แลกของรางวัล และ "มณี Rewards" ใช่จ่ายแล้ว ได้สะสมคะแนนเอาไปแลกรางวัล ฟีเจอร์ที่ 4 "สินเชื่อ มณีทันใจ" หมดปัญหาจ่ายก่อน ไม่มีเงินหมุน ช่วยต่อยอดธุรกิจพร้อมรับวงเงินสูง

อ่านเนื้อหาเพิ่มเติม https://www.posttoday.com/economy/news/670799