posttoday

ไฟเบอร์บรอดแบนด์: อนาคตสำหรับประเทศไทย

03 ธันวาคม 2564

ในช่วงปีที่ผ่านมา วิกฤตด้านสุขภาพได้สร้างความท้าทายมากมายต่อเศรษฐกิจ แต่ในขณะเดียวกัน ก็ช่วยเร่งให้เกิดการร่วมมือกันในการสร้างระบบนิเวศที่มาจากการเชื่อมต่อหลายระบบหลายบริการเข้าด้วยกัน (digital ecosystem) รวมทั้งการนำชุมชนมารวมกันและสร้างโอกาสสำหรับคิดค้นต้นแบบนโยบายและข้อบังคับใหม่ๆ และการประยุกต์การเชื่อมต่อที่ครอบคลุมและยืดหยุ่น เพื่อรองรับเศรษฐกิจดิจิทัล ในขณะที่ประเทศไทยกำลังมุ่งยกระดับรายได้ต่อหัวให้ใกล้เคียงกับประเทศที่มีรายได้ปานกลางในระดับสูง และลดอัตราการว่างงาน ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้หญิง ชาวบ้าน และเยาวชนเป็นพิเศษในช่วงสถานการณ์นิวนอร์มัลนี้ รัฐบาลจึงตระหนักถึงความจำเป็นของการเปลี่ยนจากเศรษฐกิจที่มีเทคโนโลยีต่ำและพึ่งพาการท่องเที่ยวและการเกษตร ไปสู่เศรษฐกิจที่มีความหลากหลายมากขึ้น มุ่งเน้นไปที่ภาคบริการและอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูง

ผลการศึกษาของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 ชี้ให้เห็นว่า บรอดแบนด์เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญต่อการเติบโตของ GDP ของประเทศ (เมื่อมีการเข้าถึงระบบบรอดแบนด์เพิ่มขึ้น 10% จะทำให้ GDP ต่อหัวเพิ่มขึ้น 1.38% ในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ และเพิ่มขึ้น 0.85% ในประเทศที่พัฒนาแล้ว) นอกจากนี้ ดัชนีรวม (composite index) ที่รวบรวมมิติทั้งหมดของเศรษฐกิจดิจิทัลก็แสดงผลที่คล้ายคลึงกัน คือ การเพิ่มขึ้น 10% ของดัชนีดิจิทัล ทำให้ GDP เพิ่มขึ้น 1.54% สำหรับประเทศในกลุ่ม OECD และ 1% สำหรับประเทศนอกกลุ่ม OECD นอกจากนั้น ดัชนีดิจิทัลยังสัมพันธ์กับการเพิ่มผลผลิตแรงงาน (การเพิ่มขึ้น 1% ในดัชนีดิจิทัลส่งผลต่อการเพิ่มผลผลิตแรงงาน 0.25%) และผลผลิตองค์รวม (การเพิ่มขึ้น 1% ในดัชนีดิจิทัลส่งผลต่อการเพิ่มผลผลิตองค์รวม 0.19%)

ไฟเบอร์บรอดแบนด์: อนาคตสำหรับประเทศไทย

การเปิดตัวโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของ Giga Thailand อาทิ บรอดแบนด์, 5G, คลาวด์ และ AI มีความสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย และการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลทั่วโลก ประเทศเศรษฐกิจชั้นนำเกือบทั้งหมดได้ประกาศโครงการสนับสนุนนวัตกรรมโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ตัวอย่างเช่น กลยุทธ์ “China 2025” ของจีน ซึ่งการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานใหม่จะเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลจีนมีแผนจะลงทุน 2.57 ล้านล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2568

สำหรับประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2563 ถึง 2564 อัตราส่วนของบริษัทไทยที่ใช้คลาวด์เพิ่มขึ้นจาก 59% เป็น ็H็78% และภายในปี 2573 คาดว่าเศรษฐกิจดิจิทัลจะมีสัดส่วนถึง 30% ของ GDP ของประเทศ ซึ่งจะทำให้เกิดข้อกำหนดใหม่สำหรับการวางรากฐานโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT ของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่จะนำไปใช้เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมและให้ครอบคลุมไปถึงพื้นที่ชนบท ปัจจุบัน มีการใช้งานไฟเบอร์บรอดแบนด์และเครือข่าย Wi-Fi ที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในมากกว่า 40,000 หมู่บ้านในประเทศไทย ผ่านโครงการ USO NET ซึ่งช่วยลดช่องว่างทางการศึกษาระหว่างเมืองและชนบท พัฒนาทักษะดิจิทัลของชาวบ้าน และสนับสนุนการพัฒนาอีคอมเมิร์ซ

ปัจจุบัน มีผู้ให้บริการรายใหญ่ในประเทศไทยอยู่ในระหว่างดำเนินการเปิดตัวเครือข่ายอัลตร้าบรอดแบนด์ (ultra-broadband network) แต่ขณะเดียวกัน ผู้ให้บริการก็ยังความกังวลเกี่ยวกับการพัฒนาไฟเบอร์เต็มรูปแบบ การพัฒนา 5G และผลตอบแทนจากการลงทุน ทั้งนี้ ไฟเบอร์เต็มรูปแบบเป็นเพียงวิสัยทัศน์ที่แสดงถึงให้เห็นถึงความสำคัญของเครือข่ายไฟเบอร์ต่อการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ซึ่งไม่ได้หมายความว่า ไฟเบอร์จะเข้ามาแทนที่เครือข่ายไร้สายทั้งหมด แต่เป็นการช่วยเติมเต็มเครือข่ายทั้งหมดให้สมบูรณ์มากขึ้น รองรับบริการดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ และเพิ่มมูลค่ารากฐานดิจิทัลให้สูงสุด หากไม่มีเครือข่ายไฟเบอร์ การบริการประมวลผลแบบคลาวด์และการให้บริการที่เข้าใกล้กับผู้ใช้งานมากที่สุด (multi-access edge computing services) จะเกิดขึ้นได้ยาก

ไม่เพียงแต่องค์กรเอกชนเท่านั้นที่จะสร้าง Giga Thailand ที่ฉลาดและสามารถเชื่อมต่อได้อย่างประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ต้องรวมถึงภาครัฐด้วย โดยจะปราศจากความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแบบอัลตร้าบรอดแบนด์ เมื่อการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (public-private partnership) เป็นไปอย่างกว้างขวาง ยกตัวอย่างเช่น กลยุทธ์ “Broadband China” ของจีน ที่กระตุ้นการเปิดตัวไฟเบอร์แบบเต็มรูปแบบในจีนแผ่นดินใหญ่ และกลยุทธ์ “Broadband Nation” ของสิงคโปร์ ที่ทำให้การนำสายใยแก้วนำแสงส่งตรงถึงบ้าน (Fiber to the Home: FTTH) ครอบคลุมมากกว่า 99% และการเข้าถึงบริการถึง 99% เป็นต้น ผู้ประกอบการและรัฐบาลรุ่นบุกเบิกได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า การพัฒนาไฟเบอร์แบบเต็มรูปแบบสามารถสร้างผลกำไรมหาศาลและการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างโดดเด่น ดังนั้น ในการทำวันนี้ให้ดีที่สุดเพื่ออนาคตที่ดีกว่า โครงสร้างพื้นฐานแบบไฟเบอร์เต็มรูปแบบจะมีความสำคัญในลำดับต้นๆ ของประเทศไทยในทศวรรษหน้า เพื่อยกระดับการเชื่อมต่อระดับกิกะบิตไปทั่วประเทศไทย