posttoday

มิตรผล-GC มอง BCG Model เครื่องยนต์ตัวใหม่ขับเคลื่อนอนาคตประเทศไทย

24 พฤศจิกายน 2564

มิตรผล-GC ฉายภาพอนาคตเศรษฐกิจประเทศไทย ผ่านเ 'BCG โมเดล' เร่งสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าตลอดซัพพลายเชนเพิ่มขีดแข่งขันส่งออกใหม่ ตอบโจทย์เทรนด์ฺโลก 'ยั่งยืน-เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม'

จากงานสัมมนาออนไลน์ 'BCG : The New Growth Engine พลังขับ เคลื่อนเศรษฐกิจไทย' จัดโดยโพสต์ทูเดย์ ร่วมกับองค์กรรัฐและเอกชนระดับประเทศ พร้อมด้วยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิร่วมถ่ายทอดทิศทาง แนวโน้ม โมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Economy) ที่จะเข้ามาขับเคลื่อนอนาคตประเทศไทย ให้เติบโตอย่างยั่งยืน

มิตรผล ร่วมสร้าง ระบบนิเวศ BCG โมเดล

นายประวิทย์ ประกฤตศรี ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กลุ่มธุรกิจใหม่ บริษัท มิตรผล จำกัด กล่าวเสวนาในหัวข้อ "เปิดมุมมองธุรกิจ BCG เทรนด์โลกที่ธุรกิจต้องปรับตัว" ว่า บริษัทให้ความสำคัญพร้อมดำเนินการในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 5-6 ปีที่ผ่านมา ด้วยมองว่า บีซีจี อีโคโนมี จะตอบโจทย์ภาพใหญ่เศรษฐกิจประเทศด้านต่างๆในอนาคต ด้วยสอดคล้องกับแนวโน้ม(เทรนด์)ของโลก

โดยกลุ่มมิตรผล ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในคณะทำงาน บีซีจี อีโคโนมี โมเดล ในฐานะผู้ผลิตวัตถุดิบพืชพลังงานรายใหญ่ จากการนำศาสตร์ด้านการวิจัยและพัฒนาเข้ามาปรับใช้ร่วมกับกระบวนการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกพร้อมต่อยอดไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างคุณค่าห่วงโซ่ในทุกภาคส่วนตั้งแต้ต้นน้ำ-ปลายน้ำในภาคการเกษตร

"CG จะเป็นหัวหอกสำคัญที่จะเชื่อมโยงธุรกิจในทุกภาส่วนตั้งแต่ต้นทางการเกษตรต่อยอดไปจนถึงคุณภาพ สตรีท ฟู้ด ให้มีการเชื่อมโยง ไปต่อยังการท่องเที่ยว และ ชีวพลังงาน ยา เวชภัณฑ์ ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องไปจนถึงเศรษฐกิจหมุนเวียน เซอร์คูลาร์ อีโคโนมี การนำของเหลือที่เกิดขึ้นในภาคอุตสาหกรรมมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์นำกลับมาใช้ได้ต่อ ที่จะสอดคล้องไปยังเรื่อง กรีน เพื่อมีส่วนร่วมในการลดโลกร้อน และนำไปสูเน็ต ซีโร่ ในอนาคต" นายประวิทย์ กล่าว

นายประวิทย์ กล่าวว่ากลุ่มมิตรผลได้ปรับตัวธุรกิจเพื่อรองรับแนวโน้มโมเดลเศรษฐกิจใหม่อย่างต่อเนื่องถึงในปัจจุบัน โดยให้ความสำคัญในด้านการเพิ่มมูลค่าจากของเสียเพื่อลดการเกิดของสียให้เป็นศูนย์ ไปพร้อมกับดูแลพันธมิตรเกษตรกรชาวไร่ บนพื้นที่กว่า 2พันไร่ให้สามารถเพิ่มคุณภาพผลผลิตไปได้สู่ 18-20ตันต่อไร่ในอนาคต ด้วยการนำนวัตกรรมด้านต่างๆมาปรับใช้ เริ่มตั้งแต่ การบริหารจัดการระบบ การนำพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน ระบบการส่งน้ำ ฯลฯ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม กลุ่มมิตรผลไม่ได้เป็นผู้ผลิตน้ำตาลเพียงอย่างเดียว แต่ยังได้ต่อยอด By Products ไปสู่ภาคพลังาน พร้อมมุ่งไปสู่ Bioactive Compound รวมถึงการเป็นผู้ผลิตอาหารแห่งอนาคต ซึ่งในกลุุ่มผู้ผลิตสินค้าเหล่านี้จะต้องมุ่งให้ความสำคัญในเรื่องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอนาคตไปพร้อมกับการวิจัยทั้งข้างในและข้างนอก

นอกจากนี้ บริษัทยังให้ความสำคัญในกรรมวิธีการผลิตอาหารเพื่อความยั่งยืน รวมถึงมองหาตัวกลางที่จะเข้ามเชื่อมต่อด้าน Green Chemical เคมีสีเขียว ที่เปลี่ยนผ่านจากเอทานอลมาเป็นเอทิลีน โดยร่วมกับพันธมิตรด้านต่างๆ เพื่อพัฒนาผลผลิตให้มีต้นทุนเหมาะสมให้ ลูกค้าหาซื้อได้ โดยสืบค้นที่มาผลผลิตจากต้นทางได้ว่าเป็นวัตถุดิบทื่เป็นมิตรกับสิ่งเวดล้อม อยู่ในพื้นที่เพาะปลูกที่ลดคาร์บอน ฟุตปรินต์ เป็นต้น

นายประวิทย์ กล่าวว่าการจะขับเคลื่อนประเทศไทยภายใต้โมเดลเศรษฐกิจใหม่ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีส่วนร่วมในทุกภาส่วน โดยปัจจุบันมีหน่วยงานองค์กรต่างๆหันมาให้ความสำคัญในเรื่องนี้ พร้อมเสริมความแข็งแกร่งจากภายในไปสู่ภายนอก มีการทำวิจัยและพัฒนาเพื่อต่อยอดให้เป็นที่ยอมรับ ด้วยผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ค่อนข้างมีมูลค่าสูงกว่าเมื่อเทียบกับสินค้าปกติอื่นๆทั่วไป

"การดำเนินการจะต้องผ่านาง/กลยุทธ์ด้านต่างๆ ทั้งลดต้นทุนพลังงานทดแทนให้มีราคาต่ำลง การลดความเหลื่อมล้ำระหว่างกลุ่มที่รับประโยชน์ เช่น ชาวไร่ มีการเพิ่มผลผลิตราคาสินค้าให้กับมัน อ้อย ซึ่งเป็นพืชพลังงานหลักมีราคาค่อนข้างดี แต่ที่ยังต้องพัฒนาไปอีกมากคือ ข้าว ไปพร้อมยกระดับภาคเกษตรกรรมด้านต่างๆ โดยไม่กระทบด้านสิ่งแวดล้อม จากการแปรรูป เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้สามารถส่งออกทดแทนได้ ซึ่งจะเป็นอนาคตของบีซีจีโมเดล" นายประวิทย์ กล่าว

นอกจากนี้ กลุ่มมิตรผล ยังให้ความสำคัญต่อระบบนิเวศ (Eco System) ผ่านการทำงานร่วมกับสตาร์ทอัพ รุ่นใหม่ เพื่อต่อยอดพร้อมพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆออกมารองรับตลาดในอนาคต ด้วยมองว่าการผลักดันเรื่องดังกล่าวจะต้องขับเคลื่อนไปพร้อมกันในทุกภาคส่วนทั้งบริษัทเล็ก กลาง ใหญ่ ด้วยไม่สามาถทำคนเดียวได้ผ่านโครงการต่างๆที่เกิดขึ้น ตั้งแต่ต้นทางการผลิตไปสู่ปลายทางการบริโภคได้ในรูปแบบกรีน โปรดักส์ เพื่อรองรับตลาดในอนาคตอย่างยั่งยืน

GC มอง BCG Model เครื่องยนต์เศรษฐกิจใหม่ไทย

ดร.ชญาน์ จันทวสุ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริหารความยั่งยืนและภาพลักษณ์องค์กร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC กล่าวเสวนาหัวข้อ "เปิดมุมมองธุรกิจ BCG เทรนด์โลกที่ธุรกิจต้องปรับตัว" ว่าจากการศึกษาบีซีจี โมเดล พบว่าเทรนด์โลกเปลี่ยนไปตามพฤติกรรมของผู้บริโภคยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตลอดช่วง2ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้บริโภคให้ความสำคัญต่อ BCG Economy เป็นอย่างมาก

"ผู้บริโภค มีความต้องการประโยชน์จากสินค้าในกลุ่มอีโคมากขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมตลาด กรีน อีโค มีความสำคัญตามมา ที่จะขยายต่อไปยังทิศทางในภาคอุตสาหกรรมบีซีจี ที่ภาครัฐมีนโยบายเข้ามาสนับสนุน ทำให้เกิดการลงทุนในประเทศ ด้วยมองว่าประเทศไทยมีความพร้อมต่อเรื่องนี้จากจุดแข็งวัตถุดิบ ผลผลิตทางการเกษตรต่างๆ ผ่านการเพิ่มมูลค่าเพื่อนำมาเป็นเชื้อเพลิงเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งไทยจะต้องต่อห่วงโซ่ซัพพลานเชนให้สมบูรณ์แบบ" ดร.ชญาน์ กล่าว

ขณะที ในด้านตัวซี (C-Circular) มองว่าทุกภาคอุตสาหกรรม ต่างมองเห็นโอกาสในกลุ่มนี้เช่นกัน จากการนำทรัพยากรต่างๆ นำกลับมาใช้ซ้ำเพื่อเพิ่มมูลค่าตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในภาคอุตสากรรม ที่จะได้รับประโยชน์สูงสุด จากการลดต้นทุนและนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างคุ้มค่า รวมถึงการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green) ถือเป็นอีกหนึ่งกระแสโลกที่มาแรง และสอดคล้องกับแผนใหญ่ของประเทศไทยสู่การเป็น Net Zero ในปี 2050 หรือ คาร์บอน นิวทรัล ในทุกภาคส่วนอุตสาหกรรม

นอกจากนี้ ยังมองว่า บีซีจี จะยังเป็นอีกหนึ่งโมเดลเศรษฐกิจสำคัญที่ผลักดันไปสู่การต่อยอดเพื่อการแข่งขันในการส่งออกสินค้าเหล่านี้ไปยังระดับภูมิภาค และ ระดับโลกได้อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะการสร้างความต้องการในตลาด ไบโอ พล่าสติก ให้เกิดขึ้นในระดับประเทศ ผ่านการสร้างตลาดใหม่ๆ ที่ไม่ได้จำกัดเฉพาะด้านบรรจุภัณฑ์ ผ่านภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศที่จะต้องมีกระบวนการทำงานที่สอดคล้องกับแผนคาร์บอน นิวทรัล เพื่อตอบโจทย์เทรนด์ใหญ่ดังกล่าว

"ตลอดช่วงที่ผ่านมา จีซี ได้มีการปรับตัวตามเทรนด์ของโลก ด้วยการมองหาวัตถุดิบในประเทศเพื่อสร้างซัพพลายเชน พร้อมตอบโจทย์ดีมานด์ในเอเชีย พร้อมปรับวิธีคิดเพื่อการรีไซเคิลวัสดุบรรจุภัณฑ์ระดับ ฟู้ด เกรด หรือกลุ่มอื่นๆให้นำกลับมาสู่โรงงานรีไซเคิล เพื่อลดปัญหาพลาสติกลงได้ เช่นกัน" ดร.ชญาน์ กล่าว

โดย จีซี ยังมุ่งให้ความสำคัญต่อเรื่องดังกล่าวมาโดยตลอดช่ววที่ผ่านมา ผ่านแผนงานโครงการต่างๆภายใต้งบประมาณตามแต่ระยะเวลาที่วางไว้ พร้อมวางแผนระยะยาวรองรับโดยภายใน 30ปีคาดใช้งบในเรื่อง Net Zero ไม่ต่ำกว่า 7แสนล้านบาท ผ่านการลงทุนในโครงการ ธุรกิจใหม่ๆ เป็นต้น รวมถึงมีการลงทุนในบริษัทระดับโลก ราวหนึ่งแสนห้าหมื่นล้าน ตลอดจนการปรับพอร์ทธุรกิจใหม่ เพื่อสร้างสมดุลธุรกิจและการดูแลสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน

"ในส่วนที่จีซี ดำเนินการมีทั้งเงินที่ลงทุนไปกลับมาที่จะเป็นมูลค่าเพิ่ม แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้ดีขึ้น การลงทุนเพื่อประหยัดพลังงาน ที่จะส่งผลดีให้กับบริษัท โดยมีไม่ต่ำกว่า 100-200 โครงงการ คิดเป็นมูลค่ารวมกว่าหลายพันล้านบาทในด้านผลิตภัณฑ์ เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภค ไปพร้อมกับการลด คาร์บอน ฟุตปรินท์" ดร.ชญาน์ กล่าว

สำหรับในภาพรวมมองว่า BCG จะเป็นเครื่องยนต์ตัวใหม่ถัดไปของประเทศ ที่เปิดโอกาสไปสู่การลงทุนใหม่ๆ ในทุกภาคอุตสาหกรรมได้ตลอดทั้งซัพพลายเชน ที่จะต้องเร่งพัฒนาร่วมกันเพื่อขยายขีดความสามารถของประเทศเพื่อการส่งออกได้ในอนาคตได้มากขึ้น โดยบูรณาการทุกด้านซึ่งรวมไปถึงการดูแลกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอี ทางด้านเทคโนโลยีไปพร้อมกัน

รับชมเนื้อหาเพิ่มเติม

หัวข้อ BCG : The New Growth Engine พลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดย คุณสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวปาฐกถา 

หัวข้อ "BCG Model จุดเปลี่ยนอนาคตอุตสาหกรรมไทย" โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ คุณวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ คุณเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 

ผ่านสตรีมมิง เฟซบุ๊ค Post Today https://www.facebook.com/Posttoday/videos/271965754881628