posttoday

ดัชนีความสุขเกษตรกรปี 53อยู่ระดับปานกลาง

24 ธันวาคม 2553

สศก. ระบุดัชนีความสุขเกษตรกรไทย  79.93  มีความสุขปานกลาง  หนี้สินยังมากกว่ารายได้

สศก. ระบุดัชนีความสุขเกษตรกรไทย  79.93  มีความสุขปานกลาง  หนี้สินยังมากกว่ารายได้

นายอภิชาต  จงสกุล  เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(สศก.)  เผยผลสำรวจ คุณภาพชีวิตเกษตรกรในปี  53 พบว่า  ดัชนีความผาสุกของเกษตรกรมีค่าเท่ากับ  79.93 %     จาก คะแนน  100 คะแนน    จัดอยู่ในระดับการพัฒนาปานกลาง เพิ่มขึ้นจากปี  52  ที่  0.47%   อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่าผลการพัฒนายังไม่สร้างความสมดุล เนื่องจากดัชนีด้านสุขอนามัยและด้านสังคมอยู่ในระดับดีมาก   แต่ด้านเศรษฐกิจและด้านสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับต้องปรับปรุง และด้านการศึกษา อยู่ในระดับต้องเร่งแก้ไข  

“  ทั้งนี้พบว่าในปี  53 ที่ผ่านมา รายได้ของครัวเรือนเกษตร อยู่ที่  140,844  บาทต่อครัวเรือนต่อปี  เป็นรายได้จากการเกษตร  57,322 บาทต่อครัวเรือนต่อปี และมีหนี้สินอยู่ที่  68,158 บาทต่อครัวเรือนต่อปี “  นายอภิชาตกล่าว

ทั้งนี้พบว่า ด้านเศรษฐกิจนั้นดัชนีเศรษฐกิจอยู่ในระดับ  68.06%  อยู่ในระดับต้องปรับปรุง แต่เพิ่มขึ้นจากปี 52 ที่อยู่ที่ระดับ 67.63     ทั้งรายได้ครัวเรือน การออม และหนี้สินครัวเรือน  ด้านสุขอนามัย อยู่ที่ระดับ 98.56% หรือระดับดีมาก เพิ่มขึ้นจากปี  52  ที่  0.45   เนื่องจากรัฐมีนโยบายด้านคุณภาพอาหาร การให้บริการด้านความรู้ในการดูแลสุขภาพของประชาชนอย่างกว้างขวาง รวมทั้งเกษตรกรส่วนใหญ่มีที่อยู่อาศัยที่ถูกสุขลักษณะ   ด้านการศึกษา อยู่ที่ระดับ58.62 หรือ ระดับที่ต้องเร่งแก้ไข  แต่เพิ่มขึ้นจากปี  52 ที่  0.77   โดยตัวชี้วัดที่สำคัญคือ สมาชิกครัวเรือนได้รับการศึกษาสูงกว่าภาคบังคับที่ดัชนี   53.00  เท่ากับปี  52   เนื่องจากมีปัญหาเรื่องค่าครองชีพ  เกษตรกรได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีในระดับที่  63.33 จากปี 52 ที่อยู่ในระดับ  62.00  แต่ถือว่าเป็นระดับที่ค่อนข้างต่ำเมือเทียบกับจำนวนแรงงานภาคเกษตร ด้านสังคม ดัชนีอยู่ที่  91.91 ระดับที่ดีมาก  เพิ่มขึ้นจากปี  52 ทีอยู่ที่ระดับ  91.52   เนื่องจากเกษตรกรมีความภูมิใจในอาชีพมาขึ้น แต่เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ ทำให้ได้รับผลกระทบต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นทั้งปุ๋ย และน้ำมัน    ซึ่งในครัวเรือนเกษตรมีความอบอุ่นมากขึ้น

มี การรวมกลุ่มมากขึ้น และผู้สูงอายุได้รับการเอาใจใส่มากขึ้น ซึ่งนโยบายด้านสังคมต้องมีการสนับสนุนในเรื่องนี้ต่อไป  ด้านสิ่งแวดล้อม  ค่าดัชนีอยู่ที่  67.11  อยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุง ในปี  52 อยู่ที่  66.52   ตัวชี้วัดคือพื้นที่ป่าไม้ทั้งหมดอยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุง  ร่วมทั้งการฟื้นฟูและการอนุรักษ์ทรัพยากรดิน ยังมีการดำเนินการน้อยเมื่อเทียบกับพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมทั้งหมดของประเทศ     

นายสาโรจน์ อังศุมาลิน คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กล่าวว่า   แม้ว่าสินค้าเกษตรไทยจะมีราคาสูงขึ้นแต่ต้องดูด้วยว่าเกษตรกรผู้ผลิตได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสมหรือไม่เนื่องจากผลการศึกษาพบว่า รายได้ของครัวเรือนเกษตรกรมาจากรายได้ภาคเกษตรไม่ถึง50% นอกนั้นรายได้มาจากทางอื่น เพราะฉะนั้นหากรายได้ไม่มั่นคง ไม่จูงใจอนาคตไทยจะมีปัญหาวัยแรงงานภาคเกษตรที่ลดลง มาตรการประกันรายได้เกษตรกรของรัฐบาลไม่ได้แก้ไขทั้งหมด เพราะเมื่อการประกันรายได้เกิดทำให้ผู้ค้าเกิดความเสี่ยงในการจัดซื้อทำให้ผู้ค้ามากดราคารับซื้อ กลายเป็นว่ารัฐก็ต้องไปจ่ายเงินแทนในส่วนนี้     อย่างไรก็ตามจากปัญหาอุทกภัยนั้น รัฐบาลต้องเร่งสร้างโครงการประกันพืชผลสินค้าเกษตร เพราะมิเช่นนั้นต่อไปรัฐบาลจะมีปัญหาด้านการเงินเพราะนำมาช่วยเหลือไม่ไหว