posttoday

'ซีอาร์จี' ตรึงราคาอาหารสวนต้นทุนธุรกิจร้านอาหารยุคโควิด-รับล็อคดาวน์-เดลิเวอรี ปรับสูงขึ้น 6%

17 สิงหาคม 2564

'ซีอาร์จี' 'โชว์กลยุทธ์ธุรกิจร้านอาหารในเครือ 'TCC' ปรับเมนู-ตรึงราคาเพิ่มความถี่ แข่งรุนแรงเดลิเวอรีช่วงล็อคดาวน์ หวังความสามารถรัฐบาลฟื้นสถานการณ์โควิด ทันหน้าขายไตรมาส4ปีนี้

'ซีอาร์จี' ตรึงราคาอาหารสวนต้นทุนธุรกิจร้านอาหารยุคโควิด-รับล็อคดาวน์-เดลิเวอรี ปรับสูงขึ้น 6%

นายธนพล ธรรพสิทธิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส กลุ่ม Thai & Chinese Cuisine หรือ TCC บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด เปิดเผยว่าจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิดและการออกมาตรการล็อคดาวน์ เป็นระยะตั้งแต่ปี2563 ถึงล่าสุดในเดือนส.ค. 2564 ส่งผลกระทบภาพรวมการบริหารจัดการธุรกิจปรับเพิ่มขึ้น โดยปกติต้นทุนขาย (COGS) อยู่ที่ราว 38-40% และเมื่อสัดส่วนการขายเดลิเวอรีเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน ทำให้ต้อวบวกต้นทุนค่าแพคเกจจิง และ จีพี ให้กับแอปพลิเคเตอร์ ปัจจุบันอยู่ที่ 45% ซึ่งจากสัดส่วนดังกล่าว สะท้อนต้นทุนที่เพิ่มขึ้นราว 5-6% แต่ในส่วนของโอเปอเรชัน คอสต์ ไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้น

จากแนวโน้มดังกล่าว บริษัทได้ปรับกลยุทธ์การบริหารธุรกิจร้านอาหารในเครือ TCC รอบด้าน อาทิ ปรับรูปแบบรายการอาหาร(มนู) ที่รับประทานง่าย ไม่ยุ่งยาก ปรับลดราคาบางเมนู เป็นต้น เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคได้สะดวกและเพิ่มความถี่ในการสั่งอาหารผ่านเดลิเวอรี หรือ ซื้อกลับบ้าน(เทคอเวย์)ต่อวัน ในช่วงล็อคดาวน์ เพื่อรองรับพฤติกรรมผู้บริโภคปัจจุบัน ทีนิยมสั่งอาหารในเกือบทุกมื้อ/วัน เป็นจำนวนมากขึ้น จากปกติในช่วงที่ผ่านมา เฉลี่ยสั่งอาหารมารับประทาน หรือ ใช้บริการเดลิเวอรี เฉลี่ย 1-2 ครั้ง/สัปดาห์ รวมถึงในธูรกิจบริการเดลิเวอรี ที่แข่งขันสูงในปัจจุบัน

สำหรับภาพรวมธุรกิจร้านอาหารในครึ่งหลังปี 2564 นั้นมองว่ายังมีความท้าทายต่อเนื่อง จากผลกระทบของการระบาดโควิด-19 ทำให้ธุรกิจร้านอาหารต้องปรับตัวเพื่อรับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน ทั้งจากมาตรการการควบคุมการระบาดของภาครัฐ และกำลังซื้อของผู้บริโภคซึ่งก็ได้รับผลจากการปรับตัวของการจ้างงานเช่นเดียวกัน โดยรวมแล้วคาดการณ์ว่า ธุรกิจร้านอาหารที่มีมูลค่าประมาณ 4 แสนล้านบาท จะขยายตัวเพียง 1.4 – 2.6%

"มองในภาพรวมที่ดีสุดเชื่อว่ารัฐบาลจะสามารถคลี่คลายแก้ปัญหาโควิด ได้ทันก่อนเข้าสู่หน้าขายในไตรมาสสี่ ซึ่งเป็นช่วงฤดูกาลแห่งการเฉลิมฉลอง ที่จะส่งผลให้กลุ่มธุรกิจร้านอาหารเริ่มฟื้นคืนกลับมา และส่งผลต่อถึงในปี2565 ที่ธุรกิจร้านอาหารหลายแบรนด์จะหันมาเปิดสาขาหน้าร้านตามแผนเดิมที่วางไว้" นายธนพล กล่าว

ขณะที่ ซีอาร์จี จะมุ่งใน 4 กลยุทธ์สำคัญ คือ 1.แผนการบริหารจัดการต้นทุน มุ่งเน้นบริหารจัดการ อาทิ พัฒนาทักษะพนักงาน ( Multi-Function) 2. กลยุทธ์การตลาด เชิงรุกต่อเนื่อง เพื่อให้แบรนด์เป็นส่วนหนึ่งของผู้บริโภค 3.เลือกใช้ผู้นำเทรนด์ เนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคคนรุ่นใหม่ รับรู้จากสื่อออนไลน์ เป็นต้น และ 4. โปรโมชั่นส่งเสริมการขาย แบรนด์ TCC เน้นเรื่องความแตกต่าง โปรโมชั่น ราคา และภาพลักษณ์ของสินค้า เข้าถึงลูกค้ามากที่สุด

สำหรับผลดำเนินงานของ TCC ปี 2564 ในครึ่งปีแรก มีอัตราเติบโตขึ้น 10% จากตัวเลขรายได้ในปี 2653 อยู่ที่ประมาณ 270 ล้าน ซึ่งการเติบโตมาจากการพัฒนาโมเดลใหม่เพิ่มเติม อาทิ คีย์ออส (Kiosk) รวมถึงการขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง โดยแผนงานครึ่งปีหลังทางกลุ่ม ยังได้แบ่งสัดส่วนช่องทางการจัดจำหน่ายเอาไว้อย่างชัดเจนทั้ง ช่องทาง การนั่งทานที่ร้านและซื้อกลับบ้าน และ เดลิเวอรี

จากในปี 2563 การนั่งทานที่ร้านและซื้อกลับบ้าน มีสัดส่วนที่ 70 % ขณะที่ปี 2564 ปรับลดสัดส่วนลงมาที่ 60 % ด้านช่องทางการขาย เดลิเวอรี่ ในปี 2563 มีสัดส่วน 30 % ส่วนในปี 2564 อยู่ที่ 40 %

ปัจจุบันกลุ่มธุรกิจร้านอาหาร TCC มีแบรนด์ร้านอาหารไทยและจีน อาทิ ไทยเทอเรส (17 สาขา) อร่อยดี(33 สาขา) เกาลูน (10 สาขา) ส้มตำนัว(7 สาขา) และ โตเกียว โบวล์ (Tokyo Bowl) รูปแบบ Virtual Brand (50 สาขา)