posttoday

โควิด-19ไทยเผชิญสายพันธุ์ 'เดลตา' ครอบคลุมกว่า 77% เร่งฉีดวัคซีน24 ชั่วโมงคู่ล็อคดาวน์ ก่อนระบบสาธารณสุขไทยล่มสลาย

08 กรกฎาคม 2564

เมดพาร์ค อิงวิจัยทางการแพทย์ 'อังกฤษโมเดล' คิดนอกกรอบระดมฉีดวัคซีนเข็มแรกให้ประชาชนมากที่สุดคุมติดเชื้่อ-สร้างภูมิต้าน ก่อนตามเข็มสองและสาม ชี้สถานการณ์โควิด-19ในไทย สะท้อนความสามารถคุมแพร่ระบาด ทำระบบสาธารณสุขล้มเหลว

ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย ล่าสุดในวันนี้ (8 ก.ค.) ทุบสถิติทำนิวไฮสูงสุดอยู่ที่ +7,058 ราย และยังเป็นยอดการติดเชื้อเพิ่มขึ้นขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ประกาศราชกิจจานุเบกษา มาตรการล็อกดาวน์กรุงเทพมหานคร-ปริมณฑล และอีก 9 จังหวัด ไปเมื่อวันที่ 28 มิ.ย.ที่ผ่านมา

ผศ. นพ. มนต์เดช สุขปราณี แพทย์อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ โรงพยาบาลเมดพาร์ค เปิดเผยว่าแนวทางการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ใน ประเทศไทยในขณะนี้จำเป็นก็จะต้องระดมฉีดวัคซีนเข็มแรกใหักับประชาชนคนไทยให้ได้มากและรวดเร็วที่สุด โดยไม่กำหนดระดับเพดาน( Ceiling)การฉีดวัคซีนต่อวัน โดยควบคู่ไปกับการล็อคดาวน์ประเทศอย่างจริงจัง

ด้วยแนวทางดังกล่าว อ้างอิงจากผลการศึกษาในหลายประเทศแถบยุโรป โดยเฉพาะประเทศอังกฤษจากในช่วงก่อนหน้าที่มีการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 สายพันธุ์อัลฟ่า อย่างหนักกระทั่งนำไปสู่วิกฤตด้วยมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้รัฐบาลอังกฤษตัดสินใจ "คิดนอกกรอบ" เร่งระดมฉีดวัคซีนหลัก Astrazeneca (แอสตราเซเนกา) เข็มแรกให้กับประชาชนทั้งประเทศอย่างรวดเร็วและทั่วถึงมากที่สุด เพื่อสร้างภูมิต้านทานและลดความรุนแรงของผู้ป่วยหากติดเชื้อโควิด-19 สายพันธ์ดังกล่าว และได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจก่อนที่ประเทศอังกฤษจะเผชิญกับสถานการณ์ กสายพันธุ์โควิด-19 สายพันธ์เดลตา อีกครั้ง

"ตัวเลขหรือเป้าหมายการฉีดวัคซีนของไทย ที่เคยวางไว้ว่าจะต้องฉีดให้ได้จำนวนเท่านี้ อาจต้องกลับมาทบทวนใหม่ทั้งประสิทธิภาพวัคซีน และการควบคุมจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ จำนวนผู้มีอาการโคม่า หรือ ผู้เสียชีวิต เพราะหากยังมีจำนวนผู้ติดเชื้อในทุกด้านเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ถือเป็นตัวบ่งชี้ว่ามาตรการการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ในประเทศยังไม่มีประสิทธิภาพ ที่จะส่งผลให้ระบบสาธารณสุขของไทยล่มสลายตามมา" ผศ. นพ. มนต์เดช กล่าว

ขณะเดียวกัน ยังต้องเร่งความสามารการจัดการและควบคุมการแพร่ระบาดโควิดทั้งประสิทธิภาพวัคซีน และการล็อคดาวน์ อย่างในเวลานี้ ที่ไทยเคยวางเป้าฉีดวัคซีนไว้ 1 ล้านโดส ก็จะต้องเพิ่มเป็นสองล้าน สามล้าน โดส ให้เร็วที่สุด โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆที่เกิดขึ้นในขณะนี้ที่จำเป็นต้องขยับเป้าหมายให้ใหญ่ขึ้น คือ ลดอัตราการตาย ลดอัตราการป่วยให้ได้มากที่สุด

"ประสบการณ์จากอังกฤษสอนเราว่า ต้องระดมฉีดวัคซีนให้กับประชาชนให้กว้างขวางมากที่สุดด้วยวีคซีนเข็มเดียวก่อน ไม่ว่าจะเป็นแอสตราเซเนกา หรือ ไฟเซอร์ เพื่อช่วยให้เรามีเวลาอย่างน้อยสามเดือนก่อนจะกลับมาฉีด ข็มที่้2 หรือ 3 ก็เพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยให้ได้มากที่สุด ซึ่งมีตัวอย่างในประเทศภูฎาน ที่เร่งฉีดวัคซีนให้คนทั้งประเทศเกือบตลอด 24 ชั่วโมง ให้ได้ครบภายในสองสัปดาห์ ซึ่งเป็นความร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วนแบบไม่มีวันหยุด ไม่มีกลางวัน ไม่มีกลางคืน จากเดิมที่เคยใช้เวลาหนึ่งเดือน ก็เหลือเพียงครึ่งเดือน อย่างของไทยในเวลานี้ คือ ต้องการวัคซีนอยู่ที่ 60 ล้านโดส ก็จำเป็นที่จะต้องเร่งจัดหาวัคซีนมาให้ได้เร็วที่สุด" ผศ. นพ. มนต์เดช กล่าว

ขณะที่สถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ของไทย นับจากประกาศล็อคดาวน์ไปเมื่อวันที่ 28 มิ.บ.ที่ผ่านมานั้น พบว่ามีการติดเชื้่อโควิดรายใหม่ เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องติดต่อกันถึงในปัจจุบัน ซึ่งจากการติดตามหลังจากจบไตรมาสสองพบว่าในช่วงระหว่างปลายเดือนมิ.ย.ถึงต้นเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา พบว่าสิ่งที่น่าสังเกตุ คือ มีความเป็นไปได้ว่า ประเทศไทยอาจเผชิญกับการทับซ้อนของการระบาดระลอก(Wave)ใหม่ จากระลอกแรกที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนเม.ย. (คลัสเตอร์ทองหล่อ และ คลองเตย)ซึ่งเป็นสายพันธุ์อัลฟา

ขณะที่ล่าสุดเมื่อช่วงปลายเดือนมิ.ย.-ก.ค.ที่ผ่านมา ได้พบการแพร่ระบาดของสายพันธุ์เดลตาที่ครอบคลุมไปแล้ว ไม่ต่ำกว่า 77 % ที่กำลังเข้ามาแทนที่สายพันธุ์อัลฟาในเวลาเพียง 44 วัน

ผศ. นพ. มนต์เดช กล่าวต่อถึงการรับวัคซีนเข็มแรกและเข็มที่สองสลับยี่ห้อ ในช่วงแพร่ระบาดโควิด-19 สายพันธุ์เดลตาต่อประชาชนคนไทยที่ได้รับวัคซีนหลัก ยี่ห้อซิโนแวค และ แอสตราเซเนกา ในช่วงที่ผ่านมา หรือ หากมีแนวทางให้รัฐเร่งจัดหาวัคซีน mRNA มาใช้เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้กับประชาชนหรือไม่นั้น โดยอ้างอิงผลการศึกษาในกลุ่มประเทศยุโรป เช่น อังกฤษ สเปน และ เยอรมันนี ซึ่งแต่ละประเทศต่างมีเงื่อนไขในการใช้วัคซีนสลับเข็มสองที่แตกต่างกันออกไป

ทั้งนี้ จากผลศึกษาการรับวัคซีนทั้งสองเข็มเป็นยี่ห้อเดียวกันนั้น ในระดับการทดลองในห้องแล็บพบว่าในเฟสแรกของการทดลองวัคซีนไฟเซอร์เข็มแรก จะมีประสิทธิภาพสูงสุดต่อสายพันธุ์อัลฟา ด้วยในช่วงก่อนหน้ากลุ่มประเทศตะวันตกยังไม่มีปัญหาในโควิดสายพันธุ์กลายพันธุ์ หรือ เดลตา ที่ในหลายประเทศเผชิญอยู่ในเวลานี้

ดังนั้นวัคซีน mRNA จึงตอบโจทย์โควิด สายพันธุ์ อัลฟา เบตา แกรมมา และ อู่ฮั่น ได้เป็นอย่างดี ทั้งการสร้างภูมิ ต้านทานเชื้อไวรัวส และสร้างภูมิต้านทานระดับเซลล์ของร่างกาย ส่วนสายพันธุ์เดลตายังไม่มีข้อมูลในขณะนี้ (8 ก.ค.)

สำหรับ การทดลองไฟซอร์ และ โมเดอร์นา ในห้องแล็บนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา ได้ทำการทดสอบสายพันธุ์เดลตาร่วมด้วยในระดับหลอดทดลอง) พบว่าวัคซีนทั้งสองยี่ห้อ สามารถยับยั้งและกำจัดเชื้อไวรัสโควิดได้ ส่วนในประเทศ การ์ตาร์ ได้ทำการทดสอบฉีดวัคซีนไฟเซอร์ ในเดือนธ.ค. 2563 ซึ่งมีการแพร่ระบาดของสายพันธุ์อัลฟา และในเดือนก.พ.ที่ ผ่านมามีการแพร่ระบาดสายพันธุ์เดลตา

โดยมีผลวิเคราะห์ละเอียดในสายพันธุ์อัลฟา พบว่าวัคซีนไฟเซอร์ มีประสิทธิภาพควบคุมการติดเชื้่อสายพันธุ์อัลฟากว่า 89% ส่วน เบตา อยู่ที่ 75% รวมถึงยังลดความรุนแรงของทั้งสองสายพันธุ์ ที่ป้องกันได้ 97.4% และ ยังลดการติดเชื้อน้อยลง หรือหากเป็นแล้วมีโอกาสที่จะเป็นหนัก หรือมีอัตราการเสียชีวิตน้อยมาก

นอกจากนี้ ยังมีผลวิจัยในประเทศอิสราเอล ซึ่งขณะนั้นได้มีการฉีดวัคซีนแล้ว 94% จากการระบาดของสายพันธุ์อัลฟาที่สามารถควบคุมได้ 93.5% ทั้งในกลุ่มผู้ติดเชื้อไม่มีอาการ ที่สามารถป้องกันได้ 97% และยังป้องกันอาการติดเชื้อในระดับรุนแรง หรือการตายได้ถึง 97% ขณะที่สายพันธุ์เดลตายังอยู่ในระดับหลอดทดลอง(แล็บ)

"ปัญหาของบ้านเราในเวลานี้ คือ หากจะลอกเลียนแบบใครก็ควรให้เป๊ะ อย่างของอิสราเอล ที่สามารถควบคุมการระบาดได้ คือ ฉีดวัคซีนไปเมื่อตอนกลางเดือนธันวาคมพร้อมล็อคดาวน์ควบคู่กันไป เพราะฉะนั้นที่อิสราเอลประสบความสำเร็จ ไม่ได้เป็นเพราะฉีดวัคซีนที่มีราคาแพงเท่านั้นแล้วจะโอเค แต่มีการล็อคดาวน์จนนำไปสู่การเริ่มคลี่คลายลงในเดือนมกราคมที่ผ่านมา" ผศ. นพ. มนต์เดช กล่าว

นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลงานวิจัยเชิงปฏิบัติล่าสุดจากอังกฤษ ในการทดลองวัคซีนกับทั้งสองสายพันธุ์ อัลฟา และ เดลตา พบว่าวัคซีนไฟเซอร์ ในสองโดส ยังสามารถป้องกันการติดเชื้ออัลฟาได้ 93.4% และเดลตา 87.9% ส่วนแอสตราเซเนกาสองเข็ม ใช้ระยะเวลาห่างกัน 8-12 สัปดาห์ สามารถป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์อัลฟาได้กว่า 66.1 % ส่วนเดลตากว่า 59.8%

โดยสายพันธุ์เดลตา ที่เริ่มเข้ามาแพร่ระบาดเมื่อต้นเดือน พ.ค. และขยายการติดเชื้อสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในเดือน มิย. เป็นผลมาจากการที่อังกฤษเปิดประเทศและปลดล็อคดาวน์ ส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นหลักแสนราย และพบว่าจำนวนผู้ติดชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลตามาจากกลุ่มคนอายุน้อย ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนและไม่แสดงอาการออกของโรคมากนัก

"ผลวิจัยหนึ่งโดสของแอสตราเซเนกาในการป้องกันอัลฟา อยู่ที่ 51.1% ส่วนเดลตา 33.5 % ส่วนไฟเซอร์ หนึ่งเข็มป้องกันอัลฟา 49.2% ส่วนเดลต้า 33.2% ส่วนวัคซีนซิโนแวคทั้งสองเข็มกับโควิดสายพันธุ์เดลต้า ในขณะนี้ยังไม่มีผลวิจัยเผยแพร่เชิงสาธารณะทั้งในวงการแพทย์ และวงการสื่อ จากผู้ผลิตและรัฐบาลประเทศจีน ซึ่งก็จะมีแต่ในละประเทศที่ทำการศึกษาผลวิจัยของวัคซีนซิโนแวคอยู่กันเอง" ผศ. นพ. มนต์เดช กล่าว

โดยในประเทศอุรุกวัย ได้ทำการศึกษาประสิทธิภาพวัคซีนซิโนแวค ซึ่งถือ เป็นประเทศลำดับที่ 6 (บราซิล, ตุรกี, อินโดนีเซีย, ชิลี และ จีน ตามลำดับ) ซึ่งแต่ละประเทศใช้เกณฑ์หรือเงื่อนไขการศึกษา(โปรโตคอล) แตกต่างกัน ทำให้ยังไม่สามารถรรวบรวมตัวเลขเพื่อประกอบให้เป็นข้อมูลสุดท้ายที่เขื่อถือได้

ทั้งนี้ อุรุกวัย พบว่าซิโนแวคสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 61% ป้องกันการเสียชีวิต 92% และไม่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 95% แต่ทั้งนี้ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าในประเทศอุรุกวัย เผชิญกับไวรัสโควิดสายพันธุ์ใดในการศึกษาครั้งนี้ (จาก 9ใน10 ราย ที่เข้ามาตรวจพันธุกรรมในช่วงดังกล่าวพบว่าเป็นเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์แกรมม่า P1)

ผศ. นพ. มนต์เดช กล่าวว่าสำหรับการฉีดวัคซีนสองเข็มต่างยี่ห้อจะกระตุ้นภูมิต้่นทานได้ดีกว่าการฉีดวัคซีนสองเข็มยี่ห้อเดียวกันหรือไม่นั้น พบว่ามีคำตอบได้ทั้งใช่และไม่ใช่ ด้วยขึ้นอยู่กับว่าเป็นการเปรียบเทียบการฉีดวัคซีนสองเข็มกับยี่ห้ออะไร ด้วยกรณีนี้เกิดขึ้นจากสภานการณ์บังคับในอังกฤษ ที่พบว่าระบบสาธารณสุขกำลังจะล่มสลายจากจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ซึ่งในขณะนั้นมีเพียงวัคซีนไฟเซอร์ และ แอสตราฯเท่านั้น ซทำให้รัฐบาลอังกฤษจำเป็นต้องเร่งระดมฉีดวัคซีนเข็มแรกให้กับประชาขนโดยเร็วที่สุดในทั้งสองยี่ห้อ โดยยังไม่มีการแบ่งเก็บไว้สำหรับเข็มสอง

จากนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านสาารณสุขของอังกฤษ ได้ติดตามผลผู้ที่ฉีดวัคซีนอย่างใกล้ชิดและพบว่า มีการสร้างภูมิต้านทานระดับดีจากการรับวัคซีนเข็มแรก ทั้งยี่ห้อไฟเซอร์ และ แอสตราฯ ได้นานถึง 3 สัปดาห์ และ หนึ่งเดือน ตามลำดับ

ส่งผลให้มีผู้ป่วยไม่ต้องเข้าเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และ ลดการเสียชีวิตตามมาก่อนเริ่มแคมเปญฉีดเข็มที่สอง คือ แอสตราฯ ที่ยืดระยะ เวลาการฉีดออกไป8 -12 สัปดาห์ จากเดิมกำหนดไว้ที่ 1 เดือน ซึ่งพบว่าสามารถสร้างภูมิต้านทานได้สูงขึ้น และการรับเชื้อลดลงต่อเนื่อง จน สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ในระดับที่น่าพอใจ

จากนั้นรัฐบาล อังกฤษจึงให้ประชาชนในประเทศเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะรับวัคซีนยี่ห้อใดต่อเนื่อง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการรับวัคซีนให้ได้อย่างรวดเร็วและมากที่สุด ซึ่งเป็นที่มาของการรับวัคซีนจำนวนสองเข็มต่างยี่ห้อ

"ส่วนการรับวัคซีนเข็มสามนั้นถือเป็นความเห็นของผู้เชี่ยชาญทางการแพทย์ ต่อมุมมองประสิทธิภาพวัคซีนเชิงป้องกันที่จะได้รับมากขึ้น เช่นเดียวกับการรับวัคซีนเพื่อป้องกันการรับเชื้่อในโรคอื่นๆ เช่น ไวรัสตับอักเสบบี ที่ ต้องได้รับวัคซีนกระตุ้นในเข็มที่สาม เป็นต้น" ผศ. นพ. มนต์เดช กล่าว

ผศ. นพ. มนต์เดช กล่าวว่าขณะที่ผลการศึกษาของโมเดอร์นา พบว่าใน ปี2564-2565 นั้นทั่วโลกอาจยังต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 เชื้อกลายพันธุ์ จากในปี2563 เป็นการเผชิญหน้ากับการแพร่ระบาดของสายพันธุ์อู่ฮั่น และในปีนี้เป็นการกลายพันธุ์ของโควิด ทั้งสายพันธุ์อัลฟา เบตา แกรมมา และ เดลตา ไปจนถึงเดลตาพลัส แลมบ์ดา เอฟซีลอน ซึ่งล้วนจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงที่ภูมิต้านทานลดลง หลังจากเริ่มมีการฉีดวัคซีน

"หลังจากปี 2565 แล้วถัดไปในปี 2566 การระบาดของโควิดจะเริ่มกลายเป็น ซีซันนัล เอ็นดามิก คือกลายเป็นโรคที่ชุกชุมอยู่ในท้องถิ่น ไม่ยอมไปไหนพบได้ในแทบทุกปี โดยมีการคาดหวังถึงวัคซีนที่จะพัฒนาในช่วงเฟสแรกช่วงปี2564-2565-2566 นั้นจะเป็นวัคซีนที่นำเอาสายพันธุ์ ที่กำลังจะระบาดเอามาไว้ในส่วนประกอบของวัคซีนด้วย ซึ่งอยู่ระหว่าง การพัฒนาในขณะนี้ จากนั้นมีการคาดหวังในอนาคตว่า ถ้ามีการพัฒนา วัคซีนที่มีเชื้อกลายพันธุ์แทบทุกชนิดให้อยู่ในเข็มเดียวได้ เรียกว่าเป็น Multi-Variant วัคซีนเข็มเดียวคลุมได้ทุกสายพันธุ์ที่นำไปรวมไว้ในวัคซีน บูสเตอร์เข็มที่3" ผศ. นพ. มนต์เดช กล่าวทิ้งท้าย

โดย ดวงใจ จิตต์มงคล