posttoday

ช.การช่าง ฝ่าวิกฤตโควิดปี63 ยังกำไรกว่า600 ล้านบาท

01 พฤษภาคม 2564

ช. การช่าง เผยเทคนิคกลยุทธ์ลงทุนหลากหลาย กระจายเสี่ยง ฝ่าวิกฤตโควิดในปี2563 ส่งผลดำเนินธุรกิจ ยังแข็งแกร่ง ด้วยผลประกอบการแตะ 29,109 ล้านบาท

นางสาวสุภามาส ตรีวิศวเวทย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK เปิดเผยว่าสำหรับในปี 2563 บริษัทฯ ยังสามารถดำเนินการโครงการตามสัญญาก่อสร้างได้ตามแผนกลยุทธ์การมุ่งลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานหลากหลาย โดยอาศัยความแข็งแกร่งของกลุ่ม CK ซึ่งเป็นการผนึกกำลังของบริษั ทต่างๆในเครือทั้ง บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM, บริษัท ทีทีดับบลิว จำกัด (มหาชน) หรือ TTW และ บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ CKP 

โดยการดำเนินธุรกิจด้วยกลยุทธ์ ที่มุ่งเน้นลงทุนในธุรกิ จสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ที่หลากหลายทั้ง ขนส่งมวลชน, น้ำประปา และพลังงาน ส่งผลให้บริษัทได้รั บผลกระทบจากวิกฤติ Covid-19 ไม่มากนักเพราะธุรกิจการลงทุ นและสามารถสร้างกระแสรายได้อย่ างสม่ำเสมอต่อเนื่องเสริมธุรกิ จก่อสร้าง มั่นใจในความพร้อมที่จะเข้าร่ วมประมูลงานโครงการสาธารณู ปโภคใหม่ต่างๆของภาครัฐทั้ งในประเทศไทยและต่างประเทศที่ คาดว่าจะกลับมาเดินหน้ าตามแผนในช่วงครึ่งปีหลังของปี 64 เพื่อช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของไทย 

ณ สิ้นปี 2563 บริษัทฯ มียอดรอรับรู้รายได้ (Backlog) มูลค่า 29,109 ล้านบาท มีผลงานโครงการที่สร้างเสร็ จสมบูรณ์และส่งมอบแล้ว ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย สัญญา 6 บริหาร จัดหา ติดตั้งอุปกรณ์งานระบบ โครงการมอเตอร์เวย์สายบางปะอิน - นครราชสีมา สัญญาที่ 3 โครงการปรับปรุงทางพิเศษสายศรี รัช -วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ และซ่อมแซมโครงสร้างทางพิเศษศรี รัช  โครงการงานปรับปรุงเครื่องจั กรอุปกรณ์ระบบผลิตและส่งจ่ายน้ำ ประปา โรงผลิตน้ำประปาบางเลน (ระยะที่ 1)  เป็นต้น 

ในปี 2563 บริษัทมีรายได้รวม 18,442 ล้านบาท กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถื อหุ้นของบริษัท จำนวน 612 ล้านบาท มีอัตรากำไรขั้นต้นที่ร้อยละ 8.39% นอกจากนี้ที่ประชุมสามัญผู้ถื อหุ้น ยังได้พิจารณาอนุมัติการจั ดสรรเงินกำไรโดยจ่ายเงิ นปันผลสำหรับผลประกอบการปี 2563 ในอัตราหุ้นละ 0.20 บาท รวมเป็นเงิน 331,579,374.40 บาท โดยมีกำหนดในการจ่ายเงินปั นผลในวันที่ 25 พฤษภาคม 2564 

สถานการณ์Covid-19 ที่เกิดขึ้นตลอดช่วงปี 2563 ไม่ได้ส่งผลกระทบทางตรงต่ อการดำเนินงานโครงการก่อสร้างที่ บริษัทดำเนินอยู่ และมีผลกระทบต่อการลงทุนบางส่ วนแต่เป็นการชั่วคราว บริษัทฯมีแผนบริหารความเสี่ยงและแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ Business Continuity Plan (BCP) ที่ชัดเจนสำหรับการดำเนินธุรกิจทั้งในโครงการก่อสร้างและสำนักงานใหญ่ พร้อมแนวปฏิบัติในการดู แลความปลอดภัย สุขอนามัยตามมาตรฐานและแนวทางของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด กลยุทธ์การมุ่งลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานหลากหลายทำให้บริษัทได้รับผลกระทบด้านรายได้น้อยเมื่อเทียบกับธุรกิจอื่น

สถานการณ์ Covid-19 กระทบต่อการประมูลโครงการใหญ่บางโครงการซึ่งมีผลต่อการประมูลงานใหม่ของบริษัทและทำให้ปริมาณงานในมือและรายได้ในปี 2563 ลดลง

อย่างไรก็ตามบริษัทมั่นใจว่าในปี 2564 ภาครัฐจะเร่งเปิดประมูลโครงการต่างๆเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจากการระบาดระลอกใหม่ของ Covid-19 โดยบริษัทมีความพร้อมเดินหน้าเข้าร่วมประมูลโครงการต่างๆเต็ มที่โครงการที่บริษัทให้ ความสำคัญ คือ รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก มูลค่ากว่า 120,000 ล้านบาท, รถไฟฟ้าสายสีม่วงด้านใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ มูลค่า 77,000 ล้านบาท, โครงการรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง มูลค่า 60,000 ล้านบาท และโครงการรถไฟทางคู่ที่ผ่าน EIA แล้ว 3 โครงการ รวมมูลค่ากว่า 180,000 ล้านบาท โครงการแนวมอเตอร์เวย์ นครปฐม – ชะอำ มูลค่า 61,000 ล้านบาท 

โครงการแนวมอเตอร์เวย์ บางขุนเทียน – บ้านแพ้ว มูลค่า 10,500 ล้านบาท เป็นต้น สำหรับในต่างประเทศ ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาสรุ ปแผนการลงทุนในโรงไฟฟ้าพลั งงานน้ำในสปป.ลาว กำลังการผลิตระหว่าง 1,000-1,500 เมกะวัตต์ ซึ่งใช้เงินลงทุนราว 135,000 ล้านบาท รวมเป็นโครงการที่เตรียมเข้ าประมูลมูลค่ากว่า 700,000 ล้านบาท  

สำหรับโครงการต่างๆ ที่กำลังดำเนินการ มีความคืบหน้าตามแผนที่วางไว้ โดย ณ เดือนธันวาคม 2563 มีรายละเอียด ดังนี้ 

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม – มีนบุรี) สัญญาที่ 1 ความคืบหน้าร้อยละ 64.1, สัญญาที่ 2 ความคืบหน้าร้อยละ 56.7และสัญญาที่ 5 ความคืบหน้าร้อยละ 64.6  โครงการทางพิเศษพระราม 3 – ดาวคะนอง สัญญาที่ 4 สะพานขึงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ความคืบหน้าร้อยละ 33.6 โครงการอาคารศูนย์บูรณาการบริ การด้านการแพทย์และสาธารณสุข โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ คืบหน้าร้อยละ 11.9 โครงการงานก่อสร้างศูนย์เรียนรู้ และวิจัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษาเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ความคืบหน้าร้อยละ 0.4