posttoday

เอ็มไอ ชี้ต้องรักษาธุรกิจสินทรัพย์อุตฯการบินให้รอด รับอนาคตเดินทาง ฟื้น

20 มีนาคม 2564

เอ็มไอ แนะสูตร 3-2-1 หนุนประเทศไทย เตรียมพร้อมอุตฯการบินและ โลจิสติกส์ ระดับอาเซียน-จีเอ็มเอส และต้องเซฟธุรกิจเกี่ยวข้องให้พร้อม รับอนาคต หลังโควิดคลี่คลาย

ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และ กระทรวงพาณิชย์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมการกำกับการ ดำเนินงาน สถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง หรือ เอ็ม ไอ (Mekong Institute : MI) กล่าวปาฐกถาหัวข้อ “ยุทธศาสตร์ประเทศ ไทย ในอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์” ในงานสัมมนาออนไลน์ 5 New S curve Season2, 5 อุตสาหกรรมอนาคต ครั้งที่ 4 หัวข้อ อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Avaition and Logistics) จัดโดย กลุ่มบางกอกโพสต์ หอการค้าไทย และ สำนักส่งเสริมการจัดการ ประชุมและนิทรรศการ (TCEB)

สำหรับ อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ เป็นหนึ่งในเอสเคิร์ฟ ที่เข้า มาช่วยขยายตัวทางเศรษฐกิจ ด้วยเป็นหนึ่งใน 12 อุตสาหกรรม ใน โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)ที่ได้รับการส่งเสริมเป็น พิเศษจากรัฐบาล และมองว่าเป็นเรื่องสำคัญต่ออุตสาหกรรมการบินฯ เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับผิดชอบ ว่าจะดำเนินการอย่างไร โดยมีทั้งหมด 6 สรุป ประกอบด้วย 3 Aviations , 2 Logistics และ 1 GMS (Greater Mekong Subregion - อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ ประกอบไปด้วย ไทย เมียนมา ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีน ตอนใต้ มีประชากรรวม 257.5 ล้านคน)

สำหรับ 3 Aviations ที่จะเป็นการดำเนินการเป็น เอส เคิร์ฟ นั้น ด้านที่ หนึ่ง ต้องมีสนามบินอู่ตะเภาเป็นฐาน สอง คือการเชื่อมโยง 3สนามบิน และ สามต้องรักษาคุณภาพของทรัพย์สินหลัก ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยทั้งหมดจะต้องเชื่อมโยงกันให้อยู่รอดให้ได้ตลอดช่วงสถานการณ์โควิด-19 ด้วยหากรักษาไม่ได้ จะลำบากแน่นอน

สำหรับการส่งเสริมด้านโลจิสติกส์ คือ หนึ่ง การส่งเสริมด้านอีคอมเมิร์ซ ให้ได้มากที่สุด และ สอง การซิงโคไนซ์ การเชื่อมโยงด้านต่างๆ ระหว่างกัน สุดท้ายด้าน GMS จะเป็นการเชื่อมพรมแดนด้วยระบบดิจิทัล เพื่อให้จีเอ็มเอสไปต่อได้

เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ของประเทศไทยเหมาะต่อการเป็นศูนย์กลาง เศรษฐกิจ และยิ่งมีความชัดเจน จากการรวมกลุ่มอาเซียน และ จีเอ็มเอส เกิดขึ้น ในช่วงเวลาและสถานการณ์ที่เหมาะสมในปัจจุบัน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ ซึ่งตนเองได้มีส่วนร่วมพัฒนา โครงการ ตั้งแต่ยุครัฐบาลพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งเป็นผู้วางฐาน รากพัฒนาโครงการอีสต์เทิร์น ซีบอร์ด (ในช่วงประมาณปีพ.ศ .2525-2529) ที่ไทยได้ค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยเป็นยุคโชติช่วงชัชวาล ของประเทศ และต่อยอดไปสู่การพัฒนาด้านอื่นๆ ด้วยแนวคิด คอรีดอร์ ระเบียงเชื่อมโยงระหว่างเมืองเศรษฐกิจสำคัญ

โดยในขณะนั้น ประเทศไทย ได้เริ่มพิจารณาพื้นที่ดังกล่าวเพื่อพัฒนาสู่อุตสาหกรรมการบิน ไปพร้อมกัน และได้เริ่มหันมาศึกษาเพื่อดำเนินการ ต่อให้เป็นรูปธรรม ด้วยเห็นว่าท่าเรือน้ำลึก ควรตั้งอยู่ที่แหลมฉบัง ส่วนสนามบิน ควรอยู่ที่อู่ตะเภาจากทำเลที่ใกล้กัน

ขณะที่ความคืบหน้าในปัจจุบัน นับแต่ประเทศไทยเข้าสู่ ประชาคมอาเซียน พร้อมดำเนินการข้อตกลงการบินระหว่างชาติอา เซียนในปี พ.ศ.2552 ส่งผลให้มีสายการบินโลว์คอสต์แอร์ไลนส์ เปิดให้ บริการเป็นจำนวนมาก สะท้อนถึงความเหมาะสมของประเทศไทย ต่อการเป็นฮับการบินระดับภูมิภาค ส่งผลให้ธุรกิจ MRO (งานบำรุงรักษา ซ่อมแซม และซ่อมสร้าง เพื่อให้เครื่องจักรและอุปกรณ์เครื่องบิน) เติบโตขึ้น และนำไปสู่การวางกลยุทธ์อุตสาหกรรมการบินของประเทศไทยในปัจจุบัน โดยมีองค์กรที่เกี่ยวข้องหลายแห่งดำเนินการด้านธุรกิจ MRO อยู่

ทั้งนี้ หากประเทศไทย มุ่งพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมอีอีซี ในรอบนี้อย่างจริงจังจะต้องเร่งพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาให้เกิดขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก พร้อมให้หน่วยงานรัฐ กองทัพเรือเข้ามามีส่วนร่วมด้วย

สำหรับการเชื่อมต่อระหว่าง สนามบินอู่ตะภา สุวรรณภูมิ และ ดอนเมือง เพื่อสร้างระบบโลจิสติกส์ ได้อย่างสมบูรณ์แบบและ เป็นที่มาของโครงการ อุ่ตะเภา แอร์โรโทรโปลิศ และโครงการรถไฟความเร็วสูงเขื่อม 3 สนามบิน เกิดขึ้น และคาดว่า โครงการฯจะเห็นเป็น รูปธรรมได้อย่างแน่นอน หากได้รับความร่วมมือจากกองทัพเรือ หากกิจการแอร์บัส จากประเทศฝรั่งเศส ที่มีแผนร่วมธุรกิจ MRO กับการบินไทย ยังไม่ล้มเลิกแผนงานดังกล่าว รวมถึงอุปสรรค ปัญหาทางธุรกิจ ของการบินไทย ในปัจจุบัน ที่แม้ว่าจะมีปัญหาแต่หากมองในภาพใหญ่ของอุตสาหกรรมการบิน เห็นว่าประเทศไทยไม่ควรจะถอย เพราะได้ทำเรื่องใหญ่ๆไปแล้วในหลายด้าน

"ในช่วงของสถานการณ์โควิดขณะนี้ จะต้องรักษาสุขภาพของธุรกิจที่ เกี่ยวข้อง คุณภาพของทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องต่างๆ ทั้งการท่องเที่ยว การ แสดงสินค้า แวร์เฮาสซิ่ง ศูนย์ประขุม โรงแรม ฯลฯ ทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง เอาไว้ให้ได้ เพื่อรอสถานกาณ์ฟื้นคืนกลับมาปกติ" ดร.ณรงค์ชัย กล่าว

สำหรับด้านโลจิสติกส์ นั้นมองว่า มีโอกาสแติบโตอีกมาก โดยเฉพาะจากการเข้ามาของโควิด ที่ทำให้โลจิสติกส์ไทยเก่งมากขึ้น เห็นได้จาการผลดำเนินธุรกิจขนส่งพัสดุสินค้าของผู้ให้บริการต่างๆ อาทิ เคอร์รี่ แฟลช เอ็กซเพรส เป็นต้น และจากการนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เข้ามาเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ (IoT) ส่งผลให้มีความสะดวกสบายในการรับส่งสินค้าระหว่างกันมากขึ้น และกลายเป็นธุรกิจโลจิสติกส์ ทั้งหมดในปัจจุบัน

ทั้งนี้ มีความจำเป็นอย่างมากต่อการสนับสนุนธุรกิจออีคอมเมิร์ซอย่างต่อเนื่อง ที่จะผลักดันให้ โลจิสติกส์มีการเติบโตตามมา ด้วยการซิงโคไนเซชัน การเชื่อมโยงกันระหว่างงานระบบการขนส่งประเภทต่างๆ เข่น ระหว่งาง เรือ รถ เป็นต้น

สุดท้าย ด้าน GMS จากศักยภาพด้านภูมิศาสตร์ของประเทศไทย ที่มี คสามจนำเป็นต้องซื้อสินค้าและบริการระหว่างกลุ่มคนในGMS โดย อาศัยข้อได้เปรียบของประเทศจากการเป็นศูนย์กลาง ในการเดินทาง และโลจิสติกส์ของประเทศ ให้กับกลุ่ม GMS ที่จะผักดันด้านเศรษฐกิจ ระหว่างกันได้ระยะยาว จากการการนำ ดิจิทัลไลเซชัน เข้ามาเชื่อมโยง ระหว่างกัน

เอ็มไอ ชี้ต้องรักษาธุรกิจสินทรัพย์อุตฯการบินให้รอด รับอนาคตเดินทาง  ฟื้น

นายสุริยัน วิจิตรเลขการ ผู้อำนวยการบริหาร สถาบันความร่วมมือเพื่อ พัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง ร่วมกล่าวในเสวนาหัวข้อ “Takeoff สู่โอกาส อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ไทย” ว่า ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย ยังมีโอกาสในธุรกิจโลจิสติกส์ ในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านและ ลุ่มแม่น้ำโขง จากปัจจัยแรกการฟื้นตัวของภาคธุรกิจจากโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบในทุกประเทศ รวมถึงการพัฒนาการเชื่อมต่อระหว่างประเทศ ในลุ่มแม่น้ำโขง ที่สร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับเอสเอ็มอี และเป็นช่องทางให้โลจิสติกส์ขยายตัวตามมา

สำหรับอนาคตเศรษฐกิจในภูมิภาค GMS จะมีการเติบโตร่วมกันระหว่างกลุ่มประเทศ จากตลาดภายใน GMS มีการเติบโต ไปพร้อมกับการขยายตัวของอีคอมเมิร์ซ ภายใต้พลวัตรการพัฒนาและการลงทุนในระเบียงเศรษฐกิจ GMS ประกอบด้วย ไทย เป็นที่้ตั้งยุทธศาสตร์ GMS ผลักดันสู่ระเบียงเศรษฐกิจ การลงทุน และ โลจิสติกส์ ตามมา ส่วนทิศทางจะเป็นอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับการเข้ามาของนักลงทุน ที่เข้ามาในภูมิภาคนี้ หรือ มีการกระจายการลงทุนไปยังหัวเมืองจังหวัดที่น่าสนใจในแต่ละภาค ด้วยเช่นกัน

เชิญรับฟังเนื้อหาจากงานสัมมนาฯแบบครบถ้วน ได้ที่ลิ้งค์ https://1th.me/3QqRy