posttoday

‘ดีป้า’ชี้จุดเปลี่ยนเศรษฐกิจไทย แจ้งเกิดอุตสาหกรรมดิจิทัล

01 ธันวาคม 2563

‘ดีป้า”ย้ำไทยต้องเร่งสร้างคนดิจิทัล 2 หมื่นคน รองรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ เชื่อหลังโควิดภาคอุตสาหกรรมปรับโหมดหันพึ่งดิจิทัล พัฒนาศักยภาพ วางเป้าหมายสู่เอสเคิร์ฟ

ผศ.ดร.ณัฐพล  นิมมานพัชรินทร์   ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล  (ดีป้า)  กล่าวใน งานสัมมนาออนไลน์ ผู้ประกอบการแสดงสินค้า ...อุตสาหกรรม ดิจิทัล รองรับความปกติใหม่(New  Normal) เรื่อง  Digital Blueprint  พิมพ์เขียวดิจัล เศรษฐกิจประเทศไทย” จัดโดย สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) TCEB และ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ร่วมกับ Posttoday ว่า  เศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างที่ผ่านมาได้มีการจัดทำแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมซึ่งอยู่ภายในใต้แผนยุทธศาสตร์ ชาติ 20 ปี   โดยเริ่มตั้งแต่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นจากปัจจุบันไปสู่อนาคต    

ทั้งนี้มีการออกกฏหมาย 9 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจดิจิทัล  และจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล ระยะ 5 ปี (2560-2564)  ในประเด็นแรกหากต้องการเห็นประเทศไทยในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ต้องเร่งพัฒนาคนด้านดิจิทัลจากคนไทยที่มีอยู่ 60-69 ล้านคน  ซึ่งต้องยอมรับว่ายังขาดแคลนบุคคลากรด้านดิจิทัลอยู่ กว่า 2 หมื่นคน  ในขณะที่ภาพรวมแต่ละปีผลิตแรงงานได้ปีละ 2 หมื่น โดย 1.3 หมื่นคนอยู่ในภาคอุตสาหกรรม ที่เหลืออีก 7,000คน อยู่ในแรงงานภาคอื่นๆ 

นอกจากนี้ยังได้ประเมินปัญหาระบบเศรษฐกิจ ตั้งแต่กลุ่มฐานรากและภาคสังคม  แต่ทีผ่านมาภาครัฐได้มีความพยายามทำให้ชุมชนในพื้นที่ที่มี 7 หมื่นหมู่บ้านทั่วประเทศ เกิดการปรับเปลี่ยนโครงสร้างให้ประชาชนรับรู้และประยุกต์ใช้ได้จริง และสุดท้ายในแผนต้องการให้เกิดการพัฒนาให้เกิดการต่อยอดด้านนวัตกรรมของคนไทย 

อย่างไรก็ตามขณะนี้คนไทยมีมือถือใช้คิดเป็นต่อหัวค่อนข้างเยอะ แสดงว่าคนไทยพร้อม  ด้านภาครัฐจัดให้มีโครงการเน็ตประชารัฐทำให้โครงสร้างพื้นฐานมีระบบไวไฟเพื่อเข้าหาชุมชน  245,700 หมู่บ้าน  

เมื่อมองในด้านภาคอุตสาหกรรม  5 กลุ่ม พบว่า  กลุ่มธุรกิจโทรคมนาคม มีมูลค่าอุตสาหกรรมดิจิทัล  634,775 ล้านบาท   โดยในกลุ่มของอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะ มีมูลค่า 399,342 ล้านบาท ลดลง 7.9%  เนื่องจากเป็นช่วงของสิ้นสุดของวัฎจัรเทคโนโลยี ถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนแปลง  ถึงเวลาที่ต้องมี 2 ทางเลือกคือ การอยู่กับเทคโนโลยีเดิมที่มีต้นทุนลดลง หรือ การไปหาอินโนชั่นใหม่ๆ

ส่วนอุตสาหกรรมอื่นที่มีศักยภาดตคืออุตสาหกรรมซอฟแวร์ มีมูลค่า 134,817 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.37% มีอัตราการเติบโตที่ดี ขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมบริการด้านดิจิทัล  ที่มีส่วนผลักดันให้ประชาชนได้เข้าถึงเทคโนโลยี มีการขยายตัว 15% รวมถึงดิจิทัลคอนเทนต์   การดูหนัง ฟังเพล และอื่น ก็การขยายตัวในระดับ 12-13%

อย่างไรก็ตามทางดีป้า มีการทำสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นดิจิทัล ในช่วงไตรมาส3ของปี 2563 พบว่า จาการสำรวจผู้ประกอบการอุตสหกรรมดิจิทัลใมีความเชื่อมั่นต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างไร อยู่ที่ระดับ 49.8   ปรับตัวดีขึ้น จากไตรมาส2   สะท้อนให้เห็นว่า ความเชื่อมั่นเริ่มกลับมา เพราะโครงสร้างพื้นฐานที่มีความพร้อม   ทั้งเรื่องอุปกรณ์ และความสามารถในการใช้อุปกรณ์ ดังนั้นจึงเป็นจุดสำคัญสะท้อนให้เห็นว่าควรมีการต่อยอดอุตสาหรรมดิจิทัลในอนาคต

นอกจากนี้ยังพบว่าเมื่อสำรวจ 5 อุตสาหกรรมที่มีการปรับตัวไปสู่ยุคดิจิทัล ได้แก่  อาหาร  สิ่งทอ   อิเล็กทรอนิกส์  ยานยนต์ และเครื่องจักร  ต้องยอมรับว่าการใช้เทคโนโลยีในหลายอุตสาหกรรมยังอยู่ในช่วงของอุตสาหกรรม 1.0  หรือแบบอนาล็อค การติดต่อซัพพลายเออร์ที่ยังคงส่งคำสั่งซื้อด้วยเอกสารอิเล็กทรอนิก  ส่วนหนึ่งเกิดจากสัดส่วนของกลุ่มธุรกิจแต่ละอุตสาหกรรมยังคงเป็นระดับเอสเอ็มอี จะมีเพียงบริษัทรายใหญ่ไม่กี่รายเท่านั้นที่เข้าสู่ระดับอุตสาหกรรม 4.0 แล้ว หรือคิดเป็นเพียง 0.4% ของภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการพัฒนาอุตสาหกรรมดิจิทัลยังมีโอกาสที่จะเติบโตได้ในระยะยาว

ผศ.ดร. ณัฐพล กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้น จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในภาคอุตสาหกรรมได้  เนื่องจากดิจิทัลจะเข้ามามีบทบาทสำคัญเพื่อเปลี่ยนธุรกิจไปสู่แพลตฟอร์มใหม่เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมดิจิทัลการผลักดันให้เกิดสตาร์ทอัพของกลุ่มเอสเอ็มอี ขณะที่ภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกันในการพัฒนาโปรแกรมรองรับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในระบบเศรษฐกิจเพราะจะทำให้เกิดเอสเคิร์ฟในอนาคต