posttoday

กสทช ตอกเสาเข็มดิจิทัลรับเศรษฐกิจอนาคตประเทศไทย

01 ธันวาคม 2563

กสทช. ปักฐานรากโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล รับเทคโนโลยี 5G สปีดอนาคตเศรษฐกิจไทย

กสทช ตอกเสาเข็มดิจิทัลรับเศรษฐกิจอนาคตประเทศไทย

ดร.ประถมพงศ์ ศรีนวล เศรษฐกรเชี่ยวชาญ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวในงานเสวนาเรื่อง New Economy New Platform เศรษฐกิจไทย” จัดโดย กลุ่มบางกอกโพสต์ หอการค้าไทย และ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรซการ (องค์กาคมหาชน) หรือ สสปน. ว่า กสทช. ในฐานะผู้กำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมฯ มองว่า Disruptive Technology เข้ามาส่งผลกระทบต่อธุรกิจ เห็นได้ชัดในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จากการประมูลใบอนุญาตผู้ประกอบการโทรทัศน์ดิจิทัล ช่วงปี 2556 ด้วยในช่วงดังกล่าว เอกชนผู้เข้าร่วมประมูลต่างเห็นในทิศทางเดียวกันถึงโอกาสในการสร้างรายได้จาทีกการได้ดำเนินกิจการทีวีดิจิทอล

ทั้งนี้ จาก Disruptive Technology ที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงปี 2007-2008 โดยเฉพาะการเข้ามาของ iPhone ได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่ออุตสาหกรรมสื่อคอนเทนต์เพื่อการรับชมความบันเทิงต่างๆ ทั้ง ดนตรี ภาพยนตร์ จากอุปกรณ์สมาร์ท ดีไวซ์ เพียงเครื่องเดียว ที่สามารถใช้เป็นอุปกรณ์เพื่อความบันเทิง ได้ทุกอย่าง

รวมถึงการรับชมผ่านโทรทัศน์ ก็ยังได้รับผลกระทบจากธุรกิจบริการโอทีที (OTT -Over-The-Top ที่ผู้ประกอบการธุรกิจทีวี ยังไม่ได้ตื่นตัวมากนักในการพัฒนาช่องทางใหม่ๆในการนำเสนอคอนเทนต์ สอดคล้องกับผลสำรวจของ เอซี นีลเส็น ระบุว่าความนิยมการรับชมคอนเทนต์ผ่านแพล็ตฟอร์มทีวีลดลง ขณะที่ช่องทางดิจิทัล แพล็ตฟอร์ม เติบโตเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ ในส่วนของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ของไทย เองก็ได้รับผลกระทบเทคโนโลยีมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เทคโนโลยียุค 1จี, 2จี, 3จี, 4จี. และล่าสุด 5 จี ที่ปัจจุบันรูปแบบการสื่อสารทำได้มากกว่ารับชมผ่านโทรทัศน์ คือ การนำเสนอผ่านบรอดคาสติง ไลฟ์

อย่างไรก็ตาม กสทช. ในฐานะผู้กำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม และ การสื่อสารเองได้ติดตามด้านกฎระเบียบการดูแลการดำเนินกิจการที่เกี่ยวจ้องด้านการสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อผลักดันให้ประเทศไทย ไปสู่การเปลี่ยนผ่านดิจิทัล (ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชัน)เมื่อเข้าสู่เทคโนโลยี 5 จี ได้อย่างราบรื่น หลังจากที่ กสทช.ดำเนินการจัดประมูลคลื่นความถี่ 5 ไปเมื่อกลางปี 2562 ที่ผ่านมา

ด้วยคลื่นความถี่ 5จี มีศักยภาพต่อการนำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ได้อีกมาก นอกเหนือจากการใช้งานด้านการสื่อสารโทรคมนาคมส่วนบุคคลแล้ว แต่ยังสามารถจะนำไปสู่การเปลี่ยนผ่านของดิจิทัล หรือ เทคโนโลยี ประเทศไทย ได้ในอนาคตอีกด้วย

โควิด-19 ตัวเร่งพฤติกรรมดิจิทัล ผู้บริโภคเจนใหม่

ดร.ประถมพงศ์ กล่าวว่าอย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้น ในส่วนของภาคการสื่อสารโทรคมนาคมนั้น มองว่าในช่วงที่ผ่านมาในกลุ่มกิจการโทรทัศน์ และ วิทยุ ได้รับผลกระทบหรือการถูกดิสรัปท์ มาก่อนหน้านี้ จากการเข้ามาให้บริการของสื่อสังออนไลน์อย่าง ยูทูป หรือ เน็ตฟลิกซ์ เป็นต้น ที่มีการนำเสนอเนื้อหาตอบโจทย์คนดูได้มากกว่าสื่อดั้งเดิม

นอกจากนี้ ยังมองว่า โควิด-19 ถือป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเทคโนโลยีให้เกิดขึ้นเร็วขึ้น ในช่วงล็อค ดาวน์ ประเทศ เห็นได้จากผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (โอเปอเรเตอร์) รายต่างๆ มีการติดตั้งให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เพิ่มขึ้นจากความต้องการใช้งานแบนด์วิดธ์ อินเทอร์เน็ตของผู้บริโภคครัวเรือนที่ขยายตัวสูงขึ้น เช่นกัน ส่วน ด้านอุปสรรค จากสถานการณ์ควิด-19 ส่งผลกระทบการนำเข้าอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมบางรายการ หรือ บางสถานที่ไม่สามารถเข้าไปติดตั้งอุปกรณ์ได้ เป็นต้น

ขณะที่ในระยะยาว มองว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ถือเป็นโอกาสในด้านกิจการสื่อสารและโทรคมนาคมมากกว่า ด้วยทำให้คนไทยมีความคุ้นเคยกับเทคโนโลยีต่างๆได้เร็วมากขึ้น เห็นได้ชัดจากกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้น อาทิ การสั่งอาหารออนไลน์ การทำธุรกรรมผ่านสมาร์ทโฟน หรือ การใช้บริการอี-เพย์เมนต์ ที่มีบทบาทในชีวิตประจำวันของผู้คนมากขึ้น ที่ผลักดันให้เกิดข้อกำหนดห้ามไม่ให้ระบบโครงสร้างพื้นฐานสื่อสารโทรคมนาคม (Infrastructure) เกิดการล่มแต่อย่างใด ซึ่งในอนาคต ยุคหลังโควิด-19 จะผลักดันให้การทำธุรกรรมต่างๆ อยู่บนออนไลน์ ซึ่งหากใคร Take Actionได้ก่อน มี Speed เร็วกว่า ย่อมได้เปรียบมากกว่า

ภาครัฐ ต้องเร่งสปีดปรับตัวรับยุคผู้บริโภคสุดล้ำ

ดร.ประถมพงศ์ กล่าวว่า ในส่วนของภาครัฐซึ่งถือเป็นผู้กำกับดูแลด้านนโยบายต่างๆ เองก็ต้องเร่งปรับตัวเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีเพื่อไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล รวมถึงในสังคม จากการนำข้อดีของเทคโนโลยีมาใช้ร่วมกับการทำงาน เพื่อรองรับอนาคตที่เป็นยุคของ Advanced User ด้วยกลุ่มคนรุ่นใหม่มีการเรียนรู้ฟังก์ชันด้านเทคโนโลยี ใหม่ๆ ได้เป็นอย่างดี เพื่อเตรียมเข้าสู่โลกของการเชื่อมต่ออุปกรณ์ทุกสิ่งบนอินเทอร์เน็ต หรือ ไอโอที (IoT) ซึ่งยังต้องยอมรับว่าหน่วยงานภาครัฐ อาจยังปรับตัวไม่เก่งมากนัก ในเรื่องดังกล่าว

สำหรับ กสทช. ที่มีบทบาททั้งในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลด้านกิจการโทรคมนาคม และการส่งเสริมสนับสนุนงานกิจการด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม มีความพร้อมที่จะมองหากลไกต่างๆที่จะเข้ามาสนับสนุนการลงทุนด้านดิจิทัลในประเทศไทย ทั้งการ Roll Out ด้าน Infrastructure ไปยังสถานที่ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน เพื่อได้รับสิทธิประโยชน์ส่วนลดทางภาษีต่างๆ ไปจนถึงการสนับสนุนสิทธิประโยชน์ที่ไม่ใช่ด้านภาษี (Non Tax) เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับนักลงทุนเทคโนโลยี เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยไปสู่เป้าหมายดิจิทัล (Go Digital) ที่ควรจะเป็นภาระกิจลำดับแรกในการผลักดัน