posttoday

GC Circular Living Symposium 2020: สัญญาณเตือนภัยขยะโลก

17 พฤศจิกายน 2563

ภายในปี พ.ศ. 2577 โลกของเราจะมีขยะจากพลาสติกทับถมรวมกันกว่า 762 ตัน ซึ่งไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจแต่อย่างใด เพราะทุกๆ นาทีทั่วโลกต่างทิ้งถุงพลาสติกลงถังขยะมากถึง 1 ล้านชิ้นต่อวัน ในขณะที่มีการนำขยะพลาสติกมาเข้ากระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกต้องเพียง 15% เท่านั้น

ทั่วโลกจึงได้หันมาใช้กลยุทธ์เศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ  “Circular Economy Strategy” เพื่อหาทางออกให้กับประเด็นที่กำลังคุกคามเราทุกคนอย่างช้าๆ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ จีซี ในฐานะผู้นำธุรกิจเคมีภัณฑ์ที่ผสานนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงได้เข้ามาสร้างสรรค์วงจรใหม่ในการสร้างความสมดุลระหว่างภาคอุตสาหกรรมและคุณภาพชีวิต  

ในปีนี้ จีซี จึงได้จัดงาน GC Circular Living Symposium 2020 อีกครั้งเป็นปีที่ 2 โดยได้รับเกียรติจาก คุณวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดงาน ซึ่งถือเป็นการตอกย้ำจุดยืนของ จีซี ในการสร้าง “วันพรุ่งนี้ให้ดีกว่าเดิม” โดยมุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนมุมมอง วิสัยทัศน์ และกลยุทธ์ในการจัดการขยะอย่างยั่งยืนระหว่างผู้นำองค์กรกว่า 40 แห่งทั่วโลก เพื่อร่วมกันลดความกังกลที่มีต่อสภาพแวดล้อมทั่วโลก

GC Circular Living Symposium 2020: สัญญาณเตือนภัยขยะโลก

GC Circular Living Symposium 2020: สัญญาณเตือนภัยขยะโลก

“ความตื่นตระหนกที่มีต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ขยะพลาสติกเพิ่มพูนสะสมมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม” ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) กล่าว “โดยในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา จีซี ได้ร่วมสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องหลักการของเศรษฐกิจหมุนเวียนกับผู้นำในอุตสาหกรรมต่างๆ ไปพร้อมกับการทดลองจัดการกับขยะพลาสติก”

ในฐานะผู้นำในแวดวงปิโตรเคมี จีซี ได้ก้าวขึ้นมาจัดการกระบวนการรีไซเคิล ด้วยการทุ่มทุนมหาศาลในการใช้เครื่องจักรให้ความร้อนผ่านกรรมวิธีไพโรไลสิสเพื่อเปลี่ยนพลาสติกประเภท PP และ PE ให้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเรือประมงและรถไถ เชื้อเพลิงสำหรับการผลิตคอนกรีต และกากของแข็งที่เป็นส่วนผสมของยางมะตอยในการสร้างถนนในชุมชน ซึ่งกระบวนการต่างๆ นี้ ต้องดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีความชำนาญสูงเท่านั้น 

GC Circular Living Symposium 2020: สัญญาณเตือนภัยขยะโลก

GC Circular Living Symposium 2020: สัญญาณเตือนภัยขยะโลก

ในขณะที่วิธีการ “รีไซเคิล” ได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีการจัดการขยะที่ดีที่สุด เนื่องจากเป็นกระบวนการที่ช่วยย่อยสลายพลาสติกไปสู่วัตถุดิบตั้งต้น เพื่อนำไปผลิตผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่แตกต่างจากเดิมอย่างสิ้นเชิง แต่กระบวนการนี้จำเป็นที่จะต้องมีการลงทุนด้วยเม็ดเงินมหาศาล ด้วยเหตุนี้ กระบวนการ “อัปไซเคิล” จึงได้รับการนำมาใช้ทั่วโลกเพื่อปรับเปลี่ยนขยะพลาสติกให้เป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกต่างๆ ที่ผสมผสานความคิดสร้างสรรค์เป็นวัตถุดิบสำคัญ

“เราได้ร่วมมือกับองค์กรผู้นำระดับประเทศอย่าง พี แอนด์ จี (P&G) และฮาบิแทท ฟอร์ ฮิวแมนิตี้ (Habitat for Humanity) ด้วยการสร้างบ้านหลังแรกของประเทศไทยด้วยวิธีการอัปไซเคิล” ดร.คงกระพันกล่าว “บ้านหลังนี้สร้างด้วยวัสดุไม้คอมโพสิต ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากการบีบอัดขวดพลาสติก HDPE และแพ็กเกจประเภท Multilayered Flexible Packaging กว่า 3 ตันที่เก็บมาจากแหล่งชุมชนทั่วประเทศ ซึ่งเราได้ร่วมมือกับฮาบิแทท ฟอร์ ฮิวแมนิตี้ ในการส่งมอบบ้านให้กับคนไร้บ้านทั่วประเทศ”  

อย่างไรก็ตาม เทรนด์อัปไซเคิลนี้เหมือนจะเป็นวิธีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้ามากกว่าเป็นการเยียวยาในระยะยาวให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น

“การใช้ชีวิตอย่างสบายๆ อย่างประมาท นับเป็นภาวะเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อมและชีวิตของพวกเราทุกคน โดยที่เราต่างไม่รู้เลยว่าจุดจบของปัญหากำลังคืบคลานมาใกล้กว่าที่คาดการณ์ไว้” คุณวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้กล่าวเพิ่มเติม “ทุกวันนี้ หากเรานำกลยุทธ์เศรษฐกิจหมุนเวียนมาปรับใช้ เราต้องคำนึงถึงคนรุ่นหลังมากกว่าการนำมาใช้กับโปรเจ็กต์เพื่อสังคมเท่านั้น” 

GC Circular Living Symposium 2020: สัญญาณเตือนภัยขยะโลก

เพื่อบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ด้วยการเผชิญหน้ากับอุปสรรคในระยะเริ่มต้นเพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ที่ถาวร (short-term pain, long-term gain)  กูรูจาก 4 สถาบันชั้นนำของประเทศไทย ได้แก่ คุณขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) คุณธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป

จำกัด (มหาชน) คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และ ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) จึงได้ร่วมแบ่งปันวิสัยทัศน์และยุทธวิธีที่นำมาใช้ในองค์กร ในงาน GC Circular Living Symposium 2020  ไว้ดังนี้

ภาคการเงิน: ธนาคารกสิกรไทยได้ริเริ่มในการเปลี่ยนระเบียบการอนุมัติเงินกู้  โดยที่ผู้กู้ที่นำเสนอโครงการจะต้องมีแผนมาตรการรักษาสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการดำเนินธุรกิจด้วย 

ภาคอุตสาหกรรมอาหาร: ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป มุ่งมั่นในการสร้างความตระหนักรู้ให้กับซัพพลายเออร์ในการทำประมงอย่างถูกกฎหมาย โดยให้ความช่วยเหลือชาวประมงในด้านความปลอดภัยและการติดต่อสื่อสารกับครอบครัว ด้วยการติดสัญญาณ GPS และสัญญาณอินเทอร์เน็ต เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้กับลูกเรือและชาวประมง ซึ่งจะส่งผลกับความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่อย่างถูกต้อง

ภาคอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม: ไทยเบฟเวอเรจได้ร่วมมือกับทั้งภาครัฐและเอกชนในการจัดตั้งแคมเปญอัปไซเคิลขวดน้ำพลาสติกเป็นถุงผ้าที่ทอจากเส้นใยพลาสติก เพื่อเป็นการสร้างการตระหนักรู้ในชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศไทย

การร่วมแรงร่วมใจกันระหว่างยักษ์ใหญ่แห่งอุตสาหกรรมต่างๆ นับได้ว่าเป็นพื้นฐานสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จ แต่ท้ายสุดแล้วผู้ที่มีอำนาจในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมได้มากที่สุดก็คือผู้บริโภคทุกๆ คน

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในแคมเปญ  Living in Circular Economy ได้ที่ https://circularlivingsymposium2020-virtual.com/virtual

GC Circular Living Symposium 2020: สัญญาณเตือนภัยขยะโลก

GC Circular Living Symposium 2020: สัญญาณเตือนภัยขยะโลก

GC Circular Living Symposium 2020: สัญญาณเตือนภัยขยะโลก

GC Circular Living Symposium 2020: สัญญาณเตือนภัยขยะโลก