posttoday

"ดีป้า"เร่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลพื้นฐานช่วยผู้ได้รับผลกระทบโควิด-19

10 ตุลาคม 2563

สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลแถลงผลสํารวจดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัล ชูการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลบนพื้นฐานข้อมูลหวังช่วยผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อํานวยการใหญ่ สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เปิดเผย ว่า ได้รับมอบหมายจากนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รมว.กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ให้ดีป้าเร่งพัฒนาข้อมูลต่างๆ เพื่อนําร่องการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลบนพื้นฐานของข้อมูลที่สร้างให้เกิดประโยชน์ต่อภาคเศรษฐกิจและประชาชนนั้น ดีป้าจึงได้เร่งดําเนินการทําสํารวจ Digital Industry Sentiment Index ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการสํารวจที่ดีป้าดําเนินการเพื่อให้เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูล ทั้งดัชนีชี้วัดระดับสากล และฐานข้อมูลที่ดีป้าสํารวจเอง ทั้งในฝั่งของผู้ประกอบการที่เป็นฐานข้อมูลและแนวโน้ม อุตสาหกรรมดิจิทัล และความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัลที่สํารวจและนําเสนอผลรายไตรมาส ตลอดจนการสํารวจ ฝั่งผู้ใช้ในภาคอุตสาหกรรมโดยในระยะแรกมุ่งเน้นที่การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในภาคการผลิตเป็นอันดับแรก และจะขยายผลไปสู่ภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ และภาคบริการต่อไปในอนาคตอันใกล้

"แนวโน้มดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัลมีความสอดคล้องกับทิศทางการเติบโตของมูลค่าตลาดของ อุตสาหกรรมดิจิทัล ซึ่งสามารถบ่งชี้ว่าประเทศไทยกําลังเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลและมีการเติบโตของอุตสาหกรรม ดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง เพราะดิจิทัลกลายเป็นปัจจัยสําคัญทั้งในการขับเคลื่อนธุรกิจและการใช้ชีวิตประจําวัน แต่อย่างไรก็ตามเรายังขาดแคลนเรื่องกําลังคนดิจิทัล ซึ่งเป็นแรงงานกลุ่มสําคัญในการสร้างความได้เปรียบ และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้อุตสาหกรรมดิจิทัลไทย กําลังคนดิจิทัลที่มีศักยภาพ ความสามารถสูง มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน จะเข้ามาเป็นกลไกสําคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมดิจิทัลไทยให้เติบโตในตลาดโลก บัณฑิตที่จบใหม่ ต้องพร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงาน มีทักษะตามที่ตลาดแรงงานดิจิทัลต้องการ ทํางานได้ทันที จึงต้องมีการ Upskill หรือ Reskill ก่อนที่บัณฑิตเหล่านี้จะเข้าสู่ตลาด ดัชนีความเชื่อมั่นจึงเป็นเสียงสะท้อนว่า นโยบายที่ภาครัฐใช้นั้นเกิดผลสําเร็จได้จริงหรือไม่ หากค่าดัชนีฯ ต่ําหมายถึง ภาคธุรกิจไม่มีความเชื่อมั่นในนโยบาย ของรัฐและการทํางานของภาครัฐ เพราะฉะนั้น ดัชนีฯ จึงเป็นเสียงสะท้อนโดยตรงจากผู้ประกอบการดิจิทัล”ดร.ณัฐพลกล่าว

ทั้งนี้ ในเชิงรายละเอียดจากการสํารวจพบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัล ในไตรมาส 2/2563 อยู่ที่ระดับ 43.4 ถือว่าอยู่ในระดับต่ํา ชี้ว่า อุตสาหกรรมดิจิทัลก็ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวลงอย่าง รุนแรงในช่วงสถานการณ์โควิด-19 เช่นเดียวกับธุรกิจอื่น ๆ แม้ว่าในช่วงโควิด-19 จะมีผู้ใช้ดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่าง ก้าวกระโดดก็ตาม แต่ผู้ประกอบการดิจิทัลส่วนใหญ่ระบุว่าโควิด-19 ทําให้ผลประกอบการโดยรวมลดลง เนื่องจากขาดแคลนแหล่งเงินทุนสนับสนุนในการขับเคลื่อนธุรกิจ ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ขาดแคลนแรงงานที่ตรงกับสายงานที่กิจการต้องการ เป็นต้น ต่อเนื่องในไตรมาสที่ 3/2563 นี้ ดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 49.8 เป็นผลมาจากรัฐบาลเพิ่งผ่อน คลายมาตรการการควบคุมโรคโควิด-19 และเร่งฟื้นฟูธุรกิจหลังจากผ่านวิกฤตโควิด-19 ทําให้ผู้ประกอบการ ดิจิทัลเริ่มได้รับการจ้างดําเนินงานหรือมีโครงการต่าง ๆ เพิ่มขึ้น

สำหรับ โควิด-19 เป็นตัวเร่งให้ทุกภาคส่วนทั้ง หน่วยงานรัฐ และเอกชน ภาคการศึกษา นําเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้มากขึ้นเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ จึงส่งผลให้ผู้ประกอบการดิจิทัลมีผลประกอบการดีขึ้นแต่ยังไม่กลับสู่สถานการณ์ปกติ คาดว่าในอีก 3 เดือนข้างหน้า ดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัล จะปรับตัวเพิ่มขึ้น อยู่ที่ระดับ 61.2 เนื่องจากโควิด-19 เป็นตัวเร่งที่ทําให้ ทุกภาคส่วนเริ่มใช้เทคโนโลยีดิจิทัลไม่ว่าจะเป็น Cloud Technology, Software, Social Media, Online Entertainment และ Online Payment มาปรับใช้ในการทํางานหรือเกิด Digital Transformation องค์กรมากขึ้น นอกจากนี้ดีป้าได้ศึกษาเพิ่มเติมควบคู่กับ มูลค่าอุตสาหกรรมดิจิทัลปี 2561-2562 คาดการณ์ 3 ปี ชี้ให้เห็นว่าอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์กําลังประสบปัญหา

นอกจากนั้น จากมูลค่าตลาดฮาร์ดแวร์มีแนวโน้มลดลง ฉุดรั้งให้มูลค่า ตลาดฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะปรับตัวลดลงตามไปด้วย จาก 325,261 ล้านบาทในปี 2561 เป็น 299,342 ล้านบาทในปี 2562 โดยปัจจัยหลักเกิดมาจากการบริโภคอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ลดลง และเปลี่ยนไปใช้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ในรูปแบบบริการมากขึ้น พร้อมทั้งแทนที่ด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคที่เข้าถึงบริการดิจิทัลมากขึ้นจากอุปกรณ์สื่อสาร ทําให้มูลค่าตลาดบริการดิจิทัลเติบโตขึ้นสวนทางกับตลาดฮาร์ดแวร์ที่มูลค่าตลาดลดลง แม้ว่าดัชนีความเชื่อมั่น จะบ่งชี้ว่า ในภาพรวมผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์ อัจฉริยะก็ยังคงต้องอาศัยการขับเคลื่อนจากภาครัฐ ทั้งในด้านการด้านการแข่งขันทางด้านดีไซน์ การสร้างตลาดใหม่ ของกลุ่มฮาร์ดแวร์ที่จะต้องผลักดันให้ผู้ประกอบการไม่ได้เป็นเพียงแค่ผู้ผลิต แล้วส่งออก แต่ต้องมีตลาด ภายในประเทศ

ดร.ณัฐพล กล่าวว่า การเติบโตของอุตสาหกรรมดิจิทัล จะสอดคล้องกับการจ้างงานที่ต้องการคนที่มีความรู้ความสามารถในด้านดีไซน์ ด้าน Machine Learning และในการเพิ่มผลิตผลในอุตสาหกรรมดิจิทัล เพราะเกี่ยวข้องกับการลดต้นทุน ขณะเดียวกัน ทักษะแรงงาน ควรจะเป็นแรงงานที่มีทักษะ หรือความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น Data Analytic หรือ Data Engineering เป็นต้น สําหรับรายงานผลสํารวจดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัล “Digital Industry Sentiment Index” ดีป้าได้เผยแพร่สู่สาธารณะ และเปิดให้เข้าถึงได้ผ่าน www.depa.or.th และ เพจเฟซบุ๊ก depa Thailand สําหรับ ผู้ประกอบการและประชาชนที่สนใจได้นําข้อมูลดังกล่าวไปต่อยอดในการพัฒนาธุรกิจของตนเองได้ รวมถึงการสํารวจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมดิจิทัลในมิติต่าง ๆ ที่ ดีป้า ดําเนินการได้