posttoday

กสทช. จับมือ จุฬาฯ จัดงานแสดงผลงานการทดลอง/ทดสอบ Use Cases “Chula 5G for REAL”

05 ตุลาคม 2563

คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานแสดงผลงานการทดลอง/ทดสอบ Use Cases ต่างๆ สำหรับการใช้งานจริงบนเครือข่าย 5G ภายใต้แนวคิด “5G for REAL” เพื่อจัดตั้งศูนย์ทดลอง/ทดสอบ 5G ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กสทช. จับมือ จุฬาฯ จัดงานแสดงผลงานการทดลอง/ทดสอบ Use Cases “Chula 5G for REAL”

Chula 5G for REAL เป็นงานแสดงผลงานการทดลอง/ทดสอบ Use Cases ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง สำนักงาน กสทช. คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษาต่างๆ ในประเทศไทย พร้อมด้วยผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และผู้ผลิตอุปกรณ์ระบบโทรคมนาคมชั้นนำ จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทดลอง/ทดสอบการใช้งานอุปกรณ์การสื่อสารบนเครือข่าย 5G  และร่วมกันจัดทำแพลตฟอร์มเปิดสำหรับทดสอบ/ทดลอง วิจัยเทคโนโลยี การใช้งานจริง พร้อมทั้งพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยี 5G ในอนาคต ทั้งนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการขออนุญาตจาก กสทช. เป็นผู้ประสานงานพื้นที่กำกับดูแลเป็นการเฉพาะ (Sandbox) ครอบคลุมพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยใช้คลื่นความถี่ 5G ย่านต่างๆ เพื่อให้มีการพัฒนาและทดสอบนวัตกรรมเทคโนโลยี 5G ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ รวมถึงการทดสอบการรบกวนกัน หรือการร่วมใช้คลื่นความถี่ระหว่างเทคโนโลยี 4G และ 5G เป็นต้น ซึ่งมีกำหนดระยะเวลาอนุญาตเป็นเวลา 5 ปี ตั้งแต่ 11 ธันวาคม 2562 ถึง 10 ธันวาคม 2567

กสทช. จับมือ จุฬาฯ จัดงานแสดงผลงานการทดลอง/ทดสอบ Use Cases “Chula 5G for REAL”

กสทช. จับมือ จุฬาฯ จัดงานแสดงผลงานการทดลอง/ทดสอบ Use Cases “Chula 5G for REAL”

ผู้เข้าร่วมงานแสดงผลงานประกอบด้วย คณาจารย์และนักวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สถาบันวิจัยและนวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (ม.อ.) ผู้บริหารจากผู้ผลิตอุปกรณ์ระบบโทรคมนาคม และผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จํากัด (มหาชน) บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท โนเกีย ประเทศไทย จำกัด โดยโครงการวิจัยทั้งหมดประกอบด้วยโครงการจัดตั้งศูนย์ทดสอบ 5G ที่สามารถทดสอบอุปกรณ์ไร้สาย และโครงข่ายของผู้ให้บริการ และงานวิจัยอื่นๆ ใน 3 กลุ่ม ได้แก่

ด้าน healthcare จำนวน 2 โครงการ ได้แก่

• โครงการส่งข้อมูลภาพการตรวจโรคตาทางไกลผ่านระบบสื่อสารแบบไร้สายเพื่อการผ่าตัด

• โครงการพัฒนาการสื่อสารและส่งถ่ายข้อมูลการตรวจวัดคุณภาพอากาศในโรงพยาบาล

ด้าน smart living และ connected society จำนวน 8 โครงการ ได้แก่

• โครงการการพัฒนาและควบคุมหุ่นยนต์บริการผ่านโครงข่าย 5G

• โครงการจัดสร้างระบบเครือข่ายเซนเซอร์ตรวจวัดสภาพฝุ่นละอองติดตั้งบน smart pole และรถ pop bus รวมถึงการติดตั้งและทดสอบระบบ CCTV บนรถประจำทาง เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและประสิทธิภาพการใช้งานของผู้โดยสาร CU Pop Bus

• โครงการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีความจริงเสมือนในพื้นที่มหาวิทยาลัยบนเครือข่าย 5G

• โครงการพัฒนาต้นแบบยานยนต์อัตโนมัติ และการเคลื่อนย้ายรถระหว่างจุดจอด

• โครงการติดตั้งและทดสอบระบบการใช้งานเสาไฟยุคหน้าบนเทคโนโลยี 5G

• โครงการสร้างมิเตอร์อัจฉริยะเฟสเดียวโดยใช้เทคโนโลยี NB-IoT, LoRa และ 5G

• โครงการติดตั้งระบบควบคุมไฟถนนอัจฉริยะ

• โครงการวิเคราะห์และประมวลภาพ VDO แบบเวลาจริงด้วย cloud computing

ประเภทอื่นๆ จำนวน 2 โครงการ ได้แก่

• โครงการ PolluSmartCell การวิจัยที่อาศัยปรากฏการณ์ทางคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในโครงข่ายการสื่อสาร เพื่อประเมินการเกิด Temperature Inversion ในชั้นบรรยากาศ

• โครงการอบรมให้ความรู้ความชำนาญในการทดลอง/ทดสอบระบบเครือข่าย 5G และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างประเทศ

กสทช. จับมือ จุฬาฯ จัดงานแสดงผลงานการทดลอง/ทดสอบ Use Cases “Chula 5G for REAL”

กสทช. จับมือ จุฬาฯ จัดงานแสดงผลงานการทดลอง/ทดสอบ Use Cases “Chula 5G for REAL”

นอกจากการแสดงผลงานต่างๆ ผ่านทาง VTR และบูทแสดงผลงานแล้ว ยังมีการนำเสนอผลงานเด่นๆ ด้วยการบรรยายบนเวที อาทิ การบรรยายส่งตรง real-time ผ่าน zoom มาจาก Ministry of Internal Affairs and Communications (MIC) ประเทศญี่ปุ่น ภายใต้หัวข้อ “5G Frequency and Network Regulation Policy in Japan” และจาก NTT DOCOMO ภายใต้หัวข้อ “5G Cross Border” Use Case Connecting Japan and Thailand การบรรยายภายใต้หัวข้อ Tele-dentistry in Aging World โดย ทันตแพทย์หญิง ดร.อรุณี ลายธีระพงศ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ การตรวจร่างกายด้วยเทคโนโลยี AI ผ่านบริการแพทย์ทางไกล โดย นพ. ดร.ชัยภัทร ชุณหรัศมิ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และสภากาชาดไทย Autonomous Vehicles โดย ผศ. ดร.นักสิทธิ์ นุ่มวงษ์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และ Massively Interactive Online Group Participation โดย ผศ. ดร.วีระ เหมืองสิน ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ 

กสทช. จับมือ จุฬาฯ จัดงานแสดงผลงานการทดลอง/ทดสอบ Use Cases “Chula 5G for REAL”

การจัดงานแสดงผลงานการทดลอง/ทดสอบ Use Cases “Chula 5G for REAL” ในครั้งนี้ นับว่าเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และเสริมสร้างประสบการณ์ เพื่อพัฒนาให้เป็นบริการนำร่องและนำเสนอบริการดังกล่าวต่อสาธารณชน เป็นประโยชน์ต่อเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการสื่อสารโทรคมนาคมในประเทศไทยต่อไป