posttoday

"ไบโอเทคโนโลยี" ทางรอดเศรษฐกิจไทยหลุดกับดักรายได้ ปานกลาง

12 กันยายน 2563

"อลงกรณ์" ฉายภาพเกษตรเทคโนโลยีชีวภาพ อนาคตเศรษฐกิจไทยและโลก เจาะตลาดความต้องการพุ่งในยุคนิวนอร์มอล

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ กล่าวในงานสัมมนาออนไลน์ (webinar) “ผู้ประกอบ การแสดงสินค้า...อุตสาหกรรมเกษตรเทคโนโลยีชีวภาพ รองรับความปกติใหม่ (New Norm)” จัดโดย โพสต์ทูเดย์ กลุ่มบางกอก โพสต์ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) หรือ ทีเส็บ (TCEB) และหอการค้าไทย

พร้อมกล่าวปฐกถาในหัวข้อ “อุตสาหกรรมเกษตรเทคโนโลยี ชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนใหม่ในยุคนิวนอร์มอล” ว่ากลุ่มภาคอุตสาหกรรมการเกษตรของไทยยังเป็นไปในทิศทางบวก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเกษตรเทคโนโลยีชีวภาพ ทั้งในช่วงและหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 รวมถึงการเข้าสู่ยุควิถีปกติใหม่ (นิว นอร์มอล) ที่จะเข้ามาขับเคลื่อนด้วยเป็นทั้งทางรอด และ เป็นโอกาสของ อนาคตเศรษฐกิจใหม่ของประเทศไทย ในอนาคต

4 กลุ่มผลิตภัณฑ์เกษตรต้อง "รีมิกซ์"

นายอลงกรณ์ กล่าว่าปัจจุบัน กระทรวงเกษตรฯ ได้จัดตั้งศูนย์ เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม(AIC) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมน วัตกรรม เทคโนโนโลยีทางการเกษตรใหม่ๆของไทย กระจายอยู่ใน 77 จังหวัด มีศูนย์กลาง 6 แห่ง ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัย ที่ยังสอดรับในเรื่องเทคโนโลยีชีวภาพด้านการเกษตรของไทย ที่วางไว้เป็นหนึ่งในแผนแม่บทของประเทศไทย ที่เข้าสู่การแปลงในยุคดิจิทัล ประกอบด้วย 4 เรื่องหลัก คือ ไบโอ อีโคโนมี ครีเอทีฟ อีโคโนมี และ ดิจิทัล อีโคโนมี และ โซเชียล อีโคโนมี

สำหรับแผนเศรษฐกิจใหม่ดังกล่าว เพื่อกำหนดทิศทางให้ประเทศไทย เตรียมก้าวสู่ประเทศที่พัฒนามีรายได้เฉลี่ยต่อหัวอยู่ที่ 1.5 หมื่นดอลลาร์สหรัฐต่อปี จากปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ 6,000 ดอลลาร์สหรัฐ ด้วยการเดินหน้ายุทธศาสตร์ในอุตสาหกรรมเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลักดันเป้าหมายส่งออกให้เป็น 110 % ของจีดีพี จากปัจจุบันอยู่ที่ 70% ของจีพีดีประเทศ

โดยมีฐาน เศรษฐกิจใหญ่ของประเทศไทย คือ อาหาร การท่องเที่ยว สุขภาพ หุ่นยนต์ ทีจะเข้ามาเพิ่มผลผลิตโดยออกแบบฐานอุตสาหกรรม ใหม่หมด รวมไปถึงการก้าวสู่อุตสาหกรรมการเกษตรเทคโนโลยี ชีวภาพ ที่จะต้องไปในรูปแบบ "รีมิกซ์" ในกลุ่ม เกษตรอาหาร เกษตรพลังงาน เกษตรท่องเที่ยว และ เกษตรสุขภาพ ที่จะต้องมี การออกแบบให้ชัดเจน

โดยเฉพาะในส่วนของฐานที่ใหญ่สุด คือ ภาคการเกษตรรายย่อย ที่จะต้องใข้เครื่องมือสำหรับการแก้ปัญหาเฉพาะด้าน ที่ไปสู่ เกษตรพาณิชย์ เกษตรอุตสาหกรรม และ เกษตรส่งออก ที่ต้องขับเคลื่อนกลุ่มเกษตรเหล่านี้ ผ่านการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีต่างๆ โดยมีภาครัฐเอกชนไปด้วยกัน ทั้งด้านพัฒนาบุคคลากร ส่วนภาค เกษตรกรเองจะต้องมองทั้งระบบตั้งแต่ ต้นน้ำ ปลายน้ำ

"ไบโอ เทคโนโลยี" อนาคตไทยอนาคตโลก

นายอลงกรณ์ กล่าวว่าสำหรับ "ไบโอ เทคโนโลยี" ของไทย ถือว่ามีมานานจากการตั้งองค์กรเข้ามาดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะกว่า 40 ปี ภึงในปัจจุบัน (พ.ศ.2563) โดย ไบโอ เทคโนโลยี ถือว่าเป็นเป็น อนาคตของโลกและเป็นอนาคตของไทย สอดคล้องกับการทำงาน ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่กำลังเปลี่ยนถ่ายไปสู่การเป็นกระทรวงเทคโนโลยี เพราะหากไทยมีเทคโนโลยีแล้วจะมีความร่ำรวย และก้าวสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้วได้เร็วขึ้น พร้อมสร้าง ธุรกิจใหม่ๆให้เกิดขึ้น ตามมาเช่นกัน

โดยมูลค่าของไบโอเทคโนโลยีในอีก 5 ปีข้างหน้า คาดสูงถึง 727 บิลเลียนดอลลาร์สหรัฐ และมีอัตราการเติบโตกว่า 7% จากปัจจุบันมีการขยายตัวการใช้งาน ไบโอเทคโนโลยี ในอุตสาหกรรมต่างๆทั่วโลก อาทิ โควิด เทสต์ คิต (Covid Test Kit)ชุดตรวจสอบโควิด-19 หรือการนำมาใช้ในเทคโนโลยีสื่อสาร ในรูปแบบวัสดุไบโอพลาสติก ที่กำลังจะเป็นตลาดที่มีมูลค่ามหาศาล รวมไปถึงในอุตสาหกรรมการบิน (เอวิเอชัน) ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรใหม่ (นิว เอส-เคิร์ฟ) ที่มีการใช้คอมโพสิทจากไม้ไผ่ รวมถึงในอุตสาหกรรมยานยนต์ ธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค ที่มีการ นำไบโอเทคโนโลยีมาใช้ในผลิตภัณฑ์มากขึ้น รวมถึงบรรจุภัณฑ์ สินค้าต่างๆ เช่น ขวดบรรจุเครื่องดื่มวอดก้า เป็นต้น

"ไบโอเทคโนโลยี" ทางรอดเศรษฐกิจไทยหลุดกับดักรายได้ ปานกลาง

ขณะที่ผลตอบแทบไบโอเทคโนโลยี ในรอบ 10ปีที่ผ่านมา พบว่า มีมูลค่าและอัตราการเติบโตสูงต่อเนื่องมากกว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงผลตอบแทนการลงทุน และมีความยั่งยืน รวมถึงในยุคโควิด ยิ่งมีการเติบโตสูงขึ้นจาการนำมารองรับด้านอาหาร ยา ไปจนถึง อุตสาหกรรมในเกือบทุกเรื่อง

โดยในอนาคตไทย และ อนาคตโลก จะอยู่ที่ภาคการเกษตร จากปัจจัย ขีดความสามารถทางการเกษตรของไทย จากในปี2561 ไทยเป็นผู้ส่งออกอาหารอันดับ12ของโลก อันดับ2 ของเอเชีย รองจากจีน และในปี 2562 ไทยเป็นผู้ส่งออกอาหาร อันดับ 11 ของโลก อันดับ 2 ของเอเชีย และจากศักยภาพเกษตรและอาหารของประเทศไทย วางเป้าหมายสู่อันดับที่ 11 จากอันดับที่ 14 ภายใน2ปีนับ (ที่มา: สถาบันอาหาร, 2562)

นายอลงกรณ์ กล่าวว่าจากสถานการณ์โควิด-19 โจทย์ใหญ่ของโลกในเวลานี้ ไม่ใช่ความปลอดภัยอาหาร( Food Safety) แต่เป็นเรื่อง การเข้าสู่ภาวะขาดแคลนอาหาร (Fiood Shorted) ซึ่งประชากรโลกกำลังเสี่ยงต่อการอดอยาก ซึ่งจากทิศทางดังกล่าว มองว่า ไทย จะต้องช่วยชาวโลกในเรื่องนี้ โดยเตรียมความพร้อมก้าวสู่ท็อปเท็น ผู้ส่งออกอาหารโลก พร้อมตั้งเป้าสู่การเป็น ท็อปไฟว์ จาการนำเครื่อมือ เทคโนโลยีเกษตร 4.0 การนำนวัตกรรม ภายใต้แนวคิด "กรีนโนเวชัน" มาดำเนินการใช้ไปพร้อมกับการความต้องการ (ดีมานด์) การบริหารจัดการ เพื่อเตรียมความพร้อมก้าวสู่เกษตรเพื่อสุขภาพ ตอบรับยุคนิวนอร์มอล นับจากนี้ไป