posttoday

แจก3พันบาท15ล้านคน วุ่นยังไม่ได้ข้อสรุป

07 กันยายน 2563

ตามคาดแจกเงิน 3 พันบาท ให้ 15 ล้านคน วุ่น หน่วยงานแจงรายวันยังไม่ได้ข้อสรุป

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงเรื่อง “โครงการคนละครึ่ง”ตามที่ปรากฏเป็นกระแสข่าวที่รัฐบาลจะดำเนินการมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายภาครัฐผ่าน “โครงการคนละครึ่ง” ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบศ. ที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง เป็นประธาน เห็นชอบในหลักการของกรอบแนวคิดโครงการในคราวประชุมเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2563 นั้น

สภาพัฒน์ ฐานะฝ่ายเลขานุการของ ศบศ.ขอเรียนชี้แจงเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ดังนี้

โครงการคนละครึ่งที่เสนอ ศบศ. ยังมีลักษณะเป็นกรอบกว้าง โดยกระทรวงการคลัง จะต้องไปจัดทำรายละเอียดเพิ่มเติม อาทิ คุณสมบัติของประชาชนและร้านค้าที่จะสามารถเข้าร่วมโครงการ จำนวนประชาชนที่จะได้รับสิทธิ์ วงเงินค่าใช้จ่ายต่อวัน ระบบการลงทะเบียน กลไกในการช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกผู้ค้าที่เป็นหาบเร่ แผงลอย ให้สามารถเข้าร่วมโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ รูปแบบการชำระเงิน ซึ่งเมื่อกระทรวงการคลังจัดทำรายละเอียดโครงการที่มีความสมบูรณ์แล้ว จะนำเสนอให้ ศบศ. พิจารณาตามขั้นตอนอีกครั้งหนึ่ง

ดังนั้น ในช่วงระหว่างนี้จึงเป็นช่วงเวลาที่กระทรวงการคลังยังจัดทำรายละเอียดโครงการให้มีความสมบูรณ์ ขอให้สื่อมวลชนและประชาชนรอความชัดเจนในรายละเอียดของโครงการดังกล่าวภายหลังจากการประชุม ศบศ.ในครั้งต่อไปวันที่

แจก3พันบาท15ล้านคน วุ่นยังไม่ได้ข้อสรุป

ก่อนหน้านี้ น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่สื่อออนไลน์บางสำนักรายงานโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ให้ประชาชน 15 ล้านสิทธิ์ รับ 3,000 บาท เพื่อจับจ่ายใช้สอย เป็นการเอื้อทุนใหญ่ เงินเข้ากระเป๋าห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อ รัฐบาลขอชี้แจงว่า โครงการดังกล่าวเป็นมาตรการทางเศรษฐกิจเพื่อลดภาระค่าครองชีพของประชาชน ที่ต่อยอดจากโครงการชิมช้อปใช้ โดยร้านค้าที่เข้ามาโครงการจะยังเหมือนเดิม แต่วัตถุประสงค์หลักของโครงการนี้ เพื่อขยายร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ โดยมีเป้าหมายคือกลุ่มร้านค้าหาบเร่แผงลอย ร้านโชห่วย ร้านขายข้าวแกง ร้านขายอาหารและเครื่องมือตามตลาดหรือตลาดนัด เป็นต้น เพื่อกระจายรายได้ลงสู่ผู้ประกอบการรายเล็กให้ได้มากที่สุด จึงได้กำหนดหลักการเบื้องต้น ให้สามารถใช้จ่ายได้วันละ 100 บาท โดยรัฐออกค่าใช้จ่ายให้ 50 เปอร์เซ็นต์ ผู้ได้รับสิทธิ์ออกเอง 50 เปอร์เซ็นต์ ให้สอดคล้องในการจับจ่ายใช้สอยกับผู้ประกอบการรายเล็ก เช่น การซื้ออาหาร เครื่องดื่ม ตามร้านค้าหาบเร่แผงลอง หรือร้านโชห่วย

“สำหรับโครงการดังกล่าว รัฐบาลต้องการช่วยเรื่องค่าครองชีพของประชาชน พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจให้ลงไปสู่ผู้ค้ารายเล็กรายน้อย หลังจากที่ได้ผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 โดยไม่ได้ตั้งเป้าให้เงินเข้ากระเป๋าทุนใหญ่แต่อย่างใด แม้โครงการดังกล่าวจะมีห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อเข้าร่วมก็ตาม แต่จะเห็นได้ว่า หลักเกณฑ์การใช้จ่ายนั้น เอื้อให้มีการซื้อของกับผู้ประกอบการรายเล็กรายน้อยจริงๆ” น.ส.ไตรศุลี กล่าว

แจก3พันบาท15ล้านคน วุ่นยังไม่ได้ข้อสรุป

ด้านนายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยก่อนหน้านี้ว่า มาตรการกระตุ้นการบริโภคแจกเงิน 3,000 บาท ให้กับประชาชนอายุ 18 ปี ขึ้นไป จำนวน 15 ล้านคน จะเปิดให้ลงทะเบียนรับสิทธิผ่าน WWW.คนละครึ่ง.com กลางเดือน ต.ค. นี้ โดยชื่อเว็บไซต์ต้องการสื่อสารให้ชัดเจนว่า มาตรการนี้รัฐไม่ได้แจกเงินอย่างเดียว แต่ผู้มีสิทธิต้องร่วมจ่ายในการซื้อสินค้าอุปโภคด้วยครึ่งหนึ่งด้วย

ทั้งนี้ สศค. กำลังเร่งสรุปรายละเอียดของโครงการทั้งหมด เพื่อเสนอให้ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 หรือ ศบศ. ในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) จะได้ดำเนินการเตรียมพร้อมระบบการลงทะเบียน เงินที่จะมาใช้ในโครงการให้ทันกลางเดือน ต.ค. นี้

สำหรับเงื่อนไขของโครงการประชาชนที่สัญชาติไทยอายุ 18 ปีขึ้นไป ลงทะเบียนได้หมดเพราะเป็นมาตรการต้องการกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายจริงๆ รวมถึงร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการขณะนี้ ก็นำร้านค้าจากโครงการ ชิมช้อปใช้ ประมาณ 5-6 หมื่นร้าน และจะมีการลงพื้นที่เพื่อให้ร้านค้าหายเร่แผงลอยเข้าโครงการให้มากที่สุด

ติดตามการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรปเตือนเศรษฐกิจรับมือโควิด-19ระบาดรอบสองขณะที่การเปิดให้ร้านค้าสะดวกซื้อต่างๆ เช่น ร้านเซเว่น ห้างสรรพสินค้า เข้าร่วมโครงการด้วย ก็ยังพิจารณาอยู่ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งเป้าหมายคือต้องการให้เกิดการใช่จ่ายกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศให้มากที่สุด

"โครงการนี้กำหนดไว้ 15 ล้านคน ซึ่งเป็นการร่วมจ่ายการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค ระหว่างผู้ได้สิทธิกับรัฐบาลคนละครึ่ง จึงอยากให้ผู้ได้สิทธิมีกำลังและต้องการซื้่อจริงๆ หากมีคนลงทะเบียนเกินจำนวนมาก ก็สามารถเสนอให้รัฐบาลขยายได้ เพราะถือว่าเป็นประโยชน์ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ" นายลวรณ กล่าว

สำหรับโครงการดังกล่าว คาดว่าจะใช้งบประมาณจาก พ.ร.ก. เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท จำนวน 4.5 หมื่นล้านบาท หากมีคนมาใช้สิทธิเต็มจำนวน 15 ล้านคน และใช้เงินหมด 3,000 บาท จะทำให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น 9 หมื่นล้านบาท