posttoday

มนัญญา ร้อง!!กลับมติแบน 3 สารไม่คิดเป็นการหักหลัง สังคมจะตอบประชาชนเองใครทำอะไรไว้

28 พฤศจิกายน 2562

เดินหน้าเข้มมาตรการร้านจำหน่าย การอนุญาตใช้สาร และทะเบียนผู้มีสิทธิซื้อใช้สาร ตามมติกก.วอ.วันที่ 23 พ.ค.62 ซึ่งกรมวิชาการเกษตรต้องไปเข้มงวด ลั่นไม่ขัดแย้งทำงานต่อกับรมว.เกษตรฯ แต่ต้องระวังสเต็ปเพราะบันไดเยอะ

เดินหน้าเข้มมาตรการร้านจำหน่าย การอนุญาตใช้สาร และทะเบียนผู้มีสิทธิซื้อใช้สาร ตามมติกก.วอ.วันที่ 23 พ.ค.62 ซึ่งกรมวิชาการเกษตรต้องไปเข้มงวด ลั่นไม่ขัดแย้งทำงานต่อกับรมว.เกษตรฯ แต่ต้องระวังสเต็ปเพราะบันไดเยอะ

นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ รมช.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่าเมื่อมติของคณะกรรมการวัตถุอันตรายออกมาอย่างไรก็ต้องเคารพมติ แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีมติที่เป็นทางการออกมาเพราะฉะนั้นขณะนี้ต้องเดินหน้าไปตามมติเดิมที่มีผลทางกฏหมาย

โดยเมื่อเช้าวันที่ 28 พ.ย.ได้ให้นโยบายกับกรมวิชาการเกษตรแล้วว่า ให้เดินหน้าตามมติของคณะกรรมการวัตถุอันตรายที่มีผลทางกฏหมาย และต้องปฏิบัติอย่างจริงจัง

"ในส่วนตัวที่ดิฉันมีหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายก็ได้ทำหน้าที่ถึงที่สุด จนเรื่องออกไปถึงคณะกรรมการวัตถุอันตรายแล้ว แต่เมื่อผลเป็นอย่างอื่นก็ต้องว่ากันตามกฏหมาย เพราะส่วนตัวไม่ได้เคยคิดหักหลังใคร ก็เลยไม่ได้คิดว่าใครจะมาหักหลัง วันนี้ขอทำหน้าที่ให้ดีที่สุด และประชาชนจะเป็นผู้ให้คำตอบเองว่า ใครทำหน้าที่อย่างไร" นางสาวมนัญญา กล่าว

อย่างไรก็ตาม จากรายงานที่ได้รับทราบ มีการยืนยันจากกรรมการในคณะกรรมการวัตถุอันตรายบางราย ออกมาเปิดเผยว่าที่ประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตรายเมื่อ 27 พ.ย. 62 ไม่ได้มีการลงมติ จึงมีความสับสนต่อการแถลงว่ามีมติเป็นเอกฉันท์

ดังนั้นขณะนี้ต้องว่ากันตามมติวันที่ 23 พ.ค. 256 ที่ให้มีการจำกัดการใช้ ทั้ง 3 สาร จนกว่าจะมีการประกาศมติที่ประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตราย วันที่ 27 พ.ย. 2562 ในราชกิจจานุเบกษาเพื่อออกมาหักล้างมติ 23พ.ค. 62

นางสาวมนัญญา กล่าวว่าไม่ว่ามติจะเป็นอย่างไร วันนี้ก็จะเดินหน้าทำโครงการสนับสนุนสหกรณ์การเกษตร จัดหาเครื่องกลทางการเกษตรเพื่อให้บริการสมาชิกในราคายุติธรรม ซึ่งในส่วนรายละเอียดจะสำนักเครื่องจักรกลการเกษตร จากกรมวิชาการเกษตร เป็นผู้ผู้กำหนดแบบที่เหมาะสมกับพืชแต่ละชนิด และจะงบกลางจากรัฐบาลมาช่วยสหกรณ์ในการจัดหาเครื่องจักรดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม หากถามว่าจะทำงานกับรมว.เกษตรและสหกรณ์ต่อได้หรือไม่ เพราะขัดแย้งกัน นางสาวมนัญญากล่าวว่า ที่กระทรวงเกษตรฯบันไดเยอะเดินก็ต้องระวังสเตป ซึ่งเมื่อตนเองกำกับกรมวิชาการเกษตร ก็ได้ทำหน้าที่ดีที่สุดแล้ว ซึ่งเมื่อวานตนเองก็ได้ให้สัมภาษณ์ว่า หากใครเห็นว่าจะดูแลกรมกรมวิชาการเกษตรได้ดีกว่าก็มาเอาไป แต่ขอกรมชลประทานมาให้ก็แล้วกัน และหากรมว.เกษตรฯ เรียกไปหารือ ก็พร้อมที่จะเข้าพบทุกเวลา

ทั้งนี้เมื่อเวลา 14.20 น. ครือข่ายผู้บริโภค ได้เข้าพบมอบดอกไม้เพื่อให้กำลังใจนางสาวมนัญญาที่กระทรวงเกษตรฯ โดยนายชนวน รัตนะวราหะ อดีตรองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร และผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรฯ กล่าวว่า ให้กำลังใจรัฐมนตรีที่เป็นผู้หญิง แต่เป็นนกต่อสู้มาก และขอประณามพรรคพลังประชารัฐและประชาธิปัตย์ที่เห็นแก่บริษัทสารเคมีมากกว่าผู้บริโภค

นางสาวสารี อ่องสมหวัง ตัวแทนมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า เสนอให้ผ่าตัดโครงสร้างกระทรวงเกษตรให้มีกรมสนับสนุนเกษตรอินทรีย์ที่ชัดเจน รวมทั้งเรียกร้องให้มีการแสดงฉลากที่สินค้าให้ผู้บริโภคมีสิทธิในการเลือกสินค้าเกษตร ผักผลไม้และอาหารที่มีการใช้สารเคมีอย่างชัดเจนเพื่อเป็นทางเลือกของประชาชน
ตามที่คณะกรรมการวัตถุอันตราย ได้กลับมติของตนเองให้ชะลอการเพิกถอนทะเบียนพาราควอตและคลอไพริฟอส ไปอีก 6 เดือน และยกเลิกการเพิกถอนทะเบียนสารไกลโฟเสตให้อยู่ในระดับเพียงจำกัดการใช้ สะท้อนให้เห็นถึง ความไม่คงเส้นคงวาไม่มีหลักวิชาการของคณะกรรมการวัตถุอันตราย พรรคพลังประชารัฐและพรรคประชาธิปัตย์ที่เลือกข้างบริษัทสารเคมี


นอกจากนั้นเรียกร้องให้ กระทรวงเกษตรฯ ผลักดันสินค้า เกษตรทั้งผักและผลไม้ ให้ระบุแหล่งที่มาว่าเป็นฟาร์มที่มีการใช้สารเคมีทั้ง 3 ชนิดหรือไม่เพื่อให้ประชาชนเป็นผู้เลือก และสนับสนุนให้ลดภาษีเครื่องจักรกลทางการเกษตรและสนับสนุนให้เกษตรกร ยืมเครื่องจักรกลใช้งานแทนการใช้สารเคมี เหมือนที่ให้นำเข้าสารเคมีเกษตรไม่ต้องเสียภาษี และผลักดันให้กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ปรับปรุงฉลากของผลิตภัณฑ์อาหาร ให้ระบุสารเคมีที่ใช้ในทางการเกษตรให้ครบถ้วน เช่นเดียวกับการใช้วัตถุเจือปนอาหารตามหลักเกณฑ์การแสดงฉลากอาหารของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

นายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ ที่ปรึกษารมช.เกษตรฯ กล่าวว่า เมื่อที่ประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตราย 27 พ.ย. 62 ไม่มีการรับรองมติผลประชุม 22 ต.ค. 62 ก็เท่ากับว่า มติแบน 22 ต.ค. ไม่มีผลบังคับใช้ ขณะเดียวกัน ทีประชุม 27 พ.ย. 62 ก็ยังมีข้อกถเถียงกันว่ามีมติหรือไม่ เพราะจากข้อเท็จจริงขณะนี้ยังไม่ชัด เพราะฉนั้นทางราชการก็ต้องยึดตามหนังสือราชการเท่านั้น

"มติเป็นอย่างไร ไม่มีใครทราบ มีการฟังมติผ่านทีวี แต่ก็มีกรรมการออกมาแย้ง เพราะฉะนั้นขณะนี้เรื่อง 3 สารมีทั้งหมด 3 เหตุคือมติวันที่ 23 พ.ค. 62 ที่มีการจำกัดการใช้ และอบรมเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนอบรมการใช้สาร 4 แสนราย ผ่านการอบรม 3 แสนราย และร้านจำหน่ายต้องขึ้ทะเบียนผู้จำหน่าย ผู้ซื้อต้องมีใบอนุญาตซื้อในปริมาณที่กำหนด และผู้รับจ้างพ่นสารต้องมีการอบรมและมีและมีใบอนุญาตรับจ่างพ่นสารเท่านั้น" นายฉกรรจ์กล่าว

ในขณะที่มติสองครั้ง คือ 22 ต.ค.62 ไม่มีการรับรองมติเท่ากับไม่มีผลบังคับใช้และ มติ 27 พ.ย. 62 ขณะนี้ยังไม่ชัด และยังไม่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพราะฉะนั้นเกษตรกรที่ใช้สาร 3 ตัวคือพาราควอต คอลร์ไพริฟอส ไกลโฟเซส ต้องเป็นไปตามมติ 23 พ.ค. 62 คือจำกัดการใช้ ส่วนสารที่เหลือ 2.3 หมื่นตันในสต๊อกเอกชนก็เป็นเรื่องที่เอกชนต้องไปบริหารจัดการให้เป็นไปตามกฏหมาย ส่วนประเด็นการฟ้องศาลปกครองก็เป็นเรื่องที่ผู้มีส่วนได้เสียจะดำเนินการกันเอง