posttoday

ปตท.สผ.โชว์เคส 4 นวัตกรรมไทย ในงาน ADIPEC 2019

15 พฤศจิกายน 2562

การจัดงาน ADIPEC 2019 (Abu Dhabi International Petroleum Exhibition and Conference 2019) หรืองานนิทรรศการและการประชุมด้านน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่ใหญ่ระดับโลกและจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยปีนี้จัดขึ้นที่ เมืองอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี)

การจัดงาน ADIPEC 2019 (Abu Dhabi International Petroleum Exhibition and Conference 2019) หรืองานนิทรรศการและการประชุมด้านน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่ใหญ่ระดับโลกและจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยปีนี้จัดขึ้นที่ เมืองอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี)

ปีนี้ ปตท.สผ. เป็น 1 ใน 35 บริษัทน้ำมันแห่งชาติจากทั่วโลกที่เข้าร่วมงาน ซึ่งการเข้าร่วมงานจะเป็นการเปิดโอกาสให้ ปตท.สผ. ได้แลกเปลี่ยนมุมมองกับบริษัทน้ำมันต่าง ๆ จากทั่วโลก และรับทราบสถานการณ์ปัจจุบันของธุรกิจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ รวมถึง สร้างความสัมพันธ์กับผู้ที่อยู่ในธุรกิจด้วยกัน ทั้งบริษัทน้ำมันแห่งชาติ (Nation Oil Companies หรือ NOCs) และบริษัทน้ำมันข้ามชาติ (International Oil Companies หรือ IOCs) และผู้ให้บริการ (Service company) ซึ่งสามารถนำไปสู่ความร่วมมือกันในอนาคต โดยภายในงานมีบริษัทที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจพลังงานมาร่วมแสดงนิทรรศการมากกว่า 2,200 บริษัท โดยผู้จัดงานคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 145,000 คนจาก 167 ประเทศทั่วโลก

ปตท.สผ.โชว์เคส 4 นวัตกรรมไทย ในงาน ADIPEC 2019

นายพงศธร ทวีสิน ประธานเจ้าหน้าที่และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือปตท.สผ. กล่าวว่า ปีนี้เป็นปีแรกที่ปตท.สผ.ได้เข้าร่วมงาน ADIPEC ซึ่งบูธ นิทรรศการ ได้นำเทคโนโลยี ที่ปตท.สผ. คิดค้นขึ้น โดยบริษัทเอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส หรือ ARV เป็นบริษัทลูกของปตท.สผ. มาแสดงผลงาน เพื่อตอกย้ำว่าเราไม่ใช่แค่บริษัทสำรวจและผลิตปิโตรเลียม เท่านั้น แต่ยังการลงทุนในธุรกิจด้านปัญญาประดิษฐ์ และหุ่นยนต์ มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการการผลิต สร้างความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน และลดผลกระทบส่งแวดล้อม

สำหรับเทคโนโลยีที่ ปตท.สผ. นำมาจัดแสดงในงาน ADIPEC 2019 ประกอบด้วยเทคโนโลยีด้านธรณีวิทยา เทคโนโลยีด้านวิศวกรรมและ
การผลิต และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ ได้แก่

1.หุ่นยนต์ใต้น้ำอัตโนมัติไร้สาย (Inspection-class Autonomous Underwater Vehicle - IAUV)  IAUV ซึ่งพัฒนาขึ้น โดย ARV ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ และบริษัทเอกชน สร้างขึ้นมาเพื่อช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพในการตรวจสอบอุปกรณ์ใต้ทะเล เช่น ท่อส่งปิโตรเลียมที่มีความยาวหลายกิโลเมตร และอยู่ใต้น้ำซึ่งเป็นพื้นที่ที่ไม่มีสัญญาณ GPS เนื่องจากมีความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน ไม่จำเป็นต้องใช้เรือขนาดใหญ่และมีค่าใช้จ่ายสูง ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบอุปกรณ์ใต้ทะเลได้ถึง กว่าร้อยละ 50 และยังช่วยลดความเสี่ยงในการทำงานเนื่องจากไม่ต้องใช้นักดำน้ำลงไปทำงาน

ปตท.สผ.โชว์เคส 4 นวัตกรรมไทย ในงาน ADIPEC 2019

นอกจากนี้ ยังสามารถตรวจสอบอุปกรณ์ที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษได้บ่อยขึ้น นับเป็นอีกหนึ่งทางเลือก จากการใช้ยานยนต์ควบคุมระยะไกล
(Remotely Operated Vehicle - ROV) ที่ต้องบังคับโดยเจ้าหน้าที่ที่ประจำอยู่บนเรือสนับสนุน ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าโดยคาดว่าจะสามารถนำมาให้บริการเชิงพาณิชย์ได้ภายในปี 2563

2.อุปกรณ์ดูดซับสารประกอบในคอนเดนเสท หรือ ทูสแลม (Safe Self Loading/Unloading Adsorber Modular – 2SLAM)เทคโนโลยีดูดซับเพื่อกำจัดสารประกอบบางชนิดในก๊าซธรรมชาติเหลว หรือคอนเดนเสท ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่สำคัญของโรงงานปิโตรเคมี ในประเทศไทย โดยอุปกรณ์ดังกล่าวสามารถเปลี่ยนตัวดูดซับที่ใช้งานแล้วได้อย่างอัตโนมัติโดยไม่ต้องหยุดกระบวนการผลิต ซึ่งทำให้ช่วยประหยัดเวลาและเพิ่มความปลอดภัยในการทำงาน อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้งานได้ทั้งบนแท่นผลิตนอกชายฝั่ง และบนฝั่ง ด้วยเทคโนโลยีนี้จะสามารถช่วยลดระยะเวลาและแรงงาน ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนของการออกแบบ โดยจะสร้างหน่วยต้นแบบและทดสอบการใช้งานจริงในปี 2563

3.นวัตกรรมการเก็บตัวอย่างสารในท่อส่งปิโตรเลียม (Sampling PIG)เทคโนโลยีการเก็บตัวอย่างพื้นผิวภายในของท่อส่งปิโตรเลียม เพื่อนำมาวิเคราะห์ปริมาณของสารตกค้างและประเมินสภาพพื้นผิวภายในของท่อ Sampling PIG สามารถเก็บตัวอย่างจากภายในท่อได้หลายจุดโดยไม่ต้องอาศัยเรือสนับสนุน จึงช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 3 เท่าจากวิธีเดิมซึ่งต้องใช้นักดำน้ำ และเครื่องมือเจาะจากด้านนอกท่อเพื่อเก็บตัวอย่าง ภายใน ซึ่งมีความเสี่ยง ใช้เวลานาน และต้องใช้ระบบและอุปกรณ์สนับสนุนหลายอย่าง ปตท.สผ. พัฒนานวัตกรรมดังกล่าวร่วมกับบริษัท ดาคอน อินสเป็คชั่น เซอร์วิสเซส โดยวางแผนทดสอบการใช้งานในสภาพแวดล้อมจริงในปี 2563

ปตท.สผ.โชว์เคส 4 นวัตกรรมไทย ในงาน ADIPEC 2019



และ 4. เทคโนโลยีการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อติดตามการไหลของน้ำและน้ำมันในแหล่งกักเก็บปิโตรเลียม (Electromagnetics)เทคโนโลยีการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และหลักการเหนี่ยวนำไฟฟ้า เพื่อวิเคราะห์ตำแหน่งของน้ำและน้ำมันใต้ดิน ช่วยในการติดตามทิศทางการไหล ของน้ำที่อัดเข้าไปในหลุมเจาะปิโตรเลียม เพื่อดันน้ำมันดิบในแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมเข้าไปยังหลุมผลิต ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งในการเพิ่มปริมาณ การผลิตน้ำมันดิบ ?ปตท.สผ. ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล พัฒนาซอฟต์แวร์ (inversion software)ปัจจุบันอยู่ระหว่างการ ทดสอบการใช้งานในแหล่งผลิตปิโตรเลียมบนบก

"งาน ADIPEC เป็นโอกาสที่ดีที่่ได้มีการแลกเปลี่ยนความเห็นและวิสัยทัศน์ของผู้นำพลังงานพร้อมอัพเดทสถานการณ์ด้านพลังงาน โดยปตท.สผ.ได้นำเสนอนวัตกรรมที่จัดทำขึ้นโดย ARV มาจัดแสดง เป็นการต่อยอดให้บริษัทมีโอกาสเติบโต พร้อมทั้งโชว์ศักยภาพของคนไทยในเวทีโลก"นายพงศธร กล่าว