posttoday

นอกจากเรื่องบินแล้ว 'แอร์เอเชีย' ก็ยังเน้นเรื่องกินบนเครื่องฯด้วย

11 ตุลาคม 2562

'แอร์เอเชีย Satan' ขน 3 สตรีท ฟู้ด เมนูเด็ด 'ผัดไท-ปังสังขยา-ชาไทยไข่มุกบุก' พร้อมเสิร์ฟบนเครื่อง 370 เที่ยวบินต่อวัน รับหน้าไฮ-ซีซัน มาแล้ว วางเป้าหมายธุรกิจบริการเอฟแอนด์บีโตทะลุ20%

'แอร์เอเชีย Satan' ขน 3 สตรีท ฟู้ด เมนูเด็ด 'ผัดไท-ปังสังขยา-ชาไทยไข่มุกบุก' พร้อมเสิร์ฟบนเครื่อง 370 เที่ยวบินต่อวัน รับหน้าไฮ-ซีซัน มาแล้ว วางเป้าหมายธุรกิจบริการเอฟแอนด์บีโตทะลุ20%

นางสาวอรอนงค์ เมธาพิพัฒนกุล ผู้อำนวยการฝ่ายสินค้า และ บริการบนเครื่องบิน 'แอร์เอเชีย Satan' บริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด เปิดเผยว่าบริษัทร่วมกับพันธมิตรธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่ม(F&B) นำ 3 เมนู สตรีทฟู้ด คือ ผัดไทยสูตรโบราณห่อไข่ วางราคา 150 บาท อาฟเตอร์ยูขนมปังสังขยาไข่เค็มและช็อกโกแลต ราคา 90 บาท และ เครื่องดื่มชาไทยไข่มุกบุก ราคา 75 บาท ให้บริการระหว่างเที่ยวบินตลอดเดือนตุลาคม-ธันวาคม ปีนี้

โดยทั้ง 3 เมนูพร้อมให้บริการผู้โดยสาร ในทุกเที่ยวบินของไทยแอร์เอเชียและไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์ ในช่วงไตรมาสสุดท้ายปีนี้ ปัจจุบัน แอร์เอเชีย ให้บริการประมาณ 370 เที่ยวบินต่อวัน แบ่งเป็น ภายในประเทศ 210 เที่ยวบิน และ ระหว่างประเทศจำนวน 160 เที่ยวบิน

"แอร์เอเชีย ร่วมกับพันธมิตรธุรกิจด้านเอฟแอนด์บี พัฒนาวัตกรรมอาหารและเครื่องดื่มเมนูใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง ด้วยต้องการพลิกความความรู้สึกใหม่ของผู้โดยสารที่ทานอาหารบนเครื่องบินให้เหมือนข้างล่าง ขณะที่เมนูอาหารของสายการบินแอร์เอเชียเองก็จะไม่เหมือนกับสายการบินอื่น โดยมีการปรับเปลี่ยนหมุนเวียนเมนูอาหารและเครื่องดื่มตลอด1-2 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันกลุ่มอาหารสดฮอตมีล มี 6เมนู และในบางไฟลต์มีอาหารอินเดีย 1 เมนู และอาหารไลท์มีล 1 เมนู รวมถึงเครื่องดื่มน้ำผลไม้ต่างๆ" นางสาวอรอนงค์ กล่าว

จากแนวทางดังกล่าว พบว่าได้ผลตอบรับดีจากผู้โดยสาร โดยเฉพาะเมนูขนมหวานขนมปังเนยโสด อาฟเตอร์ยู และ ขานมไข่มุก ที่ให้บริการไปเมื่อไตรมาสที่ผ่านมา โดยเมนูชานมไข่มุกสร้างยอดขายกว่า 26,000 แก้วต่อเดือน เทียบกับเมนูเครื่องดื่มทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ 3,000-4,000 แก้วต่อเดือน คิดเป็นอัตราเติบโตกว่า 460%

ขณะที่ธุรกิจเอฟแอน์บี แอร์เอเชีย Satan คิดเป็นสัดส่วนราว 7% ใน 19% ของรายได้จากธุรกิจเสริมแอร์เอเชีย โดยธุรกิจเอฟแอนด์บี มีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 20% ทุกปีต่อเนื่อง โดยการให้บริการระหว่างเที่ยวบิน(ออน บอร์ด) เติบโต 12% ซึ่งในช่วง 4 เดือนแรกของต้นปีอัตราการเติบโตธุรกิจเอฟแอนด์บีปรับลดลงตามการจองตั๋วโดยสารของลูกค้ากลุ่มภาครัฐล่วงหน้่า(พรี บุ๊คกิง) มีจำนวนลดลงไปจากปกติ มีสัดส่วน 50% อย่างไรก็ตามลูกค้าดลุ่มดังกล่าวได้เริ่มทยอยกลับมาแล้ว

โดยรายได้เอฟแอนด์บี ปี 2560-2561 เติบโต 29% และในปี2562 คาดเติบโตจากปีก่อน 20% และในปี2563 วางเป้าหมายเอฟแอน์ดบี เติบโต 20% ต่อเนื่อง

สำหรับในปี 2563 บริษัทวางแผนร่วมกับพันธมิตรธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มอีก 2รายใหม่ เพื่อพัฒนาเมนูอาหารใหม่บนสายการบินเพิ่มขึ้นอีก โดยจะเปิดตัวพันธมิตรรายแรกราวไตรมาส 2 และอีกหนึ่งรายประมาณไตรมาส 4 ของปีหน้า

นอกจากเรื่องบินแล้ว 'แอร์เอเชีย' ก็ยังเน้นเรื่องกินบนเครื่องฯด้วย