posttoday

TraXasia ล้วงข้อมูล นทท.จีน 'เมืองไทย' ยังอยู่ในใจเสมอ

01 ตุลาคม 2562

แนะกลยุทธ์แบรนด์สินค้า ต้องทำทุกอย่างให้ง่ายและไว ใน 4 กลุ่ม ช้อปปิง-สิ่งอำนวยความสะดวก-อาหาร-การเดินทาง พร้อมเชื่อมต่อพันธมิตรธุรกิจสร้างกิจกรรมส่งเสริมการตลาด-แบรนด์ร่วมกัน มัดใจลูกค้าจีนให้อยู่หมัด

แนะกลยุทธ์แบรนด์สินค้า ต้องทำทุกอย่างให้ง่ายและไว ใน 4 กลุ่ม ช้อปปิง-สิ่งอำนวยความสะดวก-อาหาร-การเดินทาง พร้อมเชื่อมต่อพันธมิตรธุรกิจสร้างกิจกรรมส่งเสริมการตลาด-แบรนด์ร่วมกัน มัดใจลูกค้าจีนให้อยู่หมัด

เยี่ย หรู อิ๋ง ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจ TraXasia กล่าวในงานสัมมนา "MediaCom BLINK_live Thailand 2019" (บลิงค์ไลฟ์) ปีที่2 หัวข้อ Travelers On the Go! "เจาะตลาดนักเดินทางอย่างชาญฉลาดพร้อมนำแบรนด์สินค้าไปสร้างประสบการณ์ร่วมกับการท่องเที่ยว" ว่า ปัจจุบันนักท่องเที่ยวชาวจีน ยังวางเป้าหมายให้ไทยยังอยู่ในลิสต์การเดินทางท่องเที่ยวยอดนิยมในช่วงโกลเดน วีค (วันหยุดยาวเพื่อเฉลิมฉลองวันชาติจีน ระหว่างวันที่1-7 ตุลาคม)

โดยเรียงลำดับประเทศยอดนิยมสูงสุด คือ ญี่ปุ่น ไทย อินโดนีเซีย มัลดีฟ เยอรมัน รัสเซีย ฝรั่งเศส มาเลเซีย สวิสเซอร์แลนด์ และ อิตาลี

โดยกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มีอายุระหว่าง 20-40 ปี (ยุค80-ยุค90) จะนิยมเดินทางมายังประเทศไทย ญี่ปุุ่น อินโดนีเซีย สิงคโปร์ เป็นลำดับต้นๆ คิดเป็นสัดส่วนกว่า 40% ซึ้่งจะเดินทางลักษณะเป็นหมู่คณะ และ 60% เป็นกลุ่มเดินทางท่องเที่ยวด้วยตัวเอง

จากข้อมูลเบื้องต้น TraXasia มองว่าเป็นโอกาสในการทำตลาดในกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีน โดยสำรวจจากพฤติกรรมนักท่องเที่ยวจีน แบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ ก่อนเดินทาง จะเริ่มตั้งแต่การวางแผนท่องเที่ยว

โดยตรวจสอบรายละเอียดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ต่างๆ เช่น วีแชท เวยป๋อ ทริปแอดไวเซอร์ ฯลฯ จากนั้นเริ่มการจองตั๋วเครื่องบิน/ที่พัก ผ่าน Ctrip, Gunar.com, eLong เป็นต้น

และเริ่มต้นเดินทาง โดยจะเตรียมซื้อ ซิม การ์ด หรือ การใช้งานดาต้า ผ่านเว็บไซต์ เถาเป่า วีแชท, Ctrip, Gunar.com และการเชื่อมต่อไวไฟ สนามบิน

จากนั้นเข้าสู่ช่วงระหว่างการเดินทาง จะเป็นการท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆตามลิสต์ที่วางไว้ ผ่านแอปพลิเคชั่นต่างๆ รวมถึงถ่ายภาพ เพื่อแนะนำสถานที่และรีว ผ่านเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่น อีกเช่นกัน และในช่วงสุดท้าย ภายหลังสิ้นสุดการเดินทาง จะเป็นการแชร์ข้อมูลผ่านสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ เช่น วีแชท ติ๊กต๊อก เว่ยป๋อ เป็นต้น

ขณะที่ข้อมูลที่น่าสนใจ คือ ในช่วงระหว่างการตัดสินใจเพื่อเดินทางท่องเที่ยวนั้น พบว่า 50% มาจากการบอกต่อ, 32% มาจากเนื้่อหาในสื่อสังคมออนไลน์ และ 25% มาจากการค้นหาผ่าน SEO คอนเทนต์

โดยในช่วงระหว่างการจองตั๋วเครื่องบินและที่พัก พบว่า 62% ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ 15% มาจากคอมพิวเตอร์ 7% มาจากการจองทางโทรศัพท์ และ 3% จากสถานที่โดยตรง

สำหรับช่วงระหว่างการเดินทางนั้นพบว่า 62% มาจากการโรมมิง ดาต้า, 50% ใช้ซิมการ์ด และ 32% ใช้จุดเชื่อมไวไฟ และ 16% ยินดีที่จะรอโฆษณาประมาณ 5 นาที เพื่อใช้ฟรีไวไฟ 1 ชั่วโมง

นอกจากนี้ในช่วงระหว่างเก็บเกี่ยวประสบการณ์การท่องเที่ยว นั้นพบว่าส่วนใหญ่จะใช้เวลาเฉลี่ย 5.6 ครั้งต่อวันไปยังสถานที่ท่องเที่ยวตามที่ลิสต์ไว้ เพื่อถ่ายรูปและ 70% จะใช้แอปฯถ่ายรูปและวิดีโอ และใช้เวลาเฉลี่ย 14 นาที เพื่อแต่งภาพ

ส่วนในช่วงปิดท้ายการเดินทางนั้น พบว่า 63% จะแชร์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และ 39% แชร์ผ่านเว็บไซต์ท่องเที่ยว

ง่ายและเร็ว มัดใจนักท่องเที่ยวจีนรุ่นใหม่

เยี่ย กล่าวต่อว่าจากข้อมูลดังกล่าวเจ้าของสินค้าหรือนักการตลาดจำเป็นต้องนำเสนอในสิ่งที่ลูกค้านักท่องเที่ยวชาวจีนต้องการจริงๆ ใน 4 กลุ่มหลัก คือ 1. การช้อปปิง 2.สิ่งอำนวยความสะดวก 3.อาหาร และ 4.การเดินทาง

โดยทั้งหมดจะต้องมีความง่าย และ รวดเร็ว ประกอบด้วย โปรโมชันสินค้า(Promo) จะต้องนำเสนอให้กับลูกค้าในช่องทางที่แตกต่างกันและถึงระหว่างกัน เช่น ส่วนลด 20%,50% ในโฆษณาผ่านมือถือ

การทำมินิโปรแกรม, บริการสนทนากับมนักท่องเที่ยวผ่านกลุ่มเฉพาะหรือเอสเอ็มเอส หรือ การแจกตัวอย่างสินค้า

ด้านการสั่งซื้อ(Order) ลูกค้าสามารถสั่งซื้อหรือบริการด้วยตัวเอง ซึ่งปัจจุบันการเข้าถึงแบบออร์กานิค(Organic Reach)ไม่ประสบความสำเร็จแล้วในกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีน รวมถึงข้อมูลข่าวสาร (Info) และการชำระสินค้า (Payment)

อย่างการใช้โปรแกรมวีแชท ซึ่งเป็นเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ (Peer-to-Peer Network) มีต้นทุนเฉลี่ยต่อการติดตามผ่านโปรแกรมอยู่ที่ประมาณ 400-500 บาท (80-100 หยวน)

จากแนวโน้มดังกล่าวแบรนด์สินค้า สามารถเป็นผู้บุกเบิกในตลาดได้ด้วย 3 แนวทางหลัก คือ 1. มัลติ ชาแนล จากการเชื่อมต่อกับพันธมิตรที่หลากหลาย เพื่อประโยชน์ซึ่งกันและกัน 2.โค-แบรนดิง การผสานแบรนด์ร่วมกัน เช่น สายการบินxเมนูรายการต่างๆ โรงแรมxร้านอาหาร เครื่องดื่ม บริการรถเช่าxสถานที่จับจ่าย ร้านค้า เป็นต้น

เยี่ย เผยข้อมูลว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในไทย 3 อันดับแรก (ระหว่างม.ค.-ก.ค.2562) กลุ่มนักท่องเที่ยวจีน ปี 2561 อยู่ที่ 6,859,291 คน ในปี 2562 อยู่ที่6,634,226 คน กลุ่มนักท่องเที่ยวมาเลเซียปี 2561 อยู่ที่ 2,069,797 คน ปี2562 อยู่ที่ 2,245,008 คน และ กลุ่มนักท่องเที่ยวอินเดีย ปี2561 918,016 คน ปี2562 อยู่ที่ 1,142,944 คน

ขณะที่กลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติในประเทศไทยที่มีศักยภาพ คือ มาเลเซีนย ฮ่องกง เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และเวียดนาม