posttoday

เริ่มแล้วการประชุมด้านความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียมีขึ้นในกรุงเทพ

23 กันยายน 2562

ตัวแทนกว่า 400 คนจาก 25 ประเทศได้รวมตัวกันในการประชุมที่จัดขึ้นเป็นเวลา 2 วัน เน้นในการขับเคลื่อนแนวคิดด้านความยั่งยืนให้เป็นจริงและวัดผลได้

ตัวแทนกว่า 400 คนจาก 25 ประเทศได้รวมตัวกันในการประชุมที่จัดขึ้นเป็นเวลา 2 วัน เน้นในการขับเคลื่อนแนวคิดด้านความยั่งยืนให้เป็นจริงและวัดผลได้

ทั้งนี้ ตัวแทนกว่า 400 คนในด้านความยั่งยืนและผู้เชี่ยวชาญด้านซัพพลายเชนทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกรวมตัวกันในงานประชุมด้านความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียซึ่งได้จัดขึ้นในกรุงเทพและสิ้นสุดลงเมื่อปลายอาทิตย์ที่ผ่านมา หัวข้อที่พูดคุยในการประชุม CSR Asia Summit 2019 ครอบคลุม ความท้าทายของการบริหารซัพพลายเชน แรงงานข้ามชาติ สิทธิมนุษยชน นักลงทุนและข้อมูลด้าน ความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและบรรษัทภิบาล ESG (environmental, social and governance) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการขับเคลื่อนสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน (circular economy) โดยในงานนี้ผู้บรรยายกว่า 60 ท่านนำการพูดคุยใน 22 การประชุมย่อยในปัญหาที่มีความเร่งด่วนที่สุดของภูมิภาค ภายใต้ประเด็นหลักของปีนี้คือ “ความยั่งยืน จากคำพูดสู่ผลลัพธ์”

Archana Kotecha, Asia Region Director และ Head of Legal ที่ Liberty Shared ได้กล่าวถึงกฎระเบียบ ความเสี่ยงและโอกาสจากการปฏิบัติเพื่อยุติการค้ามนุษย์และแรงงานบังคับ และกระตุ้นให้ธุรกิจและองค์กรต่างๆเข้าใจและรับมือกับความเสี่ยงด้านการเงิน กฎหมาย และกฎระเบียบที่มีอยู่ในปัจจุบัน

“ความเสี่ยงที่เกิดจากแรงงานทาสยุคใหม่ (modern slavery) แรงงานบังคับและการค้ามนุษย์มีขอบเขตไกลกว่าชื่อเสียงของงองค์กร ธุรกิจสามารถสร้างโอกาสจากการแก้ปัญหาเหล่านี้ ตอนนี้เป็นเวลาที่เหมาะสมในการส่งเสริมความโปร่งใสและการเปิดเผยข้อมูลอย่างจริงจังเพื่อการบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ และร่วมมือกับพันธมิตรทั้งจากธุรกิจเดียวกันและต่างธุรกิจเพื่อขยายประโยชน์จากการแก้ปัญหาไปในวงกว้าง”

Rob Kaplan, Founder และ CEO ของ Circulate Capital ซึ่งเป็นบริษัทในประเทศสิงคโปร์ที่มุ่งเน้นการสร้างความเติบโตและการสนับสนุนเงินทุนแก่ธุรกิจที่ป้องกันการปนเปื้อนของพลาสติคในมหาสมุทรและส่งเสริมโมเดลธุรกิจหมุนเวียนกล่าวว่าโมเดลธุรกิจหมุนเวียนสามารถคึงดูดเงินลงทุน สร้างรายได้ให้แก่ธุรกิจ และผลกระทบในเชิงบวกอย่างมหาศาลในอีก 5-10 ปีข้างหน้า โดยที่นักลงทุนและภาคธุรกิจทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกสามารถต้องเข้ามามีบทบาท

“เราสามารถลดปริมาณของขยะพลาสติกที่ไหลลงสู่มหาสมุทรได้ครึ่งหนึ่ง แต่เราต้องเริ่มต้นดำเนินการตอนนี้ วิกฤติขยะพลาสติกในมหาสมุทรสามารถมองเป็นโอกาสทางธุรกิจที่สร้างคุณค่าทางธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คน ในขณะที่ช่วยลดปริมาณขยะลงมหาสมุทร”

เริ่มแล้วการประชุมด้านความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียมีขึ้นในกรุงเทพ

นักธุรกิจที่นำการพูดคุยในงานประกอบด้วย Glenn Maguire, Principal Asia-Pacific Economist, Visa; Alan Aicken, Vice President Procurement, Chief Sustainability Officer Supply Chain, Huawei; Dana Graber Ladek, Chief of Mission, IOM; and สรชน บุญสอง หุ้นส่วนบริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ ประเทศไทย
Ian Spaulding ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ ELEVATE กล่าวว่า “เราตระหนักถึงความเร่งด่วนที่ต้องเปลี่ยนคำพูดให้เป็นความจริงเพื่อที่เราทำได้ตามเป้าหมายร่วมกันในการสร้างความยั่งยืนและแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่มีต่อการค้าโลกและซัพพลายเชนที่เข้มข้นขึ้น ในขณะที่ประชาคมโลกกำลังดำเนินการแก้ปัญหาที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายใต้กรอบข้อตลง Paris Agreement 2015 ภาคธุรกิจต้องทำงานมากกว่านี้ ธุรกิจต้องทำงานด้วยความฉลาดมากขึ้นกว่าเดิมในการขับเคลื่อนผลสัมฤทธิ์ สร้างความโปร่งใส และร่วมมือกันสร้างประสิทธิภาพและมูลค่าเพิ่ม”

การประชุมนี้มีขึ้นเป็นครังที่ 13 และจัดโดย ELEVATE และ CSR Asia ซึ่งเป็นหน่วยงานให้คำปรึกษาด้านความยั่งยืนในภูมิภาคเอเชีย โดยผู้ที่มาร่วมการประชุม CSR Asia Summit ที่ผ่านมานับจำนวนรวมได้กว่า 5,000 คน

CSR Asia ได้จัดคอร์สอบรมสำหรับผู้ที่จะเข้าร่วมประชุมในช่วงก่อนการประชุม เพื่อให้ความรู้ในการส่งเสริมและปฏิบัติตามกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน ความเข้าใจด้านประสิทธิภาพและผลกระทบต่อการลงทุนสำหรับชุมชน งานด้าน CSR การผสมผสานการรายงานและกระบวนความคิด และการสร้างมูลค่าร่วมกันของธุรกิจ