posttoday

'คมนาคม' เตรียมใช้กฎหมายเอาผิดเอกชน แก้ปัญหารถไฟฟ้าขัดข้องเก่ง

06 กันยายน 2562

กรมการขนส่งทางราง นัดเอกชนเคลียร์ปมลดค่ารถไฟฟ้า ยันเดือนก.ย.นี้รู้ผล ถกรูปแบบการลดราคารถโดยสารระบบรางแต่ละประเภท

กรมการขนส่งทางราง นัดเอกชนเคลียร์ปมลดค่ารถไฟฟ้า ยันเดือนก.ย.นี้รู้ผล ถกรูปแบบการลดราคารถโดยสารระบบรางแต่ละประเภท

นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมการขนส่งทางราง(ขร.) เปิดเผยว่า ประเด็นที่รถไฟฟ้าใต้ดินเกิดปัญหาขัดข้องบ่อย ได้สั่งการให้ผู้ประกอบการปรับปรุงแล้ว โดย บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้ประกอบการ ระบุว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างเพิ่มขบวนรถอาจเกิดเหตุขัดข้อง แต่พยายามปรับปรุงให้ดีขึ้น และอยู่ระหว่างเพิ่มขบวนรถอาจเกิดเหตุขัดข้อง แต่พยายามปรับปรุงให้ดีขึ้น

อย่างไรก็ตาม ได้กำชับตามนโยบายกระทรวงหากเกิดเหตุขัดข้อง ต้องรายงานให้ผู้โดยสารและกระทรวงคมนาคมรับทราบ อย่าปล่อยให้เกิดปัญหาขาดการสื่อสารจนผู้โดยสารได้รับความเดือดร้อน นอกจากนี้ อำนาจลงโทษผู้ประกอบการที่บกพร่องเกี่ยวกับปัญหาการเดินรถนั้น กรมการขนส่งทางรางอยู่ระหว่างรออำนาจตาม พ.ร.บ.กรมการขนส่งทางรางฉบับใหม่ที่จะให้กรมฯ กำหนดบทลงโทษ ระหว่างนี้ยังเป็นมาตรการขอความร่วมมือผู้ประกอบการ เพื่อรอกฎหมายใหม่

นอกจากนี้ ยังมีการประชุมกำหนดแนวทางลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า ขร.ตั้งเป้าหมายจะประชุม 2 ครั้ง คือ วันนี้ และอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า หลังได้ข้อสรุปจะนำเสนอแนวทางให้กระทรวงคมนาคมพิจารณา โดยเชื่อว่าการปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า จะสามารถประกาศบังคับใช้ได้ปีนี้

โดยเบื้องต้น ต้องหารือกับผู้ประกอบการถึงรูปแบบในการปรับลดราคา เช่น บีทีเอส ปัจจุบันมีตั๋วเดือนอยู่แล้ว โดยมีรูปแบบการใช้งาน ซื้อภายใน 1 เดือน คิดค่าเดินทางเป็นเที่ยว ถูกสุดเที่ยวละ 26 บาท สูงสุดมากกว่า 45 บาท ส่วนรถไฟฟ้าใต้ดินและแอร์พอร์ตลิงค์ที่ยังไม่มีตั๋วเดือน ซึ่งต้องหารือว่ามีแนวทางปรับลดค่าโดยสาร เพื่อช่วยเหลือประชาชนอย่างไร

อย่างไรก็ตามจะหารือกับเอกชนว่า จะสามารถปรับลดราคาจากราคาสูงสุดสูงสุด 45 บาท เหลือ 25 บาทได้หรือไม่ ปัจจุบันช่วงนอกเวลาเร่งด่วนผู้โดยสารมีน้อย จะลดค่าโดยสารนอกช่วงเร่งด่วนใช้เวลา 13 ชั่วโมง แต่ช่วงเวลาเร่งด่วนเช้าเย็นอยู่ที่ 5-6 ชั่วโมง จะเสนอแนวทางลดราคาจากการจัดทำตั๋วเดือนกับลดค่าโดยสารทำเพดานสูงสุดช่วงหลังชั่วโมงเร่งด่วน (ออฟพีค)

ทั้งนี้การปรับลดราคา ข้อดี คือ คนอาจจะเดินทางนอกช่วงเวลาเร่งด่วนมากขึ้น ช่วยลดความแออัด รถส่วนตัวลดลง โดยจะหารือหน่วยงานต่างๆว่ามีความพร้อมหรือไม่ ซึ่ง 2 รูปแบบนี้จะไม่กระทบกับสัญญาสัมปทานและงบประมาณที่จะใช้ รวมถึงจะหารือว่ามีความพร้อมหรือไม่ ก็จะฟังเงื่อนไขของผู้ประกอบการ เพราะรถไฟฟ้าใช้ระบบที่แตกต่างกัน

แต่เบื้องต้นทุกฝ่ายยินดีเข้าร่วม แต่ถ้าจะทำให้เกิดทั้งระบบทั้งสัมปทานและภาครัฐ คาดว่าจะสรุปภายในเดือนนี้ ในส่วนของกรมการขนส่งทางราง ที่รับนโยบายจากกระทรวงคมนาคมจะดำเนินการภายใต้กรอบที่ภาครัฐต้องไปรับภาระชดเชยต่างๆ น้อยที่สุด หรือไม่ต้องรับภาระเลยรูปแบบนี้มองว่า หน่วยงานที่ให้บริการอาจจัดเก็บรายได้ต่อเที่ยว ลดลง แต่ผู้โดยสารเพิ่มขึ้น