posttoday

รมว.เกษตรฯ สั่งกรมชลฯ เตรียมพื้นที่แก้มลิงสำหรับเช่าเก็บน้ำพร้อมการชดเชย

06 กันยายน 2562

ย้ำกรมชลประทาน ทำงานเชิงรุกวางมาตรการแก้ไขเต็มสูบ พร้อมสำรวจเขื่อนอายุ 20 ปี จัดงบขุดลอกเก็บน้ำเพิ่ม เพราะเขื่อนสร้างยาก

ย้ำกรมชลประทาน ทำงานเชิงรุกวางมาตรการแก้ไขเต็มสูบ พร้อมสำรวจเขื่อนอายุ 20 ปี จัดงบขุดลอกเก็บน้ำเพิ่ม เพราะเขื่อนสร้างยาก

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัญมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประชุมร่วมกับ นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน พร้อมประชุมทางไกล(วิดีโอ คอนเฟอเรนซ์) กับสำนักชลประทานทั่วประเทศฝากให้ดูแลอย่างรอบด้าน เพราะมีทั้งภัยแล้งและอุทกภัยพร้อมกัน เพราะฉะนั้นความเสียหายจะลดลงได้จากการเตรียมความพร้อม การเฝ้าระวังและวางแผน และที่ผ่านมาทราบดีว่าเป็นเรื่องธรรมชาติที่คาดการณ์ล่วงหน้าได้ยาก และให้เตรียมรับมือพายุที่คาดว่าอาจจะมีอีก 1 ลูก อาจจะเข้าภาคกลางและใต้เพราะร่องฝนในเดือนต.ค.ฝนจะอยู่ในแนวนี้

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังได้ฝากให้ช่วยดูแลในเรื่องของการจูงน้ำเพื่อนำไปเก็บในที่ลุ่ม หรือแก้มลิง ที่ดินประชาชน และที่ของรัฐ โดยนายกรัฐมนตรีพร้อมที่จะช่วยเหลือโดยให้ไปดูว่าจะคิดอัตราค่าเช่าให้เกษตรกรหรือประชาชนอย่างไร เพราะต้องหยุดทำนาตลอดเวลาประกาศกฤษฎีกาเขตการเช่าที่ดินเพื่อกักน้ำไว้สำหรับฤดูแล้งถัดไปจะได้มีน้ำใช้ และระหว่างที่มีน้ำเข้าทุ่งให้ปล่อยพันธุ์กุ้งปลา ให้เกษตรกรมีรายได้ในช่วงนั้นด้วยเหมือนทุ่งระกำ จะมีพื้นที่เท่าไหร่อย่างไรให้แจ้งจำนวนเพราะต้องเสนอนายกรัฐมนตรี ในเร็วๆนี้  

นายเฉลิมชัย กล่าวอีกว่าขอให้รายงานปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำทั้งหมดที่กักน้ำมาเกิน  20 ปี  เพื่อที่จะดูว่าจะสามารถขุดลอกได้หรือไม่ จะได้เพิ่มศักยภาพการเก็บน้ำเพิ่มโดยที่ไม่ต้องสร้างเขื่อนเพราะ  20 ปีขึ้นไปอาจมีตะกอนลึกเป็นเมตร หากขุดลอกจะเก็บน้ำได้อีกมากขอให้เป็นเรื่องเร่งด่วน เพราะเขื่อนสร้างยาก

สำหรับการเตรียมรับมืออุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ ขอให้กรมตรวจสอบเร่งรัดโครงการบรรเทาอุทกภัยในภาคใต้ทุกจังหวัดว่าดำเนินการคืบหน้าอย่างไรและที่ดำเนินการไม่เสร็จเพราะอะไร ทิ้งงานหรือไม่ ก็ต้องไปดำเนินการ  และให้เร่งดำเนินการจำกัดสิ่งกีดขวางทางน้ำทั้งหมด
 
นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทานกล่าวว่าขณะนี้ ได้กำชับเรื่องแผนบริหารจัดการน้ำอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา ที่จะต้องรับน้ำเหนือจากยมและน่าน โดยจะเฝ้าที่นครสวรรค์ 1,500 ลูกบากศ์เมตร(ลบ.ม.)ต่อวินาที ทั้งนี้กรมชลฯจะคุมการระบายที่เขื่อนเจ้าพระยา- ชัยนาท จะลงมาที่นครสวรรค์ไม่ให้เกิน 900 ลบ.ม. ต่อวินาที เพื่อลดผลกระทบพื้นที่นอกคันกั้นน้ำ 

สำหรับการเตรียมพื้นที่เช่าเป็นแก้มลิงนั้น กรมอยู่ระหว่างการทำร่างกฏหมายหารือกฤษฏีกาเพื่อจะตรวจความถูกต้อง เพราะเมื่อประกาศเขตเช่าเป็นแก้มลิงแล้ว แสดงว่ารัฐต้องจ่ายค่าเช่าที่ดินให้กับเกษตรกรและประชาชนในพื้นที่ทุ่งนั้นๆ  

หากมีร่างประกาศไว้ เมื่อต้องใช้จะสามารถนำมาประกาศได้ทันที อย่างไรก็ตามมีทั้งหมด 13 ทุ่งแต่อาจจะไม่ใช้ทุกทุ่ง เพราะต้องบริหารตามปริมาณน้ำและสถานการณ์   อย่างไรก็ตามพื้นที่ทุ่งเจ้าพระยาจะเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จภายใน 24 ก.ย. 62 ซึ่งหากน้ำมากก็จะได้พิจารณานำน้ำเข้าทุ่งและเมื่อประกาศจะต้องเช่า 4 เดือน

ทั้งนี้ในการประชุมรมว.เกษตรฯได้ให้สำนักชลประทาน(สชป.)ทั่วประเทศทั้ง  17 สำนักชลประทานรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ

สำหรับปริมาณน้ำ ณ วันที่ 5 ก.ย. 62 กรมชลฯรายงานว่าอ่างเก็บน้ำขนาดใหฯและขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำในอ่างรวมกันทั้งสิ้น 46,331 ล้านลูกบากศ์เมตร(ลบ.ม.) คิดเป็น 61% ของความจุอ่างทั้งหมด เป็นน้ำใช้การได้ 22,401 ล้านลบ.ม. สามารถรับน้ำได้อีก 29,000  ล้านลบ.ม. เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลักมีปริมาณน้ำร่วมกัน 10,855 ล้านลบ.ม. คิดเป็น 44% ของความจุร่วมกัน เป็นน้ำใช้การได้ 4,159 ล้านลบ.ม.   สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 14,000 ล้าน  ลบ.ม.