posttoday

สหภาพการบินไทยฯ ฮึ่ม!!  แผนจัดซื้อเครื่องบินใหม่ หวั่นสร้างหนี้เพิ่มแสนล้าน 

15 กรกฎาคม 2562

สหภาพการบินไทยฯ ออกโรง ห่วงแผนฟื้นฟูองค์กรมีปัญหา  ลั่นปมลดรายจ่ายไม่เหมาะ เหตุพนักงานขาดแคลน  จี้ฝ่ายบริหารชี้แจงให้ชัด

สหภาพการบินไทยฯ ออกโรง ห่วงแผนฟื้นฟูองค์กรมีปัญหา  ลั่นปมลดรายจ่ายไม่เหมาะ เหตุพนักงานขาดแคลน  จี้ฝ่ายบริหารชี้แจงให้ชัด

นายดำรงค์  ไวยคณี  ประธานสหภาพแรงงานรัฐ วิสาหกิจ  บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) (สร.บกท.) เปิดเผยว่า การจัดซื้อเครื่องบินใหม่ 38 ลำ วงเงิน 1.3 แสนล้านบาทนั้นเกรงว่าจะเป็นการสร้างหนี้เพิ่มให้กับองค์กร เป็นการซ้ำเติมหนี้สินสะสมเดิมที่มีอยู่มากกว่า 1 แสนล้านบาท เนื่องจากในการจัดซื้อครั้งนี้ พนักงานองค์กรระดับปฏิบัติการและระดับล่างไม่เคยได้รับการชี้แจงแผนลงทุนนี้เลย อาทิ การจัดซื้อจะนำไปบินในเส้นทางไหน หรือ ประเมินโอกาสในการลงทุน 

ตลอดจนตัวเลขรายรับหากมีเครื่องบินลำใหม่จะคุ้มค่าหรือไม่  ซึ่งเกรงว่าจะเป็นเหมือนที่ผ่านมาที่การได้เครื่องบินใหม่ แต่ไม่ได้ใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพ จนต้องจอดซ่อมและจอดทิ้งไว้เป็นภาระทางการเงินขององค์กรทั้งยังเสียโอกาสทางรายได้  และต้องขายในราคาที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับต้นทุน ดังนั้นการจัดซื้อเครื่องใหม่ในครั้งนี้ ต้องให้สอดคล้องกับยุคตลาดการบินเฟื่องฟูควรจะเป็นการซื้อมาใช้ระยะสั้น 2-3 ปีก่อนขายเท่าราคาทุน เพื่อทำกำไรด้ายรายได้การบิน

ด้านแผนฟื้นฟูองค์กร นั้น มองว่าเรื่องการลดรายจ่ายองค์กร ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอโดยเฉพาะการลดรายจ่ายพนักงานแทบจะเป็นไปไม่ได้ เพราะปัจจุบันการบินไทยขาดแคลนพนักงานในหลายภาคส่วนโดยเฉพาะพนักงานบริการและพนักงานภาคสนาม แต่องค์กรมีนโยบายไม่รับคนเพิ่ม  ดังนั้นพนักงานเดิมต้องมีชั่วโมงทำงานที่หนักขึ้น ควบคู่ไปกับการที่องค์กรมีภาระค่าทำงานล่วงเวลา (โอที) เพิ่มขึ้นอีกด้วย จึงสงสัยว่าหากพนักงานไม่พอจะเพิ่มรายได้ในธุรกิจได้อย่างไร 

ส่วนการเพิ่มรายได้ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการบิน เช่น แผนพัฒนาครัวการบินไทยนั้น ผ่านมาครึ่งปี ทางสหภาพก็ยังไม่เห็นความก้าวหน้าและการเพิ่มขึ้นของรายได้ในเซคเตอร์ดังกล่าว

นายดำรงค์ กล่าวว่า ด้านคณะกรรมการบริหารการบินไทยและดีดีคนใหม่ที่เข้ามาทำงานตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้วนั้น  พนักงานในองค์กรเห็นว่าเป็นการซ้ำรอยเดิม คือ ไม่มีการชี้แจงแผนบริหารให้พนักงานฟัง ไม่เปิดให้พนักงานมีส่วนร่วมตัดสินใจในยุทธศาสตร์องค์กร มีแต่การตัดสินใจจากผู้บริหารกันเอง จึงเกิดคำถามว่าหากแผนจัดซื้อเครื่องบินใหม่ในครั้งนี้ล้มเหลว ใครจะเป็นคนรับผิดชอบ ดังนั้นจึงอยากเสนอให้รัฐบาลมีอำนาจลงโทษทางกฎหมายที่เข้มข้น ต่อบอร์ดการบินไทยและดีดีบินไทย ต้องรับผิดชอบด้วยหากเกิดความผิดพลาดในอนาคต มิเช่นนั้นจะเป็นแบบที่ผ่านมาคือผู้บริหารมาทำโครงการล้มเหลวแล้วก็ไปสุดท้ายองค์กรต้องรับภาระ นี่ยังไม่รวมเรื่องการขายทอดรัฐวิสาหกิจให้เอกชน เป็นอีกเรื่องที่พนักงานหวั่นใจในรัฐบาลยุคนี้เพราะหลายคดีทุจริตที่ผ่านมา คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) สอบสวนมาแล้วก็หลายปี แต่ยังไม่มีความคืบหน้า

 

 

 

 

 

 

งานส่วนต่างๆ ภาพรวม รายได้จากการขนส่งสินค้าเท่าใด 4.หนี้สินภายในประเทศ-ต่างประเทศ 5.ราคาซื้อเครื่องบินใหม่ Airbus,Boeing, Bombardier,Embraer,Mitsubishi Regional Jet,Comac,Irkut ฯลฯ พร้อมส่วนลด "ปล: ข้อมูลนี้จำเป็นต้องทราบเพื่อการประมวลผลชี้แจงต่อสาธารณะ เพราะ บมจ.การบินไทย รัฐบาลไทยถือหุ้นประมาณ 51%