posttoday

เปิดใจ “พลอากาศเอก ดร.ปรีชา ประดับมุข” ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ กับการก้าวสู่ S-Curve ที่ 11 เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

18 เมษายน 2562

ถือเป็นภารกิจหลักของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทป. ในปัจจุบัน สทป. มีขีดความสามารถในการสร้างต้นแบบยุทโธปกรณ์ แต่ไม่สามารถนำไปสู่อุตสาหกรรมได้ด้วยข้อจำกัดด้านกฎหมาย สทป.

 

การวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ถือเป็นภารกิจหลักของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทป. ในปัจจุบัน สทป. มีขีดความสามารถในการสร้างต้นแบบยุทโธปกรณ์ แต่ไม่สามารถนำไปสู่อุตสาหกรรมได้ด้วยข้อจำกัดด้านกฎหมาย สทป. จึงได้ผลักดันกฎหมายจัดตั้งหน่วยงานเพื่อให้ สทป. สามารถต่อยอดผลงานวิจัยพัฒนาสู่อุตสาหกรรมป้องกันประเทศได้ โดยเสนอร่างพระราชบัญญัติเทคโนโลยีป้องกันประเทศ พ.ศ. .... ขณะนี้ได้ผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วาระที่ 3 แล้ว

พลอากาศเอก ดร.ปรีชา ประดับมุข ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ได้เปิดเผยถึงบทบาทของ สทป. ต่ออุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ว่า เมื่อคราวการประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (The Eastern Economic Corridor (EEC) committee) ครั้งที่ 5/61 เมื่อ 9 พฤศจิกายน 2561 ซึ่งมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้มีการประกาศให้อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ (Defense Industry) เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษที่ 11 (S-Curve ที่ 11) เพิ่มเติมจากเดิมที่มีอยู่แล้ว 10 อุตสาหกรรม เพื่อเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมภายในประเทศ และการเพิ่มศักยภาพด้านการวิจัยพัฒนาอีกทางหนึ่งควบคู่ไปด้วย

• ร่างพระราชบัญญัติเทคโนโลยีป้องกันประเทศ พ.ศ. ....

กลไกขับเคลื่อนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศให้เป็นรูปธรรม

โครงสร้าง วัตถุประสงค์ หน้าที่และอำนาจเพิ่มเติมตามร่าง พ.ร.บ.เทคโนโลยีป้องกันประเทศ พ.ศ. .... จะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ สทป. สามารถบูรณาการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศระหว่างกระทรวงกลาโหม หน่วยงานของรัฐ และภาคเอกชนเพื่อตอบสนองอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ 11 (S-Curve ที่ 11) ได้อย่างเป็นรูปธรรมตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี โดย สทป. จะมีคณะกรรมการนโยบายเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ซึ่งประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน มีผู้บัญชาการเหล่าทัพ ปลัดกระทรวงต่าง ๆ เช่น กระทรวงการต่างประเทศ, กระทรวงการคลัง, กระทรวงพาณิชย์ เพื่อกำหนดนโยบายการดำเนินงานของ สทป. ในด้านเทคโนโลยีป้องกันประเทศและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ รวมทั้งมีบทบาทหน้าที่ในการให้ข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี ในด้านเทคโนโลยีป้องกันประเทศและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

โดย สทป. มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมสนับสนุนกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของกระทรวงกลาโหม และภาคเอกชน ในการนี้ สทป. สามารถนำผลงานวิจัยของ สทป. ไปดำเนินกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศได้ เช่น การผลิตเพื่อใช้ในกิจการของรัฐบาล หรืออาจเข้าร่วมทุน ถือหุ้น กับบุคคล หรือนิติบุคคลใด เพื่อดำเนินกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

นอกจากนี้เพื่อเป็นการพัฒนาบุคลากร สทป. สามารถส่งผู้ปฏิบัติงานไปปฏิบัติงานในกิจการที่สถาบันเข้าร่วมทุน ถือหุ้น เป็นหุ้นส่วนกับบุคคลอื่น หรือในกิจการของภาคเอกชนภายใต้วัตถุประสงค์ของสถาบันได้

เปิดใจ “พลอากาศเอก ดร.ปรีชา ประดับมุข” ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ กับการก้าวสู่ S-Curve ที่ 11 เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

• สทป. กำหนดแนวทาง 4 ระยะ สู่อุตสาหกรรมเป้าหมาย

โดยมีความพร้อมผลิตยุทโธปกรณ์เชิงพาณิชย์ ใน 7 โครงการ

แนวทางการดำเนินการแบ่งเป็น 4 ระยะ (เร่งด่วน : เม.ย.-ก.ย.62, ระยะสั้น : ต.ค.62-ก.ย.63, ระยะกลาง ต.ค.63-ก.ย.65 และ ระยะยาว ต.ค.65-ก.ย.70) ซึ่งมีกระทรวงกลาโหมและส่วนงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันกำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีความพร้อมในการผลิตเชิงพาณิชย์ จำนวน 7 โครงการ ได้แก่ การผลิตและประกอบรวมลูกระเบิดยิง ขนาด 40 มม., การผลิตชนวนท้ายสำหรับกระสุนปืนพกและปืนเล็กยาว, โครงการผลิตอากาศยานไร้คนขับปีกนิ่งขึ้น-ลงทางดิ่ง FUVEC, การผลิตอากาศยานไร้คนขับ, การจัดตั้งโรงงานซ่อมสร้างยุทโธปกรณ์ทางทหารร่วมกับสาธารณรัฐประชาชนจีน, โครงการอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็กแบบส่งด้วยมือ และการต่อเรือ และระยะต่อไปจำนวน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการผลิตกระสุนขนาด 30 มม. ชนิดลูกจริง และโครงการยานเกราะล้อยางสำหรับปฏิบัติภารกิจของนาวิกโยธิน ซึ่งผลิตภัณฑ์ทั้งหมดนี้จะถูกผ่านการประเมินความคุ้มค่า การทดสอบ การนำเข้าสู่สายการผลิต จนเริ่มมีผลผลิตออกมาเป็นรูปธรรมในห้วงระยะกลาง

เปิดใจ “พลอากาศเอก ดร.ปรีชา ประดับมุข” ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ กับการก้าวสู่ S-Curve ที่ 11 เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

เปิดใจ “พลอากาศเอก ดร.ปรีชา ประดับมุข” ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ กับการก้าวสู่ S-Curve ที่ 11 เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

เปิดใจ “พลอากาศเอก ดร.ปรีชา ประดับมุข” ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ กับการก้าวสู่ S-Curve ที่ 11 เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

ในห้วงระยะเร่งด่วนนี้ ระดับรัฐบาลจะมีการร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ จำนวน 1 คณะ เพื่อให้นายกรัฐมนตรีลงนาม และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกำหนดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และคณะอนุกรรมการส่งเสริมสภาวะแวดล้อม จำนวน 2 คณะ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงกลาโหม รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงบประมาณ และสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ในการพิจารณาแนวทางการดำเนินการที่สำคัญ

นอกจากนั้น ในส่วนของ สทป. เองจะมีการจัดตั้งคณะอนุกรรมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ (S-Curve ที่ 11) ภายใต้คณะกรรมการนโยบาย เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินการที่สอดรับกับการดำเนินการในส่วนของรัฐบาลด้วย

เปิดใจ “พลอากาศเอก ดร.ปรีชา ประดับมุข” ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ กับการก้าวสู่ S-Curve ที่ 11 เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

• สทป. จะเป็นผู้กำหนดนโยบาย ส่งเสริม และปฏิบัติ

ด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

พลอากาศเอก ดร.ปรีชา ประดับมุข กล่าวถึง ร่างพระราชบัญญัติเทคโนโลยีป้องกันประเทศ พ.ศ. .... จะช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดอุตสาหกรรมป้องกันประเทศอย่างเป็นรูปธรรม สำคัญที่สุด คือการวิจัยและพัฒนาที่รัฐสนับสนุนงบประมาณลงไปจะไม่เสียเปล่า เมื่อผลงานวิจัยนั้นสามารถนำไปต่อยอดสู่ภาคอุตสาหกรรมและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ โดย สทป. จะเป็นหน่วยงานที่มีวัตถุประสงค์โดยตรงในการส่งเสริมสนับสนุนกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ทั้งการกำหนดนโยบายด้านเทคโนโลยีป้องกันประเทศและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ แนวทางการส่งเสริม ตลอดจนการปฏิบัติ ดังนี้

ด้านการกำหนดนโยบายฯ มีคณะกรรมการนโยบายเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ซึ่งประกอบด้วยผู้ดำรงตำแหน่งระดับปลัดกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการเหล่าทัพ  ทำให้เห็นความต้องการของผู้ใช้ที่ชัดเจนขึ้น

ด้านการส่งเสริม มีบทบาทหน้าที่ในการให้ข้อเสนอแนะคณะรัฐมนตรีในเรื่องเกี่ยวกับกิจการส่งเสริมและสนับสนุนเทคโนโลยีป้องกันประเทศและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ เช่น มาตรการสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับผู้ประกอบกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ การส่งเสริมการลงทุน การขอยกเว้นอากรนำเข้าเครื่องจักรหรือวัตถุดิบ เป็นต้น

ด้านการปฏิบัติ มุ่งเน้นการบูรณาการร่วมกับภาคเอกชนเป็นสำคัญ เพื่อให้ภาคเอกชนเกิดความเข้มแข็งและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน  ซึ่งจะนำไปสู่การพึ่งพาเทคโนโลยีของตนเอง ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ ส่งผลดีต่อความมั่นคงและเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ในยามสงครามหรือมีข้อขัดแย้งระหว่างประเทศ ซึ่งอาจเกิดข้อจำกัดในการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ หรือยุทธภัณฑ์ในยามเร่งด่วนนั้นก็จะหมดไป กองทัพจะได้รับการสนับสนุนสิ่งอุปกรณ์ต่างๆ จากภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศ

เปิดใจ “พลอากาศเอก ดร.ปรีชา ประดับมุข” ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ กับการก้าวสู่ S-Curve ที่ 11 เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

นอกจากนี้ ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ยังกำหนดให้มีสิทธิพิเศษสำหรับผู้ที่เข้าร่วมทุนจัดตั้งนิติบุคคลกับ สทป. ได้รับยกเว้นไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยโรงงานผลิตอาวุธของเอกชน ซึ่งจะช่วยลดข้อจำกัด และทำให้เกิดความคล่องตัวในการประกอบธุรกิจอีกด้วย

เปิดใจ “พลอากาศเอก ดร.ปรีชา ประดับมุข” ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ กับการก้าวสู่ S-Curve ที่ 11 เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

ติดตามผ่านสื่อ Social ที่ : Facebook, Youtube

https://www.facebook.com/dtithailand

https://www.youtube.com/user/dtithailand