posttoday

สทนช.จี้เขื่อนเร่งระบายน้ำรับมือพายุ"เบบินคา"

16 สิงหาคม 2561

"สทนช."ออกประกาศจี้หน่วยงานรับผิดชอบเร่งพร่องน้ำเขื่อน เพื่อรับปริมาณน้ำฝนเพิ่มจากพายุ "เบบินคา"

"สทนช."ออกประกาศจี้หน่วยงานรับผิดชอบเร่งพร่องน้ำเขื่อน เพื่อรับปริมาณน้ำฝนเพิ่มจากพายุ "เบบินคา"

นายสำเริง แสงภู่วงค์ รองเลขาธิการสานักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(สทนช.)ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤติ ออกประกาศฉบับที่ 6/2561 เรื่องสถานการณน์้าเนื่องจากผลกระทบจากพายุเบบินคา ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนตกชุกหนาแน่นกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ ทำให้มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำ เพิ่มมากขึ้น

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลาพูน ลาปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก และตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย สกลนคร และนครพนม ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก จันทบุรี และตราด ภาคตะวันตก: จังหวัดเพชรบุรี กาญจนบุรี และประจวบคีรีขันธ์

โดยมีเขื่อนที่ต้องเฝ้าระวัง ได้แก่ เขื่อนน้ำอูน เขื่อนขุนด่านปราการชล เขื่อนวชิราลงกรณ และ เขื่อนแก่งกระจาน มีแนวโน้มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้าเพิ่มข้ึนอย่างต่อเนื่อง จึงต้องมีการระบายน้ำมากข้ึน

ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง ทั้งนี้ ให้หน่วยงานที่มีอำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบ เร่งดาเนินการพร่องน้ำเพื่อรองรับปริมาณน้ำที่เพิ่มโดยให้ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ท้ายน้ำน้อยที่สุด ตลอดจนตรวจสอบความมั่นคงของอาคาร พร้อมกับประสาน จังหวัดและประกาศแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบให้รับทราบต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าก่อนหน้านี้ สนทช.ได้รายงานสถานการณ์น้ำประจำวันที่ 16 ส.ค.61 อ้างถึงสภาพอากาศตามที่อุตุนิยมวิทยาแห้งเตือนเรื่อง พายุโซนร้อน “เบบินคา”ส่งผลต่อไทยโดยตรงวันที่ 18 ส.ค.61 ในพื้นที่ตอนบนจะมีฝนตกชุกหนาแน่น กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ โดยมีพื้นที่ได้รับผลกระทบตามภาคต่างๆ จากวันนี้ถึง 19 ส.ค.

ทางศูนย์ฯ ได้เน้นย้ำ9 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งพร่องน้ำให้เต็มศักยภาพของลำน้ำท้ายน้ำ เพื่อรองรับปริมาณน้ำจากอิทธิพลของฝนที่ตกเหนือเขื่อนโดยประสานจังหวัด และหน่วยงานระดับพื้นที่เร่งแจ้งเตือนและการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ รวมถึงการติดตามสถานการณ์ด้านท้ายน้ำ และปรับแผนการระบายให้มีผลกระทบด้านท้ายน้ำน้อยที่สุด

รายงานของสทนช.ระบุว่า การระบายน้ำให้แบ่งเป็น เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก คือ อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีระดับเกินเกณฑ์ควบคุม และปริมาณน้ำเกิน 80% ของความจุ มีจำนวน 4 แห่ง ได้แก่ 1). เขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ปริมาณน้ำ 732 ล้าน ลบ.ม. จากเมื่อวาน 729 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 103% น้ำล้นทางระบายน้ำ (Spillway) สูง 49 ซม. สูงกว่าเมื่อวาน 6 ซม. แนวโน้มปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเพิ่มขึ้น ยังต้องเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และเร่งระบายน้ำในแม่น้ำเพชรบุรี ให้เต็มศักยภาพลำน้ำ

การระบายควรใช้ระบายให้เต็มศักยภาพของแม่น้ำเพชรเพื่อจะได้ช่วยพร่องน้ำ เนื่องจากระดับน้ำที่ผ่านอ.เมืองเพชร ฯต่ำกว่าตลิ่งถึง 1.14 เมตร ในขระที่ตั้งแต่บ้านลาดขึ้นไปน้ำกลับเริ่มท่วมพื้นที่ริมตลิ่ง เพื่อรองรับปริมาณฝนที่ตกเหนือเขื่อน 2). เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร ปริมาณน้ำ 533 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 103% ปริมาณน้ำไหลเข้าแนวโน้มลดลง ปัจจุบันมีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำล้นตลิ่ง บริเวณบ้านนาหว้า อ.นาหว้า จ.นครพนม บ้านพอกใหญ่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร 3). เขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี ปริมาณน้ำ 7,759 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 88% ขณะนี้ยังไม่มีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากการระบายน้ำ 4). เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก ปริมาณน้ำ 189 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 84%

ส่วนอีกกลุ่มที่เฝ้าระวัง คือ อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำในอ่างเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีจำนวน 2 แห่ง คือ 1). เขื่อนรัชชประภา จ.สุราษฏร์ธานี ปัจจุบันได้มีการปรับแผนการระบายน้ำจากเดิม 20 ล้าน ลบ.ม ให้มากขึ้นเต็มศักยภาพของลำน้ำท้ายน้ำ เพื่อรองรับปริมาณฝนที่ตกเหนือเขื่อนโดยประสานจังหวัด และพื้นที่ 2. อ่างเก็บน้ำคิรีธาร จ.จันทบุรี ติดตั้งกาลักน้ำจำนวน 30 ชุด และขอเพิ่มจำนวนกาลักน้ำเพื่อเร่งระบายเพิ่มขึ้น